ด้วยความที่ตลาดคริปโตนั้นเป็นตลาดที่ถือกำเนิดขึ้นมาใหม่ได้เพียงไม่กี่ปี ทำให้มีอะไรแปลกใหม่หลายอย่างที่แตกต่างไปจากตลาดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนด้วยการซื้ออุปกรณ์ประมวลผลมาสร้างผลตอบแทน ที่เรียกว่า การขุดคริปโต หรือการระดมทุน ICO ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในตลาดไหนก็ตาม ในปัจจุบัน ยังมีกระแสการสร้างรายได้แบบใหม่เรียกว่า Airdrops อีกด้วย
Airdrops คืออะไร
สำหรับผู้ที่ยังไม่ทราบ Airdrops ในโลกคริปโตนั้นเป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกการแจกจ่ายเหรียญคริปโตฟรี ๆ โดยจะมีจุดประสงค์แตกต่างกันออกไปในแต่ละรอบที่แจก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการโปรโมทโปรเจกต์
หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่า ผู้ที่แจก Airdrops ฟรี ๆ นั้นได้รับอะไรเป็นการตอบแทน โดยส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าการแจก Airdrops นั้น ผู้แจกจะได้รับชื่อเสียงที่กระจายไปยังผู้ใช้ที่ต้องการได้รับของฟรี เหมือนเป็นงบการตลาดส่วนหนึ่งของโปรเจกต์ เช่นเดียวกับธุรกิจต่าง ๆ ที่นำงบของบริษัทไปทำการโฆษณาเพื่อให้ผู้คนรู้จักมากขึ้นนั่นเอง
Airdrops แต่ละรอบนั้นก็จะมีมูลค่าของคริปโตที่จะแจกแตกต่างกันออกไปซึ่งจะมีตั้งแต่ 1 จนถึง 3,000 ดอลลาร์เลยก็มี โดยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 1 ถึง 10 ดอลลาร์ และระยะเวลาก่อนที่จะได้รับนั้นก็จะแตกต่างกันออกไปอีกเช่นกัน ตั้งแต่ไม่กี่วันจนถึงหลายเดือนเลยก็มี
วิธีการรับ Airdrop
สำหรับวิธีการรับ Airdrop นั้น ผู้ที่อยากเข้าร่วมจำเป็นต้องไปทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ผู้แจกได้กำหนดไว้เช่น ไปเข้าร่วมกลุ่ม Telegram, ไปกดติดตามบัญชี Twitter, ไปกรอกข้อมูลในแบบฟอร์ม หรือการถือคริปโตนั้น ๆ ไว้ตามระยะเวลาที่กำหนด
[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]
ยกตัวอย่างเช่น Airdrop ล่าสุดของ ONT อ้างอิงจากรายงาน พวกเขาจะทำการแจกจ่าย ONT ทั้งหมดมูลค่ากว่า 42 ล้านดอลลาร์ กระจายไปยังผู้ที่ครอบครองโทเคน NEO ต้ังแต่วันที่ 1 มีนาคมเป็นต้นไป
ในอดีต ONT เคยทำกิจกรรมแจก Airdrop และในเวลาต่อมา Airdrop เหล่านั้นมีมูลค่านับแสนบาทเลยก็มี
สรุป
Airdrop ถือเป็นทางเลือกที่ดี สำหรับผู้ที่สนใจในการสร้างรายได้จากคริปโตโดยไมจำเป็นต้องนำเงินไปลงทุนก่อน แต่รายได้จาก Airdrop หากไม่ใช่รอบที่โชคดีแบบครั้งของ ONT ก็ไม่มากเท่าการเทรดหรือขุด แต่ก็ไม่น้อยเกินไปเช่นกัน จากประสบการณ์ของผู้เขียน หากทำอย่างต่อเนื่องทุก ๆ วันก็ได้หลักหมื่นถึงพันเช่นกัน แต่จำเป็นต้องคอยสอดส่องหากิจกรรม Airdrop หน้าจอตลอดเวลา ทำให้ผู้ที่ไม่ชอบงานกรอกข้อมูลแบบยิบย่อยอาจล้มเลิกไปซะก่อนก็ได้
ที่มาภาพ DeCenter
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น