เมื่อเร็ว ๆ นี้สื่อข่าวระดับโลก Bloomberg เพิ่งได้ตีพิมพ์เนื้อหาเกี่ยวกับ “สิ่งที่ธนาคารกลางของโลกจะทำในปี 2020” รายงานนี้ได้ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ มากมาย ซึ่งรวมถึงความน่าจะเป็นบางอย่างที่กำลังจะเกิดขึ้นและบางเรื่องที่ยังคงน่าเป็นห่วง ในปี 2020 นี้มันถูกกำหนดให้เป็นปีที่สำคัญสำหรับ Bitcoin และตลาดคริปโตเคอเรนซี่ ซึ่งหลายคนกำลังถกเถียงกันว่าธนาคารกลางควรจะทำงานร่วมกับตลาดคริปโตเคอเรนซี่หรือไม่?
ในขณะที่ปี 2019 กำลังจะสิ้นสุดลงทุกที ๆ และเราก็กำลังจะมุ่งหน้าเข้าสู่ทศวรรษใหม่ ในขณะเดียวกันผู้คนในตลาดคริปโตเคอเรนซี่ก็กำลังมองหาโอกาสที่สำคัญสำหรับอนาคตของ Bitcoin โดยพวกเขาได้มองไปที่การพัฒนา เช่น เหตุการณ์ halving ซึ่งจะเป็นตัวชี้วัดที่แข็งแกร่งสำหรับการเติบโตของ Bitcoin ในปี 2020
ปัจจุบันตลาดคริปโตได้เติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยบางส่วนก็เกี่ยวข้องกับคริปโตและเทคโนโลยี ซึ่งในไม่ช้าการพัฒนาเหล่านี้อาจต่อยอดไปสู่การใช้งานในเชิงพาณิชย์
เช่นเดียวกับการค้นพบโซลูชันที่ใช้งานบนบล็อกเชนที่มีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องและหน่วยงานทางการเงินหลายแห่งก็กำลังให้ความสำคัญไปกับคริปโตเคอเรนซี่
บางทีตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุดของการเติบโตก็คือ ความสนใจที่เพิ่มขึ้นของธนาคารกลางเพื่อทำงานกับสกุลเงินที่อยู่บนเทคโนโลยี blockchain หรือคริปโตเคอเรนซี่
ธนาคารกลางคริปโตและระบบเศรษฐกิจแบบดั้งเดิม
ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมานี้มีการประโคมข่าวมากมายเกี่ยวกับหัวข้อของธนาคารกลางที่เปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลเป็นของตัวเองเช่น ธนาคารกลางของสวีเดนเพิ่งได้ตัดสินใจเปิดตัวโปรเจค e-Krona ของตัวเอง ในขณะที่จีนก็เพิ่งประกาศเตรียมที่จะทดลองใช้ CBDC (e-yuan) ในช่วงต้นปีหน้า
แน่นอนว่ามันมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ แต่ส่วนใหญ่มันยังคงถูกฝังอยู่ในโมเดลเศรษฐกิจแบบเก่า ซึ่งมันไม่ใช่แบบการกระจายอำนาจ (decentralized) อย่างที่เรารู้จัก
เรื่องราวของ Bloomberg เป็นแนวทางที่ได้ชี้ให้เห็นว่าธนาคารกลางรายใหญ่ของโลกจะทำอะไรในปี 2020 รายงานฉบับนี้ระบุว่า ‘อัตราดอกเบี้ยส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในระดับต่ำเตี้ยเรี่ยดิน’ ซึ่งนั่นอาจจะเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อเศรษฐกิจของโลก
ในความเป็นจริงประโยชน์เชิงลบของนโยบายการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) นั้นคือเหตุผลหลักว่าทำไมผู้คนถึงได้มองไปที่สกุลเงินดิจิทัล
อัตราดอกเบี้ยติดลบและนโยบายการผ่อนคลายเชิงปริมาณ
สองเรื่องหลัก ๆ ที่ทำให้ผู้เชี่ยวชาญและนักลงทุนยังคงมีความกังวลอยู่ก็คือแนวโน้มในด้านลบของอัตราดอกเบี้ยติดลบและมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ อัตราดอกเบี้ยที่ติดลบเพิ่งถูกกำหนดโดยธนาคารของเยอรมันในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งจริง ๆ แล้วทางธนาคารควรจะต้องจ่ายค่าดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงินไม่ใช่เรียกเก็บค่าดอกเบี้ยจากพวกเขา ในขณะเดียวกันการผ่อนคลายเชิงปริมาณก็เป็นแค่การอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโดยตรงเท่านั้น
ดังนั้นนักลงทุนเหล่านี้จึงได้มุ่งหน้าเข้าสู่ตลาดสกุลเงินดิจิทัลเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อตลาดแบบดั้งเดิมและเศรษฐกิจของโลก
ที่มา : beincrypto
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น