<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

5 สาเหตุที่ราคา Bitcoin พุ่งขึ้นอย่างรุนแรงทะลุ 1,000,000 บาท

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในวันนี้เราได้เห็นการพุ่งทะลุ 1,000,000 บาทของราคา Bitcoin (BTC) ทั้งในไทยและนอกประเทศไทย โดยเฉพาะราคาตลาดโลกที่พุ่งไปแตะ 35,000 ดอลลาร์แล้วอย่างรุนแรง แม้ว่าสิ่งนี้จะดูค่อนข้างน่าตกใจมาก แต่ในขณะนี้ ผู้คนดูเหมือนจะเริ่มปรับความเคยชินกับมันได้แล้ว โดยในตอนนี้ราคาของเหรียญดังกล่าวนั้นได้พุ่งขึ้นอย่างรุนแรงอย่างต่อเนื่อง และไม่เผยให้เห็นถึงการชะลอตัวแต่อย่างใด

การเพิ่มขึ้นของราคานั้นดูเหมือนว่าทำให้หลาย ๆ คนนั้นเริ่มคิดถึงวันวานตอนปี 2017 เมื่อตอนที่ราคา Bitcoin นั้นพุ่งขึ้นอย่างรุนแรง ก่อนที่จะร่วงลงมาเกือบ 70% และด้วยการที่เราได้อยู่ในช่วงปีใหม่ หลังจากที่ก่อนหน้านี้เพิ่งจะข้ามปีใหม่มาหมาด ๆ ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องปกติที่นักเทรดนั้นจะเครียด

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรงของราคานี้ดูเหมือนว่าจะแตกต่างจากของปี 2017 ที่ผ่านมา โดยเราจะมาดู 5 สาเหตุกันว่าทำไมราคา BTC นั้นถึงสามารถวิ่งทะลุผ่าน 30,000 ดอลลาร์ได้อย่างรุนแรงขนาดนี้

นักลงทุนรายใหญ่เริ่มกระโดดเข้ามา

หลังจากที่เราได้เห็นความกลัวว่าตลาดนั้นจะเกิดการล่มสลายอย่างรุนแรงในช่วงวิกฤตการระบาดของไวรัส COVID-19 นั้น ส่งผลทำให้เราได้เห็นการเข้ามาในตลาดของนักลงทุนสถาบัน และนักลงทุนรายใหญ่ในแบบที่เราไม่เคยเห็นกันมาก่อนเลยทีเดียว โดยมันได้เติบโตมาจากสถานะของการเป็น “เงินของเล่น” หรือ “เงินมืด” แบบที่หลาย ๆ คนเคยคิดจนกลายมาเป็น “ตัวเก็บมูลค่า” หรือ “สินทรัพย์ปลอดภัย” ไปแล้ว

โดยทั้งบริษัทระดับโลกอย่าง Square, Paypal, MicroStrategy, GrayScale, SkyBridge และอื่น ๆ อีกมากนั้นก็กำลังออกมาประกาศว่าพวกเขากำลังไล่ซื้อ Bitcoin เก็บเรื่อย ๆ และในตอนนี้ทุก ๆ คนก็ออกมาแสดงความเห็นว่าต้องการที่จะถือ BTC แทนการขุดแล้วอีกด้วย

มันเป็นสิ่งที่เราเห็นกันได้ง่าย ๆ ว่าการหลั่งไหลเข้ามาของนักลงทุนสถาบันในตลาดเพื่อซื้อ Bitcoin มาถือไว้เฉย ๆ นั้นจะทำให้จำนวน BTC ที่ถูกซื้อขายบนเว็บกระดานเทรดนั้นลดลงเรื่อย ๆ และทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าของขาดตลาดนั่นเอง

สิ่งนี้เกิดขึ้นหลังจากการ halving ของ Bitcoin ที่เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมปี 2020 ที่ผ่านมา โดยการ halving นั้นคือการลดจำนวน supply ในการสร้าง BTC ใหม่ต่อ block ลงครึ่งหนึ่งในทุก ๆ 4 ปี

การเคลื่อนย้าย Bitcoin เป็นวัฏจักร

ตั้งแต่ตอนที่มันถูกสร้างขึ้นมา เราได้เห็นการเติบโตของ Bitcoin ที่เป็นวัฎจักร เช่นการพุ่งขึ้นของราคา, ร่วง, เริ่มนิ่ง, และเติบโตจนทำ new high อีกรอบ และตลาดนั้นมีความผันผวนที่สูงอย่างมาก โดยราคานั้นสามารถที่จะร่วงลงมา 90% ได้ในระยะเวลาเพียงแค่ไม่กี่เดือน ก่อนที่จะฟื้นตัวในระยะเวลาไม่นาน

เราได้เห็นปี 2017 ของ Bitcoin ที่เป็นขาขึ้น, ปี 2018 ที่เป็นขาลง, ปี 2019 ที่เป็นช่วง sideway, และปี 2020 ที่เป็นช่วงขาขึ้นอีกครั้ง ซึ่งมันเกิดขึ้นแม้ว่าเราจะอยู่ในช่วงวิกฤต COVID-19 ก็ตาม

แต่ละวัฏจักรนั้นดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้นใหม่ทุกครั้งที่มีการเกิด halving ขึ้น หรือหากจะให้อธิบายก็คือเมื่อมีการลดจำนวน supply ในแต่ละครั้งทุก ๆ 4 ปี ราคาของมันก็มักจะทำ new high ในวัฎจักรรอบถัดไปพอดี ด้วยการที่จำนวนอุปทานที่น้อยลง สวนทางกับอุปสงค์ที่เพิ่มมากขึ้น สิ่งนี้จึงเป็นตัวที่ทำให้เกิดกลไกตลาดด้านราคานั่นเอง

เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าลง

วิกฤต COVID-19 นั้นถือเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้เราได้เห็นการร่วงลงของตลาดที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสคร์หุ้นเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้ตลาดคริปโตก็ดูเหมือนว่าจะมีปฏิกิริยาตอบสนองตามอีกด้วย ทาง Fed หรือธนาคารกลางสหรัฐฯจึงได้ทำการแก้ไขปัญหานี้ด้วยวิธีการพิมพ์เงินดอลลาร์ขึ้นมาแบบไม่หยุดเพื่อช่วยพยุงหรือประคับประคองเศรษฐกิจไว้นั่นเอง

กราฟด้านบนเผยให้เห็นถึงการร่วงลงของแรงซื้อของเงินดอลลาร์จากที่ผ่านมาในช่วงหลายปี

หากหลาย ๆ คนวิจารณ์ Bitcoin ว่าเป็นเหมือนกับ “Money game” ลองปิดตาของท่านแล้วหยุดคิดสักนิดว่าเงินของรัฐบาลที่สามารถพิมพ์ออกมาได้กลางอากาศโดยไม่มีอะไรมาค้ำไว้ อีกทั้งยังสูญเสียมูลค่าไปทุก ๆ ปีนั้นคืออะไรกันแน่

หากให้พูดง่าย ๆ ก็คือตอนนี้มี Bitcoin ที่ลดน้อยลงเรื่อย ๆ ทุก ๆ 4 ปี ซึ่งสวนทางกับเงินดอลลาร์ที่ถูกพิมพ์ออกมาใหม่เรื่อย ๆ ในทุก ๆ ปี แค่นี้ก็ถือเป็นตรรกะง่าย ๆ ที่หลาย ๆ คนน่าจะเข้าใจแล้ว

Bitcoin นั้นกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ

ปัจจุบันนักลงทุนสถาบันส่วนใหญ่มักจะไม่วิ่งไปเว็บกระดานเทรดคริปโตเพื่อซื้อ Bitcoin แบบตรง ๆ ซึ่งเรามักจะได้รู้กันจริง ๆ ก็ตอนที่ทาง SEC หรือ CEO ของบริษัทด้านการลงทุนนั้น ๆ ออกมาเผย นั่นจึงเป็นสาเหตุที่การซื้อขายผ่าน OTC จึงไม่กระทบต่อราคาตลาด

อย่างไรก็ตาม ตลาด Bitcoin นั้นเป็นตลาดที่ใหญ่ระดับโลก ซื้อขายกันโดยไม่มีวันหรือเวลาหยุด อีกทั้งความสนใจของนักลงทุนรายย่อยก็มีมาให้เห็นกันทุก ๆ วัน โดยหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้นักลงทุนรายย่อยเริ่มตื่นตัวกับ bitcoin นั้นก็คงจะเป็น PayPal ส่วนวิธีการวัดความสนใจของผู้คนทั่วโลกนั้นก็คงจะเป็น Google Trends

กราฟด้านบนนั้นเผยให้เห็นว่าความสนใจของนักลงทุนรายย่อยในขณะนี้ดูเหมือนว่าจะยังไม่เทียบเท่ากับของปี 2017 เลยในขาขึ้นรอบนี้ อย่างไรก็ตามข้อมูลล่าสุดเผยว่าคำค้นหา Bitcoin บน Google นั้นได้มีการค้นหามากกว่าเดิมถึง 375% หากเทียบกับช่วงนี้ในปีที่ผ่านมา ซึ่งสิ่งนี้เผยให้เห็นว่านักลงทุนรายย่อยนั้นเริ่มที่จะวิ่งเข้าตามนักลงทุนสถาบันมาแล้ว

หากจะพูดให้ง่าย ๆ ก็คือตอนนี้ Bitcoin ก็ไม่ต่างจากเซเลบชื่อดังแล้วนั่นเอง

การคาดหวัง Bitcoin ETF

แม้ว่าเหตุการณ์ด้านบนนี้จะส่งผลทำให้ผู้คนตื่นเต้นกันเป็นแค่ระยะเวลาสั้น ๆ แต่หากลองพิจารณาถึงความสนใจของนักลงทุนสถาบันและด้วยการที่รัฐบาลสหรัฐฯกำลังจะมีการถ่ายโอนผู้นำคนใหม่ ดังนั้นเราอาจจะได้เห็นผลกระทบที่จะตามมาในตลาดได้อีกในอนาคต

การมาของกองทุน Bitcoin ETF นั้นจะทำให้ผู้คนสามารถที่จะเทรด Bitcoin ได้โดยที่ไม่ต้องมี BTC ที่ถืออยู่จริง ๆ หลาย ๆ คนเชื่อว่า ETF นั้นถือเป็นคู่ที่สมพงษ์กับนักลงทุนสถาบันอย่างมาก หากคิดที่จะให้มีการปรับตัวใช้กันในอนาคตอย่างกว้างขวาง

ก่อนหน้านี้บริษัท VanEck เคยยื่นขออนุญาตทำกองทุน Bitcoin ETF ไปกับ ก.ล.ต. สหรัฐฯแล้ว แต่ตอนนี้พวกเขาก็ยังไม่ได้ตัดสินใจแต่อย่างใด

แต่อย่างไรก็ตาม นาย Jay Clayton หรืออดีต SEC คนปัจจุบันได้ยื่นลาออกแล้ว และคนที่จะเข้ามาแทนนั้นดูเหมือนว่าจะมีวิสัยทัศน์ด้านเทคโนโลยีที่ดีกว่านี้มาก ซึ่งเราก็ต้องรอดูกันต่อไป