ไม่นานมานี้ Jurrien Timmer ผู้อำนวยการฝ่าย Global Macro ของกองทุน Fidelity ได้ตอบกลับในการโต้วาทีว่าระหว่าง Bitcoin และทองคำ อะไรเป็นสิ่งที่มั่นคงกว่ากันในการเก็บรักษามูลค่า ชี้ให้เห็นว่าสินทรัพย์ใดจะไม่สามารถเข้าต่อกรกับเงินเฟ้อได้
เหตุผลของ Timmer นั้นรองรับด้วยคอนเซ็ปต์ของ “Fiscal dominance” ที่หมายความว่ารัฐบาลจะเคลื่อนย้ายและขยายอุปทานของเงิน จนเข้ามาคุกคามอำนาจการซื้อจากเงินสกุลหนึ่ง ซึ่งเขาระบุว่าแม้ทองคำ และ Bitcoin นั้นจะเป็นสินทรัพย์ที่ป้องกันเงินเฟ้อได้ดีที่สุดตามทฤษฏี แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งเหล่านั้นยังไม่เกิดขึ้นจริงอย่างสมบูรณ์
ทว่า แม้ Bitcoin จะมีคุณสมบัติต่าง ๆ ใกล้เคียงกับทองคำทุกประการจนได้รับสมยานามว่า “ทองคำดิจิทัล” แต่การที่ Bitcoin นั้นจะสามารถเข้ามาแข่งขันหรือแทนที่ทองคำได้นั้น ปริมาณรวมของเงินเฟียตจะต้องเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างมาก เกินกว่าแนวโน้มปกติเป็นระยะเวลานาน ซึ่งเมื่อดูแนวโน้มสถานการณ์ปัจจุบันจะพบว่าสินทรัพย์ทั้งสองยังไม่มีความจำเป็นมากถึงขนาดนั้นในการเก็บรักษามูลค่า
สำหรับ Bitcoin นั้นราคาของมันได้กลับฟื้นขึ้นมา $69,523 หลังรายงาน CPI ระบุว่ามีอัตราเงินเฟ้อที่ลดน้อยลง เช่นเดียวกันกับทองคำที่ราคาได้พุ่งขึ้นมาเช่นกัน ทำให้ทั้งสองสินทรัพย์นั้นเป็นตัวเลือกที่ดีในการเก็บมูลค่า
ทั้งนี้อ้างอิงจากรายงานล่าสุดโดย Barchart ระบุว่าราคา Bitcoin นั้นไม่มีความสัมพันธ์ (correlation) กับอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ฯ ประเภท 10 ปี อีกต่อไป เนื่องจากความสัมพันธ์ดังกล่าวลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 14 ปี ที่ค่า -53
สิ่งนี้หมายความว่าในปัจจุบัน Bitcoin และตลาดของมันกำลังเติบโตขึ้นเป็นอิสระจากเครื่องมือทางการเงินที่ผูกมัดกับพันธบัตรของสหรัฐ ฯ ทำให้ในอนาคต Bitcoin อาจกลายเป็นสินทรัพย์อีกประเภทหนึ่งที่ไม่จำเป็นต้องขึ้นตรงกับระบบเดิม ๆ อีกต่อไป
อย่างไรก็ตาม Bitcoin และทองคำยังคงมีข้อจำกัดอยู่ในการเก็บรักษามูลค่าในปัจจุบันซึ่งปัจจัยนั้นคือ สภาพเศรษฐกิจในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของปริมาณเงินหมุนเวียน และเงินเฟ้อ
ดังนั้นในปัจจุบันเราจึงยังไม่สามารถทราบคำตอบแน่ชัดว่าสินทรัพย์ตัวใดดีกว่ากัน แต่ว่า ถ้า Bitcoin ยังคงแยกความสัมพันธ์จากตัวชี้วัดทางการเงินแบบดั้งเดิมต่อไป มันอาจช่วยเสริมสร้างกรณีที่ Bitcoin จะกลายมาเป็นเครื่องป้องกันความไม่แน่นอนของระบบที่ไม่ใช่แบบดั้งเดิมได้ดียิ่งขึ้น
ที่มา : Bitcoinist