Tether นั้นได้กลายเป็นสกุลเงินอย่างเป็นทางการของรัฐบาลที่หลบในเงามืดของเมียนมาร์เมื่อช่วงกลางเดือนธันวาคมในปีที่แล้วรัฐบาลเผด็จการของประเทศได้มีการแบน cryptocurrency แม้ว่าการชำระด้วยคริปโตนั้นเป็นเรื่องยากที่จะติดตามและก็แบนก็มีประสิทธิภาพที่น้อยกว่าที่มันควรจะเป็น
ตามข้อมูลจากสภาบริหารแบ่งรัฐเมียนมาร์ระบุว่ารัฐบาลทหารชุดนี้มีแผนจะสร้างสกุลเงินดิจิทัลเพื่อรองรับการชำระในระดับท้องถื่นและยกระดับเศรษฐกิจของประเทศซึ่งมีความผันผวนมาตั้งแต่เกิดการรัฐประหารในปี 2013
ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่ารัฐบาลทหารนั้นจะทำงานร่วมกับบริษัทในท้องถิ่นเพื่อทำการเริ่มต้นสกุลเงินดิจิทัลหรือไม่ ตามที่นายพล Zaw Min Tun รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสารสนเทศกล่าว
เมียนมาร์ต้องดิ้นรนภายใต้รัฐบาลเผด็จการ
ธนาคารโลกนั้นประมาณการตัวเลขว่าเศรษฐกิจของเมียนมาร์นั้นถดถอยไปเกือบ 20% ตามการประมาณการในปีงบประมาณการที่สิ้นสุดในเดือนกันยายน 2022 ธนาคารโลกนั้นคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของเมียนมาร์นั้นเติบโตเพียงแค่ 1%
หลังจากที่มีการปฏิวัติเศรษฐกิจ, ระบบการเงินของประเทศและโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง
รัฐบาลเผด็จการทหารของเมียนมาร์ขึ้นสู่อำนาจเมื่อต้นปีที่แล้วภายหลังการทำรัฐประหารที่นำโดยนายพลทหารและเจ้าหน้าที่ระดับสูงโดยได้มีการยึดอำนาจและคุมขังนางอองซานซูจีซึ่งเหตุการณ์นี้ก็สร้างความไม่พอใจให้กับประชาชนและนำมาซึ่งการประท้วงไปทั้งประเทศทำให้ทหารนั้นออกมาปราบปรามโดยใช้ความรุนแรงส่งผลให้ประชาชนเสียไปชีวิตไปมากกว่า 1,500 ราย
รัฐบาลที่ชุดทำงานภายใต้การนำของนางอองซานซูจีได้นำเหรียญ stablecoin มาใช้ในเดือนธันวาคมซึ่ง USDT นั้นได้รัยการยอมรับว่าเป็นสกุลเงินของประเทศอย่างเป็นทางการวัตถุประสงค์ก็เพื่อการระดมทุนและการแสดงออกถึงการต่อต้านรัฐบาลซึ่งก็ได้มีการออกคำสั่งว่าคริปโตนั้นผิดกฎหมายเมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2020
เรียนรู้ที่จะอยู่รอด
รัฐบาลที่ก่อตั้งโดยนางอองซานซูจีนั้นมีความตั้งใจที่จะโค่นล้มรัฐบาลทหาร (NUG) ซึ่งพวกเขาก็ได้เริ่มหาเงินเพื่อจะมาปลดระบบการปกครองทหาร
ดังนั้นสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางนั้นดูเหมือนจะเป็นความคิดที่ดีโดยเฉพาะกับประเทศเมียนมาร์สามารถใช้อุปกรณ์ทางการเงินที่ช่วยให้ผู้ที่ไม่มีบัญชีธนาคารได้รับการยอมรับจากระบบการเงิน
แต่ปัญหาก็คือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องการจะถูกระบุตัวตนซึ่งเรื่องนี้ก็มีเหตุผลของตัวมันเอง
“ทหารเมียนมาร์ต้องส่งพลเรือนอีกกี่คนเข้าคุก, ทรมานและยิงทิ้ง ก่อนที่รัฐบาลที่มีอำนาจมากพอนั้นจะลงมือขัดขวางกระแสเงินไหลเข้าและอาวุธของรัฐบาลทหาร” Brad Adams หัวหน้าภูมิภาคเอเชียของ Human Rights Watch ได้ถามถึงวันครบรอบการรัฐประหารเมื่อสัปดาห์ที่แล้วโดยที่ได้พูดถึงเรื่อง “ความโหดเหี้ยมอมหิตในแต่ละวัน”
ในขณะเดียวกันในรายงานนั้นไม่ได้ระบุว่าสกุลเงินดิจิทัลจะเป็นสกุลเงิน fiat ของประเทศในรูปแบบดิจิทัลหรือที่รู้จักกันในชื่อ CBDC หรือไม่
หากพูดถึงสกุลเงินดิจิทัลแล้ว Win Myint อธิบดีกรมการจัดการสกุลเงินของธนาคารกลางเมียนมาร์และทีมงานของเขานั้นเพิ่งจะได้เข้าสู่กระบวนการเริ่มต้นเอง
“เรายังคงเรียนรู้เกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลซึ่งเรานั้นต้องพิจารณาทั้งข้อดีและข้อเสียของมัน” เขากล่าว
ไม่ใช่เพียงแค่เมียนมาร์ที่มีการถกเถียงกันเรื่องการทำสกุลเงินดิจิทัลของประเทศตัวเองประเทศชั้นนำอีกหลายประเทศเช่นจีนและอินเดียได้มีการเริ่มสำรวจสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อจะนำมาสนับสนุนระบบการเงินของประเทศพวกเขาเองและได้จัดทำแผนการเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสกุลเงินดิจิทัลตามเขตอำนาจศาลของตน