เมื่อไม่นานมานี้แพลตฟอร์มการส่งข้อความบนมือถือยอดนิยม ‘Telegram’ เพิ่งได้ประกาศยกเลิกโปรเจคคริปโตและ blockchain อย่างเป็นทางการ โดยนาย Pavel Durov ผู้ก่อตั้งและหัวหน้าผู้บริหารได้มีการประกาศเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
โชคไม่ดีนักที่โปรเจค TON ซึ่งไม่เคยเปิดตัวอย่างเป็นทางการกำลังจะถูกปิดตัวลงแล้ว หลังจากที่ Telegram ได้มีการต่อสู้ทางด้านกฎหมายมาอย่างยาวนานกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา (SEC) โดยเมื่อเดือนที่แล้วศาลสหรัฐได้มีการสั่งห้ามไม่ให้ Telegram เปิดตัวโปรเจค TON และแจกจ่ายโทเค็นของบริษัทที่มีชื่อว่า Gram
โปรเจค TON ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้เป็นแพลตฟอร์มที่มีการกระจายอำนาจสำหรับนักพัฒนาสัญญา smart contract ที่สามารถทำงานได้โดยที่ไม่ต้องมีการควบคุมจาก Telegram ซึ่งโทเค็น Gram จะช่วยเสริมพลังให้กับเครือข่ายในฐานะ “ตัวเลือกของสกุลเงินแบบดั้งเดิม” โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีบล็อกเชนเพื่อปรับปรุงในเรื่องของความเร็ว , ประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการทำธุรกรรมทั่วโลก”
แต่อย่างไรก็ตามความฝันเหล่านั้นก็ต้องหยุดลง เมื่อทางคณะกรรมการ ก.ล.ต. กล่าวหา Telegram ในเดือนตุลาคม 2019 ว่า พวกเขาได้มีการขายหลักทรัพย์โดยที่ไม่มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้อง หลังจากที่บริษัทสามารถระดมทุนได้มากกว่า 1.7 พันล้านดอลลาร์ รวมถึงการขายโทเค็น Gram มากกว่า 1 พันล้านเหรียญให้กับผู้ซื้อทั้ง 39 รายในสหรัฐอเมริกา
นาย Steven Peikin ผู้อำนวยการร่วมของ ก.ล.ต. กล่าวว่า
“เราได้กล่าวย้ำอยู่เสมอว่า ผู้ออกหลักทรัพย์ไม่สามารถหลีกเลี่ยงกฎหมายหลักทรัพย์ของรัฐบาลกลางเพียงแค่ติดฉลากคริปโตเคอเรนซี่หรือโทเค็นดิจิทัล Telegram พยายามที่จะได้รับประโยชน์จากการเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชน โดยไม่ปฏิบัติตามความรับผิดชอบในการเปิดเผยข้อมูลที่มีมายาวนาน ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อช่วยปกป้องนักลงทุนสาธารณะ”
ในบล็อกโพสต์ที่เผยแพร่เมื่อวันอังคาร นาย Durov ได้กล่าวไว้อาลัยให้กับโปรเจคเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากความพยายามกว่าสองปีครึ่งโดยวิศวกรชั้นนำของบริษัท
“เราภูมิใจมากกับผลลัพธ์ที่ได้ เทคโนโลยีที่เราสร้างขึ้นจะอนุญาตให้มีการแลกเปลี่ยนค่านิยมและแนวคิดกันได้อย่างอิสระ และเมื่อถูกรวมเข้ากับ Telegram มันจะมีศักยภาพที่สามารถปฏิวัติวิธีการจัดเก็บ , โอนเงินและข้อมูลของผู้คน”
การสั่งห้ามของศาลไม่เพียงแต่หยุด การแจกจ่ายโทเค็น Gram ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก
นาย Durov เขียนในบล็อกโพสต์ว่า :
“การตัดสินของศาลในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศอื่น ๆ ไม่มีอำนาจอธิปไตยในการตัดสินใจว่าอะไรดีและอะไรที่ไม่ดีต่อพลเมืองของพวกเขา …
น่าเศร้าที่ผู้พิพากษาสหรัฐพูดถูกอย่างหนึ่ง ซึ่งก็คือพวกเรา คนที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกาสามารถลงคะแนนให้ประธานาธิบดีของเราและเลือกรัฐสภาของเราได้ แต่พวกเรายังต้องพึ่งพาสหรัฐอเมริกา เมื่อพูดถึงเรื่องการเงินและเทคโนโลยี (โชคดีที่นั่นไม่ใช่กาแฟ)
สหรัฐ ฯ สามารถใช้การควบคุมเงินดอลลาร์และระบบการเงินของโลกเพื่อสั่งปิดบัญชีธนาคารหรือบัญชีธนาคารใด ๆ ในโลก และยังสามารถเข้าควบคุม Apple และ Google เพื่อลบแอพออกจาก App Store และ Google Play
ใช่แล้วมันคือความจริงที่ว่า ประเทศอื่น ๆ ไม่มีอำนาจอธิปไตยเป็นของพวกเขาเอง พวกเราซึ่งมีจำนวนกว่า 96% ของประชากรโลกที่อาศัยอยู่ในที่อื่น แต่กลับต้องมาขึ้นตรงกับผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจเพียงแค่ 4% ในสหรัฐอเมริกา”
เมื่อเดือนที่แล้วก่อนที่โปรเจคจะถึงจุดจบ Telegram ได้ให้ทางเลือกกับนักลงทุนในการรับคืนเงิน หลังจากที่ต้องทนรอการเปิดตัวของโปรเจค TON มาอย่างยาวนาน ซึ่งตอนนี้โปรเจคได้ปิดตัวลงอย่างเป็นทางการแล้วและยังไม่ชัดเจนว่าผู้เข้าร่วมจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนของพวกเขาอย่างไร
ที่มา : dailyhodl