<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ชีวิต 12 ปีบนเรือสำราญดีจริงหรือ ? ถ้าเราไม่ใช่พนักงาน Meta แต่เป็น “นักเทรดคริปโต”

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เมื่อเร็ว ๆ นี้เรื่องราวของนาย  Austin Wells พนักงานบริษัท Meta ที่ได้ตัดสินใจใช้ชีวิตกว่า 12  ปีบนเรือสำราญ ได้กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้งในประเทศไทย ซึ่งก็ได้มีชาวเน็ตหลายคนอิจฉาไลฟ์สไตล์ของเขามาก ๆ เพราะนอกจากจะได้ท่องเที่ยวรอบโลกแล้ว ห้องพักของเขายังได้รับการดูแลจากพนักงานเป็นอย่างดีเสมือนโรงแรม 5 ดาว รวมถึงสามารถเข้าใช้งานสถานที่ส่วนกลาง โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ เพิ่มเติม

จากรายงานพบว่าตัวของ Wells ได้จ่ายเงินล่วงหน้าจำนวน 300,000 ดอลลาร์ (9.8 ล้านบาท) สำหรับสัญญาเช่าห้องขนาดสตูดิโอบนเรือเป็นระยะเวลา 12 ปี ทำให้ปีหนึ่งเขาจะจ่ายค่าเช่าอย่างเดียวปีละ 25,000 ดอลลาร์ หรือเดือนละ 2,083 ดอลลาร์ (68,000 บาท) ซึ่งถูกกว่าราคาค่าเช่าห้องเฉลี่ยที่เมืองบ้านเกิดของเขากว่า 1,000 ดอลลาร์

ทั้งนี้ด้วยความที่นาย Austin Wells เป็นพนักงานของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Meta นั่นทำให้เขามีรายรับที่เพียงพอต่อการใช้ชีวิตบนนั้น และถึงแม้เขาจะโดนไล่ออก ด้วยโปรไฟล์ระดับเขาก็น่าจะทำให้เขาหางานใหม่ได้ไม่ยาก 

แต่ในทางกลับสมมติว่า เขาเป็นนักเทรดคริปโต เขาจะอยู่บนเรือดังกล่าวได้ไหม ซึ่งคำตอบก็คือได้ ! เพราะถ้าเขาสามารถทำงานส่งได้เขาก็สามารถเทรดได้ตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืนบนเรือลำนั้น 

แต่ปัญหาที่เขาจะต้องเผชิญคือในหนึ่งเดือนเขาจะต้องมีรายรับที่คงที่ เพื่อที่จะสามารถนำเงินมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งถ้าหากเขาไม่ฟุ่มเฟือยมากก็สามารถอยู่ได้อย่างสบายเพราะเราต้องอย่าลืมว่าเขาได้จ่ายเงินต้นซึ่งเป็นค่าเช่นล่วงหน้าเป็นที่เรียบร้อย ทำให้ค่าใช้จ่ายต่อเดือนของเขาลดลงไปอย่างมาก จะมีเพียงก็แค่อาหารเพิ่มเติม และความบันเทิงเท่านั้น เพราะส่วนใหญ่ผู้ที่ขึ้นเรือสำราญไปแล้วมักจะมีตั๋วทานอาหารฟรีกันอยู่แล้ว

ดังนั้นถ้านักเทรดคนไหนที่อยากเอาเยี่ยงอย่างเขาก็ตอบได้เลยว่า สามารถทำได้ ขอเพพียงแค่มีเงินต้นจ่ายค่าเช่า และเสียภาษีอย่างถูกต้องขณะที่อาศัยอยู่บนเรือ ก็ไม่น่าที่จะเกิดปัญหาอะไร

อย่างไรก็ตามการใช้ชีวิตอยู่บนเรือสำราญแม้จะมีความสะดวกสบาย แต่มันก็ยังคงมีข้อเสียอยู่ดี ไม่ว่าจะเป็นการที่จะต้องอยู่ในห้องเล็ก ๆ ตลอดเวลา ซึ่งถ้าใครที่อาศัยอยู่ในหอพัก หรือคอนโดอาจจะไม่มีปัญหาเท่าไร แต่ปัญหาที่หนักจริง ๆ ของไลฟ์สไตล์แบบนี้คือการรักษาพยาบาลในกรณีเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ ซึ่งถึงแม้ว่าบนเรือจะมีหน่วยแพทย์ฉุกเฉินรองรับ แต่สุดท้ายคุณก็จำเป็นที่จะต้องถูกส่งตัวมารักษาที่แผ่นดินใหญ่ ในขณะที่เรือนั้นไม่สามารถจอดส่งคุณได้ทำให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลกลางทะเลนั้นสูงเอามาก ๆ