Perpetual contracts หรือสัญญาซื้อขายแบบไม่มีวันหมดอายุที่ถูกเรียกอีกอย่างว่า inverse swap นั้นจะมีอัตรา funding rate ที่จะเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ 8 ชั่วโมง ซึ่งค่าธรรมเนียมตรงนี้จะช่วยป้องกันความเสี่ยงในเรื่องของความไม่เท่ากันในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน
แม้ว่าอัตรา open interest ของผู้ซื้อและผู้ขายนั้นจะตรงกันตลอดเวลา แต่อัตรา levarage นั้นจะมีความแตกต่างกันไป และเมื่อผู้เปิด long มีความต้องการใช้งาน leverage ที่มากกว่าของผู้ที่เปิด short ก็จะส่งผลทำให้อัตรา funding rate กลายเป็นบวก
และกลับกันหากมีผู้เปิด short ที่ใช้ leverage มากกว่า ก็จะส่งผลทำให้อัตรา funding rate ติดลบ
อัตรา funding rate ของตลาด Bitcoin Futures ติดลบตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม (37 วัน) และสถานการณ์นี้บ่งชี้ว่าผู้เปิด long มีความต้องการใช้ leverage ที่น้อยลง
ในอดีต ค่า funding rate ที่ว่านี้มักจะมีการเปลี่ยนแปลงราว ๆ 0% ถึง 2% ต่อสัปดาห์ ซึ่งในบางครั้งอาจขึ้นสูงกว่านี้ในช่วงตลาดขาขึ้น ในขณะเดียวกันอัตรา funding rate ที่ติดลบนั้นมักจะเกิดขึ้นแค่ราว ๆ 2-3 วัน ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ปกติ
อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2020 เป็นตั้นมา หลายอย่างก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป เนื่องจาก Bitcoin เผชิญกับการปรับฐานราคาอย่างรุนแรงในช่วงกลางเดือนมีนาคมของปีที่แล้ว โดยใช้เวลา 60 วันกว่าราคาจะวิ่งไปหา $9,300 อีกครั้ง นอกจากนี้เหตุการณ์การร่วงลงของราคาเกิดขึ้นอีกครั้งในปีเดียวกันช่วงเดือนกันยายน ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาร่วงจาก 12,000 ดอลลาร์ ก่อนที่จะฟื้นตัวอีกครั้งใน 50 วันถัดไป
สังเกตว่าอัตรา funding rate รายสัปดาห์สำหรับเดือนมีนาคมถึงพฤศจิกายน 2020 ส่วนใหญ่เป็นลบ ซึ่งบ่งชี้ว่าผู้ขาย (short) ต้องการใช้เลเวอเรจมากขึ้น สถานการณ์ปัจจุบันคล้ายกับช่วงเวลาเหล่านี้ในปี 2020 และนักลงทุนบางรายมีความเห็นที่เชื่อว่าอัตรา funding rate ที่ติดลบนั้นมักจะตามมาด้วยโอกาสการเข้าซื้อที่ดี
นาย Ki-Young Ju ซีอีโอของ CryptoQuant บริษัทด้านการวิเคราะห์แบบ on-chain ได้แสดงให้เห็นว่าในอดีต อัตรา funding rate ที่ติดลบนั้น “อาจเป็นสัญญาณซื้อที่ดี”
อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ของเขานั้นยกตัวอย่างให้เห็นเฉพาะตอนช่วงก่อนขาขึ้นของราคาจาก 11,000 ดอลลาร์ไปสู่ 34,000 ดอลลาร์ ยิ่งไปกว่านั้นยังมีคำถามขึ้นมาอีกด้วยว่าผู้คนควรเปิด position ตอนไหน หากอัตรา funding rate กลายเป็นลบติดต่อกันถึง 60 วัน?
ก่อนหน้านี้ Cointelegraph แสดงให้เห็นว่าการรวมตัวบ่งชี้อัตรา funding rate กับอัตรา future basis rate จะช่วยให้สามารถวิเคราะห์แนวคิดของนักเทรดมืออาชีพได้ โดยเครื่องมือดังกล่าวนั้นจะมีการวัดราคาจากแต่ละจุดของแต่ละเดือนตามกราฟด้านล่าง
ดังนั้นการออกมาบอกว่าจุดราคาตอนนี้คือจุดต่ำสุดนั้นอาจจะยังเร็วเกินไป เนื่องจากว่าราคานั้นได้มีการเด้งขึ้นมาแค่ใกล้ระดับ 0% หากนับตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน
และในตอนนี้ ยังเป็นการยากที่จะมีตัวกระตุ้นในระดับแรง ๆ ที่จะทำให้อัตราพรีเมียมของตลาดฟิวเจอร์ฟื้นกลับมาที่ 10%
ซึ่งก็ต้องรอดูกันต่อไป