<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ส่องพฤติกรรมการลงทุนคริปโตของคนไทยปี 2566: Gen ไหนลงทุนคริปโตมากที่สุด ?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

จากรายงานผลสำรวจพฤติกรรมการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลของคนไทยปี 2566 ที่จัดทำโดยธนาคารกรุงศรี ซึ่งได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างที่เป็นคนไทยที่ลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลจำนวน 733 คน ผ่านช่องทางออนไลน์ พบว่าคนไทยมีความสนใจในการลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่มีใครเคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่าคนไทยลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างไร ?

ในบทความนี้ทางสยามบล็อกเชนจะพาทุกคนมาส่องไปพร้อมกันว่าพฤติกรรมการลงทุนคริปโตของคนไทยส่วนใหญ่เป็นแบบไหนบ้าง แล้วมาดูกันว่าแนวทางการลงทุนของคุณตรงกับคนไทยส่วนใหญ่มากน้อยแค่ไหน

Gen ไหนลงทุนคริปโตมากที่สุด?

จากผลสำรวจพบว่า คนไทยส่วนใหญ่ที่ลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล คือ กลุ่ม Gen Z และ Gen Y โดยนักลงทุนที่อยู่ในช่วงอายุระหว่าง 21-30 ปี คิดเป็น 47% ของคนไทยที่ลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจของมหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ที่พบว่าสาเหตุที่คน Gen Z สนใจลงทุนในคริปโตเพราะต้องการรวยเร็ว

รองลงมาคือกลุ่ม Gen Y ซึ่งมีอายุ 31-40 ปี คิดเป็นสัดส่วน 29% และถัดมาคือกลุ่มนักลงทุนช่วงอายุ 41-50 ปี หรือกลุ่ม Gen Y และ Gen X ซึ่งคิดเป็น 17% 

คนไทยส่วนใหญ่ทำเงินจากคริปโตได้เท่าไร?

สำหรับรายได้เฉลี่ยของนักลงทุนไทยที่ลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลอยู่ที่ประมาณ 20,000 บาทต่อเดือน โดยกลุ่มรายได้ 10,000-20,000 บาท คิดเป็น 27% รองลงมาคือกลุ่มรายได้ 20,000-30,000 บาท คิดเป็น 23% และกลุ่มรายได้ 30,000-40,000 บาท คิดเป็น 21%

คนไทยนิยมเหรียญไหน?

ในส่วนของสินทรัพย์ดิจิทัลที่คนไทยนิยมลงทุนมากที่สุด ได้แก่  Bitcoin (BTC)Ethereum (ETH),  Tether (  USDT) และ  Binance Coin ( BNB) โดยกลุ่มสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ เช่น เหรียญ  DeFi (Decentralized Finance) เหรียญ  NFT (  Non-fungible token) และเหรียญ Meme coin ก็มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง

คนไทยส่วนใหญ่ลงทุนคริปโตเพื่ออะไร?

เมื่อพิจารณาผลสำรวจของกลุ่มผู้ที่มีบัญชีเทรดสินทรัพย์ดิจิทัลพบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจส่วนใหญ่ลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น โดยคิดเป็น 71% รองลงมาคือการลงทุนเพื่อเก็งกำไรระยะกลาง คิดเป็น 21% และการลงทุนเพื่อถือครองระยะยาว คิดเป็น 8%

ในบรรดาผู้ตอบแบบสำรวจที่มีบัญชีเทรดสินทรัพย์ดิจิทัล 8 ใน 10 คน เทรดคริปโตเพื่อแสวงหากำไร , 7 ใน 10 คน เทรดเพื่อเพิ่มพูนความรู้ , 3 ใน 10 คน เทรดตามกระแสหรือเทคดตามเพื่อนและคนใกล้ชิด หรือเพื่อใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นที่เก็บรักษามูลค่า (Store of value) หรือต้องการใช้คริปโตเคอร์เรนซีเป็นสื่อการในการแลกเปลี่ยนแทนเงิน ในขณะที่ 1 ใน 10 คน เทรดเพื่อให้ได้รับส่วนลดหรือสิทธิพิเศษ และนอกจากนี้ ในบรรดาผู้มีบัญชีเทรดสินทรัพย์ดิจิทัลนั้น 1 ใน 7 คน ใช้การซื้อขายเหรียญคริปโตแทนการโอนเงินระหว่างประเทศเพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียม

Gen ไหน มีเงินเดือน เงินเก็บ และหนี้เท่าไหร่?

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าภาวะการเงินของคนไทยในปี 2566 ยังคงอยู่ในระดับที่น่ากังวล เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่มีหนี้สินเฉลี่ยสูงกว่าเงินเก็บเฉลี่ย โดยรายได้เฉลี่ยของคนไทยในปี 2566 อยู่ที่ 21,075 บาทต่อเดือน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

รายได้เฉลี่ยของคนไทยในปี 2566

  • ผู้ที่มีอายุ 45-59 ปี (Gen X) มีรายได้เฉลี่ยสูงสุดที่ 24,575 บาทต่อเดือน 
  • ผู้ที่มีอายุ 30-44 ปี (Gen Y) มีรายได้เฉลี่ย 23,025 บาทต่อเดือน
  • ผู้ที่มีอายุ 20-29 ปี (Gen Y และ Gen Z)  มีรายได้เฉลี่ย 20,625 บาทต่อเดือน

เงินเก็บเฉลี่ยของคนไทยในปี 2566

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าเงินเก็บเฉลี่ยของคนไทยในปี 2566 อยู่ที่ 13,000 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ผู้ที่มีอายุ 20-29 ปี (Gen Y และ Gen Z) มีเงินเก็บเฉลี่ยสูงสุดที่ 15,000 บาท 
  • ผู้ที่มีอายุ 30-44 ปี (Gen Y) มีเงินเก็บเฉลี่ย 14,000 บาท
  • ผู้ที่มีอายุ 45-59 ปี (Gen X) มีเงินเก็บเฉลี่ย 12,000 บาท

หนี้สินเฉลี่ยของคนไทยในปี 2566

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าหนี้สินเฉลี่ยของคนไทยในปี 2566 อยู่ที่ 16,000 บาท โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ผู้ที่มีอายุ 20-29 ปี (Gen Y และ Gen Z) มีหนี้สินเฉลี่ยสูงสุดที่ 18,000 บาท
  • ผู้ที่มีอายุ 30-44 ปี (Gen Y) ที่มีหนี้สินเฉลี่ย 17,000 บาท
  • ผู้ที่มีอายุ 45-59 ปี (Gen X) มีหนี้สินเฉลี่ย 15,000 บาท

จากข้อมูลดังกล่าว พบว่าคนไทยส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง โดยผู้ที่มีอายุ 20-29 ปี มีรายได้เฉลี่ยใกล้เคียงกับค่าครองชีพ แต่มีเงินเก็บเฉลี่ยน้อยกว่าหนี้สิน ทำให้กลุ่มนี้อยู่ในภาวะเปราะบางทางการเงินมากที่สุด

สำหรับกลุ่มผู้ที่มีอายุ 30-44 ปี มีรายได้เฉลี่ยสูงกว่าค่าครองชีพและมีเงินเก็บเฉลี่ยมากกว่าหนี้สิน ทำให้กลุ่มนี้อยู่ในภาวะการเงินที่ค่อนข้างมั่นคง ส่วนกลุ่มผู้ที่มีอายุ 45-59 ปี มีรายได้เฉลี่ยสูงกว่าค่าครองชีพ และมีเงินเก็บเฉลี่ยมากกว่าหนี้สิน ทำให้กลุ่มนี้อยู่ในภาวะการเงินที่มั่นคงเช่นกัน

ที่มา: dpasetnsomarketeeronlinekrungsri