<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

เหตุผลที่ CEO ของ Facebook และของ Twitter ให้ความสนใจกับ Blockchain เป็นพิเศษ

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

“หากเราปล่อยให้อุปกรณ์นั้นชี้เรา เหล่านักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ก็จะเป็นผู้ชี้นำเราเสมือนกับเป็นการสร้างสหภาพโซเวียตขึ้นมาใหม่อีกครั้ง”

คำกล่าวดังกล่าวนั้นมาจากนาย Preston McAfee ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ผู้ได้ดำรงตำแหน่งชั้นอาวุโสในองค์กรทางเทคโนโลยียักษ์ใหญ่มาแล้วหลายองค์กรอย่างเช่น Microsoft, Google และ Yahoo โดยเค้าได้อธิบายต่อผู้รับฟังในงานการประชุม SXSW ณ เมืองออสติน รัฐเท็กซัสเมื่อไม่นานนี้ ถึงแนวโน้มของวิศวกรซอฟต์แวร์ที่ค่อนข้างนิยมการควบคุมโดยส่วนกลางในฐานะหลักการออกแบบที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหลาย

เค้ายังได้กล่าวถึงประเด็นที่ต้องการจะสื่อว่า เครือข่ายซึ่งปราศจากการถูกควบคุมโดยส่วนกลางอย่างเช่นเครือข่ายที่อยู่บนฐานของเทคโนโลยี Blockchain นั้นสามารถที่จะสร้างผลลัพธ์ทางสังคมโดยรวมที่เป็นบวกมากกว่า แม้ว่าจะมีปัญหาด้านประสิทธิภาพเนื่องจากสถาปัตยกรรม command-and-control ที่ใช้อยู่ก็ตาม การพิจารณาถึงแนวคิดดังกล่าวและการยกตัวอย่างที่ทำให้เห็นภาพโดย McAfee โดยเชื่อมโยงกับบทบาทของอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันนั้นสามารถที่จะนำไปต่อยอดความคิดต่างๆได้อีกมาก

เป็นครั้งแรกตั้งแต่พวกเค้าได้เริ่มปรากฎตัวในฐานะผู้เหลือรอดจากช่วงเหตุการณ์ฟองสบู่ของบริษัทดอทคอมแตกในสหรัฐอเมริกาเมื่อช่วงเปลี่ยนผ่านของศตวรรษที่ผ่านมา  แพลตฟอร์มดังกล่าวซึ่งครอบงำชีวิตสังคมออนไลน์ของเราในทุกวันนี้นั้นกำลังเผชิญหน้ากับขีดจำกัดทางสังคมจากระบบการถูกควบคุมโดยส่วนกลาง

กระแสการโต้กลับนั้นกำลังเกิดขึ้นต่อ “ระบบทุนนิยมบนการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล”หรือ “surveillance capitalism” รวมทั้งกลยุทธ์ของการเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานสำหรับการคัดเลือกกลุ่มผู้ชมสำหรับโฆษณาต่างๆและการตีกรอบรูปแบบการบริโภค การโต้กลับซึ่งแสดงออกโดยทั้งทางแรงกดดันทางการเมือง และแนวคิดกบฏของเหล่าผู้ใช้งาน อันเป็นการบังคับให้เหล่าบริษัทต่างๆต้องกลับไปคิดทบทวนออกแบบการดำเนินการรูปแบบใหม่อื่นๆแทนรูปแบบที่กล่าวมา

บางทีระบบอินเทอร์เน็ตนั้นอาจกำลังอยู่ในช่วงของการเผชิญหน้ากับกำแพงเบอร์ลินของตัวเองอยู่ก็เป็นได้

สิ่งนี้นั้นน่าจะเป็นเหตุผลของหลักการเบื้องหลังของเทคโนโลยี Blockchain และสกุลเงินคริปโตซึ่งกำลังเป็นที่นิยมสำหรับการนำไปใช้พัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจหรือการสื่อสารทางการตลาดของบริษัทโซเชี่ยลมีเดียทั้งหลาย

ความสนใจต่อระบบซึ่งปราศจากการควบคุมจากส่วนกลาง

ทางบริษัท Facebook นั้นได้มีความสนใจต่อระบบเหล่านี้เป็นพิเศษ

ผู้บริหารของบริษัท Facebook อย่าง Mark Zuckerberg ได้เผยแพร่ข้อความซึ่งกล่าวถึงวิสัยทัศในการมุ่งเป้าไปที่ความเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้นสำหรับกิจกรรมทางโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค ซึ่งเป็นการแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่การยอมรับการเข้ารหัสแบบสองทางของข้อมูลของผู้ใช้ Facebook, Instagram และ WhatsApp

อีกทั้งในวีดิโอบทสัมภาษณ์ของ Zuckerberg กับนาย Jonathan Zittrain ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ซึ่งคาดการณ์ทิศทางการพัฒนาของ Facebook ในการใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการสร้างการเข้าสู่ระบบแบบปราศจากการควบคุมโดยเซิฟเวอร์ส่วนกลางซึ่งทำหน้าที่เสมือนเครื่องตรวจสอบตัวตน ทั้งหมดนี้ถูกเผยแพร่พร้อมกับช่วงเวลาที่ทางสื่ออย่าง New York Times รายงานว่าทาง Facebook นั้นกำลังดำเนินการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถที่จะซื้อขายแลกเปลี่ยนกับเหล่าผู้ใช้ด้วยกันเอง และแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินคริปโตอื่นๆผ่าน Exchange ต่างๆอีกด้วย

ในขณะเดียวกันทางนาย Jack Dorsey ผู้บริหารของบริษัท Twitter ได้ทำตัวเหมือนว่าเค้าเป็นผู้มีศรัทธาเมื่อเวลาที่เค้าพูดถึงสกุลเงินคริปโต  โดยเค้าได้อธิบายว่า Bitcoin นั้นจะเป็น “สกุลเงินแห่งโลกอินเทอร์เน็ต” ทั้งเค้าได้ลงทุนในบริษัท Lightning Labs ซึ่งกำลังดำเนินการพัฒนาระบบช่องทางการชำระเงินหรือ payment channels สำหรับ Bitcoin บนระบบเครือข่าย lightning network รวมถึงการที่เค้าได้ประกาศในเร็วๆนี้ว่าทางบริษัท Square ซึ่งเป็นบริษัทระบบการชำระเงินซึ่งเค้าเป็นประธานจะดำเนินการจ้างวิศวกรคริปโตในอนาคตรวมถึงจะดำเนินการจ่ายเงินพวกเค้าเป็น Bitcoin อีกด้วย

มันเป็นการสมควรที่จะกล่าวว่ามีความกังวลสงสัยเกิดขึ้นอย่างมากว่าบริษัททางโซเชี่ยลมีเดียทั้งหลายซึ่งได้สร้างผลกำไรจากระบบซึ่งอาศัยการควบคุมโดยส่วนกลางในการสะสมข้อมูลของผู้ใช้ จะเปลี่ยนทิศทางการหากำไรของพวกเค้ามาด้านนี้แทน

โดยเฉพาะบริษัท Facebook นั้นได้ตกอยู่ภายใต้การวิพากษ์วิจารณ์จากผู้รู้ทั้งหลายซึ่งต่างได้เห็นต่างว่าบริษัทจะไม่สามารถที่จะเปลี่ยนทิศทางการดำเนินการทางธุรกิจของพวกเค้าได้ โดยยกตัวอย่างกรณีข่าวฉาวในด้านการใช้ข้อมูลของผู้ใช้อย่างในกรณี Cambridge Analytica ใช้งานข้อมูลผู้ใช้ในการวิเคราะห์ตลาดการเมือง ผู้ซึ่งมีความใคร่สงสัยอย่าง David Chaum หนึ่งในผู้บุกเบิกด้านสกุลเงินคริปโตได้มีความเห็นว่า คำกล่าวเกี่ยวกับระบบการดำเนินการโดยปราศจากการควบคุมจากส่วนกลางและเรื่องความเป็นส่วนตัวนั้นเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการทำการตลาดของทางบริษัทเท่านั้น

อย่างไรก็ตามอาจพิจารณาได้ว่าการปลดออกจากตำแหน่งของผู้บริหารอาวุโสบางรายซึ่งเป็นผู้กำกับควบคุมการพัฒนาของระบบการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการควบคุมจากส่วนกลาง และอัลกอริทึ่มซึ่งทำหน้าที่ขุดและกรองข้อมูลเหล่านั้นเพื่อจำแนกกลุ่มลูกค้าให้กับการโฆษณาของแต่ละบริษัท เป็นการแสดงให้เห็นถึงความจริงจังของ Zuckerberg ก็เป็นได้

ลมแห่งการเปลี่ยนแปลง

สิ่งหนึ่งที่เป็นที่ชัดเจนคือการมาถึงของแรงกดดันเพื่อความเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะมาในรูปแบบที่เห็นเป็นประจักษ์ได้หรือจะมาในเพียงรูปของข้อความเล็กๆน้อยๆก็ตาม

กรณีเป็นเหมือนเวลาที่เหล่าผู้คนต่างถึงจุดแตกหักและได้ก่อกบฏต่อผู้นำทางการเมืองซึ่งดำเนินการเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าที่จะคำนึงถึงประดยชน์ของประชาชน โดยผู้ใช้งานแพลตฟอร์มโซเชี่ยลมีเดียทั้งหลายต่างเริ่มที่จะส่งสัญญาณแล้วว่าพวกเค้าจะไม่ยอมทนต่อการหาประโยชน์จากข้อมูลของพวกเค้า

เป็นที่ชัดเจนว่าเมื่อไม่มีเหล่าผู้ใช้งาน ธุรกิจเหล่านี้ก็ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ ดังนั้นเหล่าบริษัททั้งหลายจึงเริ่มที่จะพิจารณาเปลี่ยนแปลงแผนธุรกิจไปในทิศทางที่หากจะกล่าวตามคำพูดของ Bruce Schneier แล้ว จะได้ใจความพิจารณาว่า ‘ผู้ใช้งานนั้นไม่ใช้สินค้าอีกต่อไป แต่เป็นลูกค้า’

มันเป็นคำถามปลายเปิดที่ว่าเหล่าบริษัทพวกนี้นั้นจะสามารถที่จะสร้างผลกำไรจากแผนธุรกิจบนระบบที่ Nodes ในเครือข่ายนั้นปราศจากการควบคุมจากส่วนกลางได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามเราควรกลับไปมองการยกตัวอย่างซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจาก McAfee และพิจารณาว่าทางฝ่ายรัฐบาลในสถานการณ์เศรษฐกิจแบบทุนนิยมจะเพิ่มอำนาจและอิทธิพลอย่างไร เมื่อเหล่าประชาชนนั้นมีขีดความสามารถในการติดต่อกันมากขึ้น และในทางเดียวกันเราคงจินตนาการได้ว่าบริษัท Facebook หรือบริษัท Twitter นั้นจะดำเนินการช่วยเหลือเหล่าผู้ใช้ในการดำเนินการแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคลหรือ P2P exchange  โดยพยายามหาผลกำไรจากการขยายตัวของเครือข่ายดังกล่าวไปพร้อมๆกันได้อย่างไร

ไม่ว่าในทางใดก็ตาม ทิศทางของลมแห่งการเปลี่ยนแปลงนั้นได้มาสู่ระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งถูกควบคุมโดยส่วนกลางแล้ว การที่บริษัทเจ้าตลาดเหล่านี้จะรอดพ้นการเปลี่ยนแปลงไปได้หรือจะต้องจบลงเช่นเดียวกับบริษัท Myspace นั้นยังไม่อาจบอกได้แน่ชัด สิ่งที่สำคัญมากกว่าในตอนนี้คือการพิจารณาว่าจะเกิดอะไรขึ้นแทนระบบแบบเดิมๆ และการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคใหม่นั้นจะนุ่มนวลเพียงใด

สิ่งเหล่านี้เป็นคำถามสำหรับเหล่านักพัฒนาของระบบซึ่งปราศจากถูกควบคุมโดยส่วนกลางอย่างเช่นระบบบนฐานของเทคโนโลยี Blockchain ว่ารูปแบบการบริหารควบคุมจะเป็นอย่างไร เพื่อตอบสนองต่อการที่ผู้ใช้จะสามารถรักษาอิสระภาพในตัวเองไว้ได้ในระดับที่พอควรในช่วงเวลาที่กลุ่มอิทธิพลใหม่ซึ่งมีรากฐานจากระบบการควบคุมโดยส่วนกลางปรากฎตัวขึ้นเพื่อหากำไรจากระบบใหม่นี้

อย่างไรก็ตาม จำไว้ว่าหลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายแล้ว สิ่งที่ตามมาจะไม่ใช่สังคมในอุดมคติอย่างแน่นอน

ที่มา : coindesk

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น