ปัจจุบันมีสินทรัพย์ 2 รายการที่ดึงดูดความสนใจของนักลงทุน ที่ต้องการจะหลบเลี่ยงจากภาวะเงินเฟ้อ เมื่อต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจโลก ซึ่งสินทรัพย์นั้นได้แก่ Bitcoin ( BTC) และทองคำ
โดยทั่วไปแล้ว ทองคำเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่ได้รับความนิยม ส่วน Bitcoin นั้นมีปริมาณจำกัด และมีศักยภาพในการทำกำไรแบบก้าวกระโดด ก็กำลังก้าวขึ้นมาเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ
อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์แต่ละประเภทมีความเสี่ยงและผลตอบแทนที่แตกต่างกัน จึงทำให้เกิดข้อถกเถียงกันว่า สินทรัพย์ใดทำหน้าที่เป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อได้ดีที่สุด
ซึ่งในบทความนี้ ผู้เขียนได้ทำการสอบถาม ChatGPT-4o เพื่อขอข้อมูลเชิงลึกว่า สินทรัพย์ใดมีศักยภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่แข็งแกร่งที่สุดในปัจจุบัน
ในปี 2024 ราคา Bitcoin เพิ่มขึ้น 60% โดยปัจจุบันราคา Bitcoin กำลังซื้อขายอยู่ที่ 67,711 ดอลลาร์ ขณะที่ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นใกล้แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2,758.45 ดอลลาร์ ต่อออนซ์ โดยเพิ่มขึ้น 33% ในปีนี้
กราฟราคา Bitcoin และทองคำ ที่มา: TradingView / Finbold
แม้จะให้ผลกำไรที่น่าประทับใจ แต่ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์และปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้เกิดความซับซ้อนซึ่งส่งผลต่อบทบาทของสินทรัพย์แต่ละรายการ ในฐานะแหล่งเก็บมูลค่าที่สำคัญ
BTC เปรียบเทียบกับทองคำ: เรื่องราวเส้นทางที่แตกต่างกัน
อัตราส่วนบิตคอยน์ต่อทองคำ ซึ่งเป็นตัวชี้วัด ที่เปรียบเทียบมูลค่าของบิตคอยน์กับทองคำต่อออนซ์ แสดงให้เห็นว่า ประสิทธิภาพที่เหนือกว่าทองคำของบิตคอยน์ นั้นลดลงนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2024
ข้อมูลจาก Bloomberg Intelligence ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่ลดลง โดยปัจจุบันบิตคอยน์เทียบเท่ากับทองคำ 24 ออนซ์
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เน้นย้ำถึงความน่าดึงดูดใจอย่างต่อเนื่องของทองคำ ท่ามกลางแรงกดดันทางเศรษฐกิจโลก โดยนักวิเคราะห์จาก Bank of America แนะนำว่า ทองคำเป็น “สินทรัพย์ปลอดภัยแห่งสุดท้าย” เนื่องจากหนี้สินของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้น และความกังวลเกี่ยวกับอุปทานของกระทรวงการคลัง
นอกจากนี้ ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ ยังเพิ่มขึ้นเป็น 104.24 โดยได้รับแรงหนุนจากข้อมูลเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง และท่าทีระมัดระวังของเฟดเกี่ยวกับการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี พุ่งสูงถึง 4.24%
อย่างไรก็ตาม ความต้องการทองคำยังคงแข็งแกร่งท่ามกลางความไม่แน่นอนของตลาดโดยรวม ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ของสินทรัพย์แบบดั้งเดิม
โดยปัจจุบันธนาคารกลางได้เพิ่มการถือครองทองคำ คิดเป็น 10% ของเงินทุนสำรองทั่วโลก ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 3% เมื่อทศวรรษที่ผ่านมา
รายงานเศรษฐกิจที่สำคัญในสัปดาห์หน้า รวมถึงข้อมูล PCE หลัก อาจส่งผลต่อกลยุทธ์อัตราดอกเบี้ยของเฟด และส่งผลต่อแนวโน้มราคาทองคำ นักวิเคราะห์กำลังจับตาดูเป้าหมายถัดไปในช่วงปลายปี ที่ราคาทองคำอาจอยู่ที่ 3,000 ดอลลาร์ต่อออนซ์
ในขณะเดียวกัน สถานะของ Bitcoin ในฐานะเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อยังคงสร้างความสับสนให้กับนักลงทุน เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และความไม่แน่นอนของระบบการเงินแบบดั้งเดิม มากกว่าแนวโน้มจากภาวะเงินเฟ้อโดยตรง
การวิเคราะห์ผลกระทบต่อ Bitcoin
ปัจจุบันความต้องการใช้ Bitcoin ในฐานะสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงโดยนักลงทุนสถาบันกำลังเพิ่มสูงขึ้น โดยมีเงินลงทุนไหลเข้า 10 วันติดต่อกัน ผ่านกองทุน IBIT ETF ของ BlackRock
อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพของ Bitcoin ยังคงมีความอ่อนไหวต่อเหตุการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์เป็นอย่างมาก เนื่องจากความตึงเครียดในตะวันออกกลางที่เพิ่มสูงขึ้น นักวิเคราะห์จาก Standard Chartered ตั้งข้อสังเกตว่า BTC อาจต้องดิ้นรนเพื่อรักษามูลค่าไว้ โดยราคา Bitcoin อาจลดลงต่ำกว่า 60,000 ดอลลาร์
Standard Chartered ยังเน้นย้ำบทบาทเฉพาะตัวของ BTC ในฐานะเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงจากความกังวลด้านการเงินแบบดั้งเดิม เช่น ความไม่มั่นคงของธนาคาร และการลดบทบาทลงของสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แทนที่จะเป็นการป้องกันความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์โดยตรง
ขณะเดียวกันการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ใกล้จะมาถึง หลายคนคาดหวังว่า ชัยชนะของทรัมป์จะช่วยหนุน Bitcoin เนื่องจากจุดยืนที่สนับสนุนสกุลเงินดิจิทัลของเขา แม้ว่าจะมีความผันผวนที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นในช่วงระหว่างนี้ก็ตาม
คำตัดสินขั้นสุดท้าย จากการวิเคราะห์ของ ChatGPT
ตามที่ ChatGPT ระบุ ความยืดหยุ่นและสถานะสินทรัพย์ปลอดภัยที่ยั่งยืนของทองคำ ทำให้ทองคำเป็นเครื่องมือป้องกันเงินเฟ้อที่แข็งแกร่ง ในขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนทางการคลังและความไม่สงบทางภูมิรัฐศาสตร์
แนวโน้มทองคำเทียบกับBitcoin ที่มา: ChatGPT/Finbold
ในขณะเดียวกัน Bitcoin ที่มีอุปทานจำกัดและมีศักยภาพในการเติบโตสูง ถือเป็นทางเลือกที่ยังคงดึงดูดนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้
สำหรับผู้ที่ยอมรับความผันผวนได้ Bitcoin สามารถมอบผลตอบแทนที่น่าดึงดูดใจจำนวนมหาศาล
สรุปแล้ว แม้ว่า Bitcoin จะดึงดูดนักลงทุนในยุคดิจิทัล ด้วยการเติบโตและความน่าสนใจในด้านการเก็งกำไร แต่ประวัติอันมั่นคงของทองคำในช่วงที่ตลาดผันผวน นั้นช่วยยืนยันสถานะของทองคำในฐานะเครื่องมือป้องกันเงินเฟ้อที่ดีที่สุดในปี 2024
- ที่มา : finbold
- ที่มาภาพ : intacapitalswiss