<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ทหารพม่าสั่งบล็อก Facebook หลังรัฐประหารได้ไม่นาน

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

รัฐบาลทหารชุดใหม่ในพม่าได้สั่งให้บริษัทโทรคมนาคมบล็อกการเข้าถึง Facebook ชั่วคราว โดยอ้างว่าแพลตฟอร์มดังกล่าวเป็นภัยคุกคามต่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการจำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต หลังจากที่มีการรัฐประหารไปเมื่อเดือนที่แล้ว

NetBlocks เครื่องมือติดตามการปิดกั้นระบบอินเทอร์เน็ตที่ไม่แสวงหาผลกำไรกล่าวยืนยันแล้วว่า การเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ Facebook, Instagram, Messenger และ WhatsApp ได้ถูกจำกัดในประเทศพม่าแล้ว นอกจากนี้ยังมีการรายงานเหตุการณ์ขัดข้องทางอินเทอร์เน็ตในวันที่ 31 มกราคม 2021 เมื่อทหารพม่าได้เข้ายึดอำนาจในการรัฐประหาร

เมื่อพูดถึงการปิดกั้นอินเทอร์เน็ตที่มีแรงจูงใจทางการเมือง ในปี 2021 ถือว่าเริ่มต้นมาได้อย่างน่าสลดใจ โดยเฉพาะในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาอินเดีย, เมียนมาร์และยูกันดาต่างก็ประสบปัญหาการถูกปิดกั้นอินเทอร์เน็ต ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองของประเทศ

รัฐบาลยูกันดาได้สั่งปิดกั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในวันเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมาและเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทางการอินเดียได้จำกัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตในหลายพื้นที่ใกล้เมืองหลวงอย่างนิวเดลี เนื่องจากเกษตรกรในพื้นที่ออกมาประท้วงกฎหมายด้านการเกษตรที่มีผลบังคับใช้เมื่อเดือนกันยายนปีที่แล้ว

อ้างอิงคำพูดของนาย Hanna Kreitam ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคของนโยบายอินเทอร์เน็ต NGO Internet Society ที่กล่าวว่า นอกเหนือจากการละเมิดเสรีภาพขั้นพื้นฐานของมนุษย์แล้ว การปิดกั้นอินเทอร์เน็ตยังเป็นอันตรายต่อการเติบโตของประเทศอีกด้วย เนื่องจากสิ่งนี้จะส่งผลกระทบทางต่อเศรษฐกิจโดยตรง

“นอกจากนี้บุคคลองค์กรและธุรกิจจำนวนมากทั่วโลกยังต้องพึ่งพาบริการบนอินเทอร์เน็ตที่ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันที่สำคัญต่าง ๆ เช่นการจัดเก็บข้อมูล, การประมวลผลข้อมูลและธุรกรรมทางการเงินในประเทศ ดังนั้นการปิดกั้นการเข้าถึงบริการเหล่านี้จะทำให้ผลผลิตลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลให้เกิดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก” นาย Kreitam กล่าว

ความเสียหาย

รายงานในปี 2020 โดย Top10VPN ระบุว่า การปิดกั้นอินเทอร์เน็ตในภูมิภาค รวมกับการขาดอินเทอร์เน็ตที่ยืดเยื้อในแคว้นแคชเมียร์ อาจทำให้อินเดียต้องสูญเสียรายได้ไปกว่า 2.8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2020 ในขณะที่การปิดกั้นอินเทอร์เน็ตในพม่าทำให้เศรษฐกิจของประเทศเสียหายไปเป็นมูลค่ากว่า 190 ล้านดอลลาร์  

เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ปี 2021 จึงถือว่าเป็นปีที่มีวิกฤตอย่างแท้จริง ดังนั้นการปิดกั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตจึงก่อให้เกิดแรงกดดันจากการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง นาย Kreitam กล่าว

ยกตัวอย่างเช่น อินเดียปรารถนาที่จะกลายเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยี แต่พวกเขากลับปิดกั้นการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพื่อบรรเทาความขัดแย้งและการประท้วงในเรื่องการเมือง  Kreitam กล่าวว่า การปิดกั้นอินเทอร์เน็ตจะส่งผลกระทบต่อแรงบันดาลใจในการที่จะเป็นศูนย์กลางด้านเทคโนโลยีเหล่านั้น

“เราเชื่อว่าการปิดกั้นระบบอินเทอร์เน็ตจะทำให้ความไว้วางใจของผู้คนลดน้อยลงเมื่อเวลาผ่านไป ผู้คนจะหันมาใช้เครือข่ายที่ไม่น่าเชื่อถือ ซึ่งนำไปสู่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอินเทอร์เน็ตของประเทศที่ลดน้อยลง” นาย Kreitam กล่าว

ที่มา : Coindesk