กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้เรียกร้องให้มีกฎระเบียบเพิ่มเติมเกี่ยวกับอุตสาหกรรม crypto โดยชี้ไปที่การใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้อย่างแพร่หลายในประเทศที่ถือได้ว่าทุจริตหรือมีการควบคุมเงินทุนที่เข้มงวด
ด้วยตลาดคริปโตที่เม็ดเงินไหลอยู่กว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์โดยในส่วนนี้เองที่ทำให้หลายประเทศได้มีการขยายขอบเขตของการใช้กฎระเบียบ
แต่ด้วยการขาดกฎระเบียบที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันเป็นสาเหตุหลักของความกังวลสำหรับหน่วยงานทั่วโลกรวทถึง IMF ก็ด้วยเช่นกัน
ในขณะที่ประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกาได้พัฒนากรอบการทำงานในการที่จะป้องกันปัญหาไม่ว่าจะเป็นการฟอกเงิน, การจัดหาเงินทุนเพื่อการก่อการร้ายและการฉ้อโกงผ่าน crypto แต่ในหลายประเทศนั้นยังขาดกรอบการทำงานดังกล่าว
IMF ได้ศึกษาถึงการทุจริตที่อาจจะเกิดขึ้น
การศึกษาของ IMF เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ทำการสำรวจกว่า 55 ประเทศ โดยพบว่าสินทรัพย์คริปโต “อาจถูกนำไปใช้ในการโอนเงินที่ได้มาจากการทุจริตหรือใช้เพื่อหลีกเลี่ยงการควบคุมเงินทุน” โดยในการทำแบบสอมถามนั้นมีผู้ตอบแบบสอบถามอยู่ที่ 2,000 ถึง 12,000 คนจากแต่ละประเทศ
ผู้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาของ IMF ถูกถามว่าพวกเขาใช้หรือเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดิจิทัลในปี 2020 หรือไม่ซึ่งสะท้อนการกระทำในครั้งก่อนที่ IMF เรียกร้องให้มีกฎระเบียบคริปโตที่สอดคล้องข้ามพรมแดนระหว่างประเทศที่มากขึ้น
ปีที่แล้ว IMF ได้เผยแพร่บล็อกโพสต์ที่ระบุว่า crypto มีปฏิสัมพันธ์กับระบบการเงินแบบดั้งเดิมอย่างไร โดยสังเกตว่าผู้กำหนดนโยบายพบว่าเป็นการยากที่จะติดตามความเสี่ยงที่อาจะเกิดขึ้นเนื่องจากขาดกฎระเบียบควบคุม
IMF ยังได้มีการแนะนำว่าควรมีการควบคุม crypto ทั่วโลกอย่างไรโดยแนะนำให้ออกใบอนุญาตสำหรับผู้ให้บริการ crypto และกำหนดแนวทางและข้อกำหนดที่ชัดเจนสำหรับสถาบันการเงินที่ได้รับการควบคุมที่เปิดเผยต่อ crypto
FCA ถอนบริษัท crypto ในสหราชอาณาจักรออกจากลิสต์ที่ลงทะเบียนไว้
แม้ว่าจะยังไม่มีกรอบการควบคุมที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันระดับโลกสำหรับคริปโตแต่หลายประเทศได้เพิ่มความพยายามในการควบคุมคริปโตเพิ่มเป็นสองเท่าในสหราชอาณาจักรหน่วยงานเฝ้าระวัง Financial Conduct Authority (FCA) ซึ่งเป็นหัวแถวในด้านการออกกฎระเบียบคริปโต เมื่อเร็ว ๆ นี้ได้มีการประกาศว่าบริษัท 5 แห่งได้ถูกเพิ่มลงในลิสต์ผู้ให้บริการ crypto ที่ได้รับอนุมัติในประเทศแล้ว
ตั้งแต่ปี 2020 FCA ได้สั่งให้ผู้ให้บริการ crypto ต้องได้รับอนุญาตในประเทศก่อนจะดำเนินการใด ๆ และบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการทันวัน deadline ในวันที่ 31 มีนาคมจะถูกบังคับให้ปิดตัวลงในทำนองเดียวกัน สหรัฐฯ กำลังดำเนินการเพื่อให้กรอบการกำกับดูแลที่ชัดเจนยิ่งขึ้น แต่ก็ยังคงประสบปัญหาในการให้ความกระจ่าง
ในปัจจุบันคำสั่งผู้บริหารล่าสุดของประธานาธิบดี Joe Biden เกี่ยวกับ crypto ถูกคาดหวังว่าจะให้กระจ่างมากขึ้นในระยะยาว ส่วนสหภาพยุโรป (EU) กำลังดำเนินการตามขั้นตอนในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการควบคุมสินทรัพย์ดิจิทัล
อย่างไรก็ตามยังมีหลายประเทศเช่น อินเดีย ที่ไม่ได้ทำการควบคุมคริปโตแม้ว่าประเทศจะมีการจัดเก็บภาษีที่ได้จากการทำกำไรจากคริปโตแสนมหาโหดก็ตามแต่ก็ยังไม่ได้มีการใช้กรอบในการกำหนดว่าอุตสาหกรรมคริปโตนั้นควรดำเนินไปในทิศทางไหน