<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>
bitkub-2022-769x90

นักวิเคราะห์ฟันธง! อีก 5 ปี ขึ้นแท่นยุคใหม่ หนึ่งในสี่ของบริษัท S&P 500 จะหันมาถือ Bitcoin

bitkub-2022-768x90
ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

Elliot Chun นักวิเคราะห์จากบริษัทที่ปรึกษาด้านการเงินออกมาเผยว่า ภายในปี 2030 อาจมีถึงหนึ่งในสี่ของบริษัทในดัชนี S&P 500 ที่หันมาถือครอง Bitcoin ไว้ในงบดุลของตัวเอง เหตุผลหลักมาจากความกลัวของผู้จัดการฝ่ายการเงิน ที่เกรงว่าหากไม่ลงทุนใน Bitcoin อาจพลาดโอกาสสำคัญ และเสี่ยงต่อการถูกมองว่าไม่ทันเกมหรือไม่มีวิสัยทัศน์จนถึงขั้นตกงานได้

Chun ระบุว่า ถ้าบุคคลเหล่านี้ลงทุนใน Bitcoin แล้วมันออกมาดี พวกเขาจะได้รับคำสรรเสริญว่าเป็นอัจฉริยะ แต่ถ้าหากมันออกมาไม่ดี อย่างน้อยก็ได้ลอง ทว่าหากนิ่งเฉยไม่ลงทุนใด ๆ อาจทำให้พวกเขาจำต้องถูกไล่ออก 

ปัจจุบัน Strategy (MSTR) ยังคงเป็นบริษัทเอกชนที่มีการถือครอง Bitcoin มากที่สุดในโลก จากจำนวน 89 บริษัทที่มีการจดทะเบียนในตลาดหุ้น อ้างอิงตามข้อมูลจาก BitcoinTreasuries.NET

อย่างไรก็ตาม ในดัชนี S&P 500 มีเพียง Tesla และ Block เท่านั้นที่ถือครอง Bitcoin ซึ่งหมายความว่า หากการคาดการณ์ของ Chun จะเป็นจริง ยังจำเป็นต้องมีบริษัทอีกอย่างน้อย 123 แห่งเข้าซื้อ Bitcoin เพิ่มภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า

หลายผู้นำในวงการคริปโตอย่าง Cathie Wood (CEO แห่ง ARK Invest), Mike Novogratz (CEO แห่ง Galaxy Digital), Brian Armstrong (CEO แห่ง Coinbase) และ Jack Dorsey (CEO แห่ง Block) ต่างเชื่อว่า ราคา Bitcoin อาจพุ่งแตะระดับ $500,000 ถึง $1,000,000 หรือสูงกว่านั้นภายในปี 2030 ซึ่งแนวโน้มการเติบโตในระยะยาวนี้ได้กระตุ้นให้บริษัทจำนวนมากเริ่มหันมาใช้กลยุทธ์ถือครอง Bitcoin เป็นสินทรัพย์ในงบดุล โดยมี MicroStrategy (MSTR) เป็นกรณีศึกษาเด่นที่ราคาหุ้นพุ่งขึ้นกว่า 2,000% นับตั้งแต่การลงทุน Bitcoin ครั้งแรกเมื่อ 20 สิงหาคม 2020 ซึ่งเหนือกว่าทั้งผลตอบแทนของ Bitcoin เอง (781.1%) และดัชนี S&P 500 (64.8%) ในช่วงเวลาเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม Chun เตือนว่า การถือครอง Bitcoin ในงบดุลนั้นไม่ใช่สูตรสำเร็จสำหรับทุกบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างบริษัทที่เพียงต้องการกระจายความเสี่ยงกับบริษัทที่ปรับโครงสร้างธุรกิจทั้งหมดเพื่อเป็นผู้นำด้าน Bitcoin โดยเฉพาะ “บริษัทที่พยายามเลียนแบบความสำเร็จของ MicroStrategy มีแนวโน้มจะผิดหวัง” Chun กล่าว พร้อมระบุว่า MSTR คือกรณีพิเศษ “แบบหนึ่งเดียวในโลก” ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผู้จัดการสินทรัพย์ในสหรัฐฯ ยังไม่สามารถถือ Bitcoin ได้โดยตรง ก่อนที่ ก.ล.ต. สหรัฐฯ จะอนุมัติ ETF แบบ Spot เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2024

แม้กระแสการยอมรับ Bitcoin ในฐานะสินทรัพย์คลังจะเพิ่มขึ้น แต่ Chun ยังคงมองว่าการถือ Bitcoin เพื่อลดความเสี่ยงจากเงินเฟียตหรือกระจายพอร์ตของบริษัท ยังคงเป็น “กลยุทธ์ที่ยังไม่พิสูจน์ผลลัพธ์ชัดเจน” อย่างไรก็ดี เขายอมรับว่า Bitcoin มีความยืดหยุ่นมากกว่าทองคำในมิติของการจัดเก็บและการโอนย้าย อีกทั้งยังได้รับการยอมรับตามหลักการบัญชี GAAP ว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องและสามารถเปลี่ยนมือได้ง่าย ล่าสุด บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Bitwise ก็เปิดตัว ETF ใหม่ “Bitwise Bitcoin Standard Corporations ETF” เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยเน้นลงทุนในบริษัทที่ถือ Bitcoin อย่างน้อย 1,000 BTC ขึ้นไป

แม้เส้นทางของ Bitcoin ในฐานะสินทรัพย์คลังของภาคธุรกิจจะยังไม่ชัดเจนเต็มร้อย แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือ การถือครอง Bitcoin กำลังกลายเป็นตัวเลือกเชิงกลยุทธ์ที่บริษัททั่วโลกเริ่มหันมาพิจารณาอย่างจริงจัง และในยุคที่การเงินเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ดิจิทัล ผู้นำที่กล้าคิดล่วงหน้า อาจเป็นผู้ที่ได้เปรียบที่สุดในเกมนี้

ที่มา : Cointelegraph

ข่าวต่อไป