<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

สุดสลด ! นักเทรดคริปโตรายหนึ่ง สูญเงินมหาศาลกว่า 36 ล้านบาท ภายในเวลาไม่ถึง 2 เดือน 

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

นักเทรดสกุลเงินดิจิทัลรายหนึ่ง สูญเงินไปกว่า 1.1 ล้านดอลลาร์ ในระยะเวลาไม่ถึงสองเดือน หลังจากการลงทุนครั้งใหญ่เมื่อช่วงปลายเดือนกรกฎาคมในแพลตฟอร์มการเงินแบบกระจายอำนาจยอดนิยมอย่าง MakerDAO (MKR) ซึ่งเป็นองค์กรที่อยู่เบื้องหลังเหรียญ stablecoin อย่าง DAI 

ตามข้อมูลจากแพลตฟอร์มวิเคราะห์บล็อกเชนอย่าง Lookonchain นักลงทุนรายนี้ได้ทุ่มเงินมูลค่า 2.9 ล้านดอลลาร์เพื่อซื้อโทเค็น MKr จำนวน 1,100 โทเค็นในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยในขณะนั้นราคาของโทเค็น MKr อยู่ที่ 2,643 ดอลลาร์ต่อโทเค็น หลังจากถือครองมาจนถึงเดือนปัจจุบัน นักลงทุนรายนี้ได้ตัดสินใจนำโทเค็น MKr ทั้งหมดไปฝากไว้ที่ Binance ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มซื้อขายคริปโตเคอร์เรนซีชั้นนำ อย่างไรก็ตาม ราคาของโทเค็น MKr ในปัจจุบันได้ลดลงเหลือเพียง 1,613 ดอลลาร์เท่านั้น

การโอนย้ายเหรียญไปที่เว็บเทรด Binance บ่งชี้ว่า นักลงทุนรายนี้กำลังจะเตรียมขายสินทรัพย์ที่ถือครองอยู่ ซึ่งส่งผลให้เกิดการขาดทุนถึง 1.13 ล้านดอลลาร์ จากการลงทุนในระยะเวลาไม่ถึง 50 วัน

เมื่อเดือนที่แล้ว บริษัทจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Grayscale Investments ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Digital Currency Group  ได้เปิดตัว Grayscale MakerDAO Trust ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงการลงทุนใน MKR ได้โดยตรง

ต่อมา Rune Christensen ผู้ก่อตั้งร่วม MakerDAO ประกาศว่า โปรเจกต์กำลังเข้าสู่ระยะถัดไปด้วยการเปลี่ยนชื่อแบรนด์เป็น Sky

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เป็นผลจากการพัฒนาที่ใช้ระยะเวลานานกว่าสองปี เพื่อนำเสนอฟังก์ชันการทำงานใหม่ ๆ และปรับปรุงการมีส่วนรวมของผู้ใช้งาน ภายในระบบนิเวศการเงินแบบ decentralized  (DeFi)

โทเค็น USDS และ SKY เป็นโทเค็นใหม่ 2 โทเค็น ที่เปิดตัวใน Sky โดย USDS เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ผู้ใช้งานสามารถแปลงจากสกุลเงิน DAI หรือ USDC ที่มีอยู่ เป็นสกุลเงินดิจิทัลแบบ 1:1 ได้ ซึ่งโทเค็นนี้จะมีบทบาทสำคัญภายในระบบนิเวศของ Sky โดยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมต่าง ๆ ภายในแพลตฟอร์ม

ในขณะเดียวกัน โทเค็น SKY จะทำหน้าที่เป็นโทเค็นสำหรับการกำกับดูแลใหม่ แทนที่ MKR โดยผู้ถือโทเค็น MKR จะมีตัวเลือก ในการอัปเกรดโทเค็นของตนไปเป็นโทเค็น SKY เพื่อจะมีส่วนร่วมในระบบการกำกับดูแลระบบนิเวศของ Sky โดยโมเดลการกำกับดูแลยังคงเป็นแบบกระจายอำนาจ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจที่กำหนดอนาคตของโปรโตคอล 

ที่มา : cryptoglobe