<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ข้อมูลยืนยัน Atomic swaps ระหว่าง Bitcoin และ Monero ถูกเปิดใช้งานบนเครือข่าย Mainnet แล้ว

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในวันนี้ทาง Seth For Privacy ได้เปิดเผยข้อมูลที่ยืนยันแล้วว่า Atomic swaps ระหว่าง Bitcoin และ Monero ถูกเปิดใช้งานบนครือข่าย Mainnet อย่างเป็นทางการแล้ว โดยวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมาทาง Seth For Privacy ได้โพสต์ข้อความบนทวีตว่า “คุณสามารถแลกเปลี่ยน Bitcoin และ Monero แบบ Atomic swap ได้แล้ววันนี้ผ่าน Tor โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยบุคคลที่สาม รวมถึงการยืนยันตัวตน KYC ซึ่งฟีเจอร์นี้จะช่วยทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ได้อย่างน่าเชื่อถือและเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น”

Atomic Swaps คืออะไรและมันทำงานอย่างไร ?

Atomic Swaps คือสัญญา Smart contract ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลหนึ่งกับอีกคนหนึ่งระหว่างคนสองคนขึ้นไป โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยตัวกลางอย่างกระดานแลกเปลี่ยนแบบรวมศูนย์

ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลได้โดยไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางระหว่างสองบล็อกเชนที่แตกต่างกันได้ด้วยเหรียญคริปโตที่แตกต่างกันผ่านการเรียกใช้งานแบบออฟเชน หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ คุณจำเป็นไม่ต้องพึ่งพา blockchain อีกต่อไป

Atomic Swaps จะใช้องค์ประกอบของ Trust และการรับประกันที่มีอยู่ในโค้ดของ cryptocurrencies เพื่อดำเนินการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ใช้สองคน ระบบจะสร้าง multisig vault ขึ้นมาสองห้อง และให้ผู้ใช้ทำการแลกเปลี่ยนคีย์ซึ่งกันและกัน 

“Atomic swaps จะแก้ปัญหาวิธีการแลกเปลี่ยน P2P แบบดั้งเดิมโดยใช้ Hash Timelock Contracts (HTLC) ตามชื่อของมัน ซึ่งเป็นสัญญา Smart contract ที่มีระยะเวลาจำกัดระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างฟังก์ชันแฮชเข้ารหัส ซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถตรวจสอบได้

Atomic Swap ต้องการให้ทั้งสองฝ่ายรับทราบการรับเงินภายในระยะเวลาที่กำหนดโดยใช้ฟังก์ชันแฮชเข้ารหัส หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยืนยันการทำธุรกรรมภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด ธุรกรรมทั้งหมดจะถือเป็นโมฆะและจะไม่มีการแลกเปลี่ยนใด ๆ เกิดขึ้น”

ตัวอย่างการใช้งานของเทคโนโลยีดังกล่าว ผู้ใช้งานจะต้องมีกระเป๋าแบบ 2-2 multisig สองตัว เช่นตัวแรกเป็น BTC และตัวที่สองสำหรับ Monero โดยขั้นแรก ทั้งสองฝ่ายจะต้องทำการส่งเหรียญของพวกเขาไปสู่ address ของกระเป๋า multisig ของแต่ละฝ่ายปลายทาง และจะต้องทำการล็อคไว้ใน HTLC เป็นจำนวนเวลาที่กำหนดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น 1 ชั่วโมง ซึ่งในช่วง 1 ชั่วโมงนี้ถ้ามีฝ่ายใดโอนเหรียญเข้าไปใน address ของปลายทาง แต่อีกฝ่ายไม่โอนกลับมา เหรียญดังกล่าวก็จะถูกส่งกลับไปหากระเป๋าของเจ้าของทันที ซึ่งจะเปรียบเสมือนเป็นตัวช่วยในด้านความปลอดภัยอย่างหนึ่ง

ในกรณีตัวอย่างที่การแลกเปลี่ยนสำเร็จ ให้ลองนึกภาพฝ่ายหนึ่งต้องการจะขอแลก 1 BTC ในขณะที่อีกฝ่ายเสนอ 1000 Monero ถ้าทั้งสองฝ่ายมีการตกลงและยินยอมกับจำนวนดังกล่าว พวกเขาก็จะต้องทำการลงลายเซ็นบน payment channel เพื่อเป็นการเสร็จสิ้นธุรกรรม เท่านี้ระบบ Atomic Swap ก็จะเสร็จสมบูรณ์