ข้อมูลล่าสุดเผยว่า Tether มีความสามารถในการย้อนธุรกรรมของเหรียญ USDT ได้ อ้างอิงรายงานจากสื่อข่าว The Block
การย้อนธุรกรรมของเหรียญ USDT
เมื่อวันที่ 7 กันยายนที่ผ่านมาผู้ใช้แพลตฟอร์ม DeFi นามว่า ‘Swerve’ ได้โอนเหรียญ USDT มูลค่า 1 ล้านดอลลาร์ไปยังที่อยู่ที่ผิดพลาดและสูญเสียการเข้าถึงเงินดังกล่าว แต่ในที่สุดเรื่องราวนี้ก็ได้ยินไปถึงหูของนาย Paolo Ardoino CTO ของ Tether ซึ่งเสนอจะกู้คืนเหรียญ USDT ให้กับผู้ใช้รายนั้น
ในขั้นตอนการกู้คืนเงิน Tether จะติดต่อไปยังทางผู้ใช้และยืนยันว่าโทเค็นเหล่านั้นสูญหาย จากนั้นบริษัทจะใช้ฟังก์ชันในสัญญา Smart contract ของ Tether เพื่อติดแบล็คลิสที่อยู่ ETH ที่โทเค็นถูกส่งไป สิ่งนี้จะไม่มีผลกับ Swerve แต่จะมีผลเฉพาะกับโทเค็นของ Tether ที่ถูกส่งไปยังปลายทางเท่านั้น
นอกจากนี้ Tether ยังสามารถสั่งระงับการเคลื่อนย้าย USDT ไปมาระหว่างที่อยู่ Address ดังกล่าวและสามารถทำลายโทเค็นนั้นได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามความสามารถเหล่านี้สามารถใช้ได้กับโทเค็น USDT บน Ethereum และ TRON blockchain เท่านั้น และปัจจุบันยังไม่สามารถใช้ความสามารถนี้กับบล็อคเชนอื่น ๆ
จากข้อมูลของ Ardoino นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ Tether ได้ช่วยกู้เงินคืนให้กับผู้ใช้งาน โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Tether ได้ช่วยกู้เงินคืนให้กับผู้ใช้ 12 รายและสามารถกู้คืนได้กว่า 5 ล้านดอลลาร์ในปีนี้
เหรียญ Stablecoins ตัวอื่น ๆ สามารถสั่งระงับการทำธุรกรรมได้หรือไม่ ?
สื่อข่าว The Block ชี้ให้เห็นว่า Tether นั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและเหรียญ Stablecoin ตัวอื่น ๆ เช่น USDC และ Gemini ไม่มีความสามารถในการควบคุมธุรกรรมได้เหมือนกับ Tether
อย่างไรก็ตาม ข่าวที่ผ่าน ๆ มากลับชี้ให้เห็นถึงเรื่องราวที่ขัดแย้ง โดยมีการรายงานว่า Center เคยสั่งระงับธุรกรรมของเหรียญ USDC มูลค่ากว่า 100,000 ดอลลาร์ในเดือนกรกฎาคม 2020 เช่นเดียวกับรายงานย้อนหลังไปถึงปี 2018 ที่เผยว่า Paxos และ Gemini มีแบ็คดรอปที่อนุญาตให้แต่ละบริษัทสามารถสั่งระงับธุรกรรมได้ ในขณะเดียวกันความสามารถในการสั่งระงับโทเค็นก็เป็นฟีเจอร์หลักของเหรียญ TUSD
มาตรการระงับโทเค็นส่วนใหญ่เหล่านี้ไม่ได้มีไว้เพื่อใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ แต่จะเป็นไปตามคำขอของผู้บังคับใช้กฎหมาย ซึ่งแตกต่างจากสกุลเงินคริปโตส่วนใหญ่โดยทั่วไปแล้ว stablecoin จะได้รับการค้ำประกันโดยเงินสำรองของธนาคารและดำเนินการโดย บริษัทต่าง ๆ ซึ่งหมายความว่าพวกเขาจำเป็นต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ก็ตาม ธุรกรรมที่สามารถย้อนกลับได้อาจถือเป็นอีกสัญญาณหนึ่งของคุณสมบัติ Centralize ของ Tether ยิ่งไปกว่านั้นบริษัทยังได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่าต่อเนื่องเกี่ยวกับการตรวจสอบที่ไม่เพียงพอและมีแนวโน้มที่จะเหรียญ USDT จะไม่มีเงินดอลลาร์ค้ำประกันไว้แบบ 100% ซึ่งความสามารถของบริษัทในการควบคุมธุรกรรมของ USDT นั้นอาจส่งผลให้เกิดการโต้เถียงกันในหมู่นักลงทุนคริปโต
ดูเหมือนว่าการย้อนธุรกรรมของ Tether จะมีคุณสมบัติที่ตรงกันข้ามกับความเป็นอิสระทางการเงินของ Bitcoin ยิ่งไปกว่านั้น Tether และเหรียญ Stable coin ตัวอื่น ๆ ยังอาจได้รับการควบคุมดูแลที่เข้มงวดจากหน่วยงานกำกับดูแล ดังนั้นการใช้บริการของพวกเขาก็คงไม่ต่างอะไรไปจากใช้บัญชีธนาคารแบบดั้งเดิม