การคาดการณ์ราคาและการเก็งกำไรนั้น ดูเหมือนว่าจะเป็นหัวใจสำคัญของเหรียญคริปโต ซึ่งการคาดการณ์เกี่ยวกับราคานั้นปรากฎให้เห็นได้ทั่วไปจากเหรียญคริปโตส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามการที่เหรียญคริปโตจำนวนหนึ่งที่ยังสามารถยืดหยัดอยู่ในตลาดจนกระทั่งในปัจจุบันได้นั้น มีที่มาจากการคาดการณ์ถึงการใช้งานและศักยภาพที่เหรียญเหล่านี้มีอยู่ในตัวเองทั้งสิ้น
มันเป็นสิ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเพราะคุณสมบัติของการเป็นสินทรัพย์ที่มูลค่านั้นเปลี่ยนแปลงเกี่ยวข้องกับการคาดการณ์ทางราคาในตลาดนั้น ทำให้ราคาของเหรียญเหล่านี้มีความผันผวนอย่างมาก ประกอบกับอุปสรรคต่างๆ เช่น การพิ่มขึ้นของเหรียญที่สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นหลอกลวงนักลงทุน การที่เทคโนโลยี Blockchain หรือ Contract รูปแบบใหม่ๆ นั้นถูกตั้งความคาดหวังไว้เกินจริง รวมทั้งความไม่แน่นอนจากทางฝั่งตลาดการเงินซึ่งยังคงคลุมเครือว่าจะดำเนินการเกี่ยวกับคริปโตไปในทิศทางไหน ทั้งหมดนี้เองที่เป็นเหตุผลเบื้องหลังของการขึ้นลงของราคาในตลาดคริปโตนั่นเอง
ในขณะที่ปี 2020 นี้อาจไม่ได้ทำให้ตลาดคริปโตนั้นเป็นที่สบายใจแก่นักลงทุนเพิ่มขึ้นได้ก็ตาม แต่ปีนี้ก็เป็นปีที่เหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงๆ สำคัญหลายอย่างจะเกิดขึ้นในวงการคริปโต ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเข้ามาช่วยให้สินทรัพย์รูปแบบใหม่นี้เข้าที่เข้าทางมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการปูทางที่ชัดเจนขึ้นว่าทางวงการการเงินนั้นจะมีการนำสินทรัพย์เหล่านี้ไปใช้งานในรูปแบบใดในอนาคต
ดังนั้นบทความนี้จึงได้ทำการรวบรวมเหตุการณ์สำคัญและเทรนด์ที่เกี่ยวข้องในวงการคริปโตทั้งหมด 5 เหตุการณ์ซึ่งจะเข้ามาสร้างความชัดเจนให้กับวงการสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้นในปี 2020 นี้ โดยได้ทำการอ้างอิงจากการพูดคุยกับนาย Alex Lindenmeyer ซึ่งเป็นทั้งอดีตผู้เชี่ยวชาญในวงการ และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทด้านการติดตามเหรียญคริปโตและซอฟต์แวร์ทางด้านภาษีอย่าง Accointing
การ Halving
หนึ่งในเหตุการที่จะมาถึงอย่างแน่นอนในปี 2020 นี้คือการ Halving หรือการปรับลดระดับรางวัลการขุดของเหรียญ Bitcoin ในช่วงเดือนพฤษภาคมนั่นเอง โดยการปรับลดดังกล่าวนั้นจะเกิดขึ้นกับผู้ที่สามารถขุดบล็อกได้สำเร็จโดยรางวัลที่ได้นั้นจะถูกลดลงครึ่งหนึ่งจากเดิมที่ 12.5 BTC ไปสู่ 6.25 BTC
แม้ว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะดูเหมือนว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ แต่การ Havling นั้นก็ได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้แล้วกว่า 2 ครั้งซึ่งแต่ละครั้งต่างส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาทั้งสิ้น โดยครั้งแรกในช่วงปี 2012 นั้นราคา Bitcoin ได้เพิ่มขึ้นจาก 10 ดอลลาร์ไปที่ราคา 100 ดอลลาร์ และในครั้งที่สองในช่วงปี 2016 นั้นเหรียญดังกล่าวได้มีราคาเพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าจากเดิมที่ระดับ 400 ดอลลาร์ในช่วงสิ้นปีอีกด้วย
ทั้งนี้ในภาพรวมแล้วผลของการ Halving นั้นคือการที่เหรียญดังกล่าวนั้นจะหายากมากขึ้นจากการที่ปริมาณเหรียญไหลเข้าสู่ตลาดนั้นลดลง ซึ่งเหล่านักลงทุนต่างมีความคาดหวังว่าการที่ปริมาณอุปสงค์ของเหรียญในตลาดที่ลดลงนั้นจะผลักให้ราคานั้นเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ต้องทำความเข้าใจว่าการที่ราคานั้นจะเพิ่มขึ้นได้จะต้องอาศัยปัจจัยทั้งทางฝั่งอุปสงค์ของเหรียญและอุปทานจากแรงซื้อในตลาดด้วย
นอกจากนี้แล้วเมื่อการขุดเหรียญ Bitcoin นั้นให้ผลตอบแทนที่น้อยลง อาจส่งผลกระทบให้ปริมาณของเหล่านักขุดที่เข้าแข่งขันกันในตลาดนั้นลดลง ทั้งยังส่งผลต่อเนื่องให้อัตราการขุดหรือ Hash rate นั้นลดลงไปตามๆ กันอีกด้วย
ทางนาย Alex ก็ได้กล่าวถึงกรณีดังกล่าวไว้บางส่วนดังนี้
“ในตลาดนั้นปรากฎทั้งความคิดเห็นที่สนับสนุนและต่อต้านแนวความคิดที่ว่าราคาของเหรียญจะเพิ่มขึ้นเพราะเหตุดังกล่าว โดยแนวความเห็นต่อต้านหลักๆ นั้นมีที่มาจากการที่เหล่าผู้คนในตลาดส่วนใหญ่ได้คาดหวังว่าราคาจะเพิ่มขึ้นนั่นเอง ซึ่งสิ่งที่ตัวผมนั่นแน่ใจว่ามันจะเกิดขึ้นแน่ๆ คือการผันผวนอย่างมากของราคาจากการคาดหวังดังกล่าว”
ในความเป็นจริงแล้วการ Halving ของเหรียญ Bitcoin นั้นเป็นกลไกการปรับสมดุลของปริมาณเหรียญในตลาดจนกระทั่งเข้าสู่จุดที่เหรียญนั้นไม่สามารถถูกขุดเพิ่มขึ้นได้อีกแล้ว ซึ่งหลังจากนั้นอาจส่งผลให้ Bitcoin นั้นหายากมากกว่าทองคำเสียอีก เว้นแต่ว่าผู้สร้างเหรียญอย่าง Satoshi Nakamoto นั้นจะแก้ไขโค้ดให้สามารถขุดเหรียญเพิ่มเติมเพื่อรักษาระดับราคาของเหรียญไว้ หรือในอีกทางหนึ่งนั้นเหรียญดังกล่าวอาจมีมูลค่าลดลงต่ำกว่าเหรียญอย่าง Bitcoin Cash ซึ่งถูก Folk แยกออกจาก Bitcoin ในช่วงปี 2017 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวก็เป็นได้ ซึ่งในที่สุดแล้วเราต้องคอยดูกันต่อไปอีกว่าแค่อัตราความหายากของเหรียญนั้นจะเป็นสิ่งเดียวที่ตัดสินมูลค่าของเหรียญดังกล่าวหรือไม่
เหรียญ Libra
ในอีกฝั่งของวงการคริปโตนั้นคือเหรียญ Stablecoin ซึ่งได้รับการประกาศริเริ่มโครงการจากบริษัท Facebook ในช่วงต้นปี 2019 ที่ผ่านมา โดยเหรียญดังกล่าวนั้นจะยังไม่มีการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการจนกว่าทางโครงการจะสามารถจัดการกับอุปสรรคทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องไปได้
อีกทั้งการดำเนินการของโครงการดังกล่าวก็ยังไม่เป็นที่แน่นอนแต่อย่างใด โดยเหรียญ Stablecoins ดังกล่าวนั้นได้มีกองทุนสำรองซึ่งมีบริษัทชื่อดังกลายรายได้ให้การสนับสนุนและเข้าร่วมเป็นสมาชิกของโครงการ อย่างเช่น Uber, Vodafone, Coinbase หรือแม้แต่ครอบครัวมหาเศรษฐีอย่าง Kushner แต่เหตุการณ์ก็ดูเหมือนจะแย่ลงเนื่องจากสมาชิกสำคัญๆ อย่าง Mastercard, eBay และ Paypal Holdings นั้นได้ทำการถอนตัวออกจากโครงการดังกล่าวนั่นเอง
อย่างไรก็ตามหากโครงการดังกล่าวนั้นประสบความสำเร็จ ทาง Libra นั้นจะกอบโกยฐานลูกค้ากว่า 170 ล้านคนจากแค่ในประเทศสหรัฐฯ เพียงประเทศเดียว ซึ่งเป็นผลมาจากทางบริษัทโซเชี่ยลมีเดียอย่าง Facebook ซึ่งเป็นสมาชิกโครงการดังกล่าวรวมถึงยังเป็นผู้ให้บริการ Calibra Wallet แก่เหรียญดังกล่าวอีกด้วย ทั้งยังจะส่งผลให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มของทาง Facebook ซึ่งยังไม่เคยใช้งานสกุลเงินคริปโตมาก่อนนั้น ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของพวกเขาด้วย Libra นั่นเอง
ทางฝั่งนาย Alex นั้นได้มองว่าปัญหาหลักของการดำเนินการดังกล่าวคือความพยายามที่จะผลักดันให้สกุลเงินคริปโตนั้นเป็นที่รับรองอย่างเป็นสากล โดยตัวเขาได้กล่าวไว้บางส่วนว่า
“เหรียญ Stablecoins นั้นเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อวงการคริปโตอย่างมาก สำหรับการใช้งานในวงกว้างแล้ว คุณสมบัติที่สำคัญคือการที่เหรียญนั้นๆ สามารถที่จะเป็นทั้งสิ่งทรงมูลค่าในตัวเองและเป็นสกุลเงินที่มีมูลค่านั้นมีความเสถียรมากพอที่จะใช้ในชีวิตประจำวัน นอกจากนี้แล้ว Libra นั้นจะเข้ามาสร้างความเข้าใจให้กับผู้คนว่าสกุลเงินนั้นไม่จำเป็นที่จะต้องเกิดจากประเทศหรือรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งการพูดถึงเหรียญ Libraในปีที่ผ่านมาเพียงอย่างเดียวก็ได้ทำให้ผู้คนรู้จักสกุลเงินคริปโตมากขึ้นแล้ว”
ท้ายที่สุดแล้วมันก็ขึ้นอยู่กับว่า Libra นั้นจะได้รับการยอมรับใช้งานมากน้อยแค่ไหน รวมถึงว่าทางโครงการดังกล่าวจะสามารถก้าวข้ามผ่านอุปสรรคทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้หรือไม่อีกด้วย ซึ่งหากผลลัพธ์ออกมาในแง่ดีนั้นอาจเปิดทางให้เหล่าสกุลเงินคริปโตนั้นกลายเป็นที่ยอมรับในวงกว้าง ทั้งยังเป็นต้นแบบให้กับบริษัทอื่นๆ อีกด้วยนั่นเอง
การมีส่วนร่วมในตลาดของฝั่งรัฐบาล
ในช่วงปี 2019 ที่ผ่านมานั้นได้ปรากฎว่าทางฝั่งรัฐบาลได้มีความตื่นตัวต่อการพัฒนาของสกุลเงินคริปโตต่างๆ รวมถึงการพัฒนาทางเทคโนโลยีต่างๆ จากการที่ถูกมองว่าเป็นแค่เครื่องมือบางสำหรับการดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ไปสู่การเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแกนกลางที่มีความสำคัญในสังคมแล้วนั่นเอง
ล่าสุดนั้นทางกระทรวงการคลังของประเทศสหรัฐฯ นั้นได้ออกมาเปิดเผยว่าทางธนาคารกลางของประเทศนั้นกำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการหารือถึงความเป็นไปได้ที่จะสร้างสกุลเงินดิจิทัลสำหรับสกุลเงินดอลลาร์ อีกทั้งทางหน่วยงานจัดเก็บภาษีอากรของสหรัฐฯ หรือ IRS นั้นยังได้ดำเนินการออกแนวปฏิบัติสำหรับการรายงานธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินคริปโตสำหรับการยื่นเสียภาษีในช่วงปีที่จะถึงนี้อีกด้วย
โดยเฉพาะหลังจากที่ทางบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างได้กระโดดเข้ามาดำเนินการเกี่ยวข้องกับตลาดคริปโตก็ได้ทำให้ทางฝั่งรัฐบาลนั้นให้ความสนใจกับเหล่าสกุลเงินคริปโตมากขึ้นอีกนั่นเอง โดยทางฝั่งนาย Alex นั้นได้แสดงความเห็นถึงกรณีดังกล่าวบางส่วนไว้ดังนี้
“ถ้าหากเรามองแค่เพียงเนื้อหาของกฎหมายเกี่ยวข้องกับภาษีอากรแล้วจะเห็นได้ชัดเจนว่าทางรัฐบาลนั้นไม่ได้แสดงท่าทีต่อต้านสกุลเงินคริปโตมากขนาดนั้น… พวกเขาได้แสดงถึงแนวคิดที่ก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะบางประเทศเช่น สิงคโปร์ สวิสเซอร์แลนด์ และโปรตุเกสซึ่งได้มีการดำเนินการนำหน้าไปก่อนแล้ว”
“แนวนโยบาบของพวกเขานั้นยังไม่ชัดเจน แต่พวกเขาก็ยังคงต่องการที่จะให้เราจ่ายภาษีอยู่นั่นเอง ซึ่งตัวผมนั้นหวังว่าทางรัฐบาลจะออกแนวปฏิบัติที่มีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงปีนี้ โดยเฉพาะสำหรับการดำเนินการ Airdrops และการ Staking”
อย่างไรก็ตามแม้ว่าแนวนโยบายส่วนใหญ่นั้นจะให้การสนับสนุนวงการคริปโตอยู่ แต่การดำเนินการทดสอบทางด้านกฎหมายที่เกิดขึ้นนี้อาจเป็นเสมือนดาบสองคมให้แก่ตลาดคริปโตก็เป็นได้ โดยในด้านหนึ่งซึ่งได้ถูกยกตัวอย่างไว้อย่างต้นถึงกฎหมายที่ผลักดันให้ตลาดคริปโตนั้นเติบโตและโปร่งใสมากขึ้น แต่ในอีกด้านอย่างการออกกฎเกณฑ์ที่รัดกุมอย่างมากนั้นอาจส่งผลร้ายต่อสินทรัพย์ในรูปแบบนี้ต่อไปได้
การเก็งกำไรภายในตลาด
แม้ว่าจะเกิดเหตุการณ์การปรับตัวลงของตลาดอย่างมากในช่วงปี 2018 ซึ่งราคา Bitcoin นั้นร่วงลงพร้อมๆ กับเหรียญคริปโตอื่นๆ จำนวนของเหรียญคริปโตนั้นกลับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตลอดปี 2019 โดยพุ่งขึ้นสูงถึงกว่า 2,300 เหรียญจากการอ้างอิงข้อมูลของ CoinMarketCap
นอกจากนี้แล้วมีปริมาณเหรียญน้อยกว่าหนึ่งในสามของเหรียญทั้งหมดในตลาดเท่านั้นที่มีปริมาณการซื้อขายต่อวันมากกว่า 1 แสนดอลลาร์ อีกทั้งเหรียญอีกมากกว่าหนึ่งในสามของตลาดนั้นยังมีมูลค่าต่อเหรียญไม่ถึงหนึ่งในสิบของ 1 เซ็น (ไม่ถึงหนึ่งบาท) ด้วยซ้ำ ดังนั้นแล้วจึงเห็นได้ว่ามีปริมาณเหรียญคริปโตจำนวนมากอยู่ในตลาด แต่ปริมาณการซื้อขายโดยรวมในตลาดนั้นกลับซบเซาตลอดปี 2019
แม้ว่าจะยังมีความเป็นไปได้ที่ความสนใจในวงการคริปโตจากทางฝั่งการเงินนั้นจะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีปริมาณการซื้อขายโดยรวมในตลาดที่เพิ่มขึ้นนั้น อาจไม่ส่งผลลงไปถึงสกุลเงินคริปโตรายย่อยอื่นๆ นั่นเอง นอกจากนี้แล้วด้วยสถานการณ์ที่ฝั่งรัฐบาลเข้ากำกับตรวจสอบตลาดคริปโตมากขึ้น ตามมาด้วยภาระทางด้านการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และความโปร่งใสที่มากขึ้นในตลาดนั้นอาจทำให้นักลงทุนรายใหญ่ๆ ที่ต้องการจะหากำไรง่ายๆ นั้นต้องถอนตัวออกจากตลาดไปอีกด้วย ดังนั้นแล้วดูเหมือนว่าตลาดคริปโตนั้นจะถึงจุดอิ่มตัวแล้ว โดยไม่น่าที่จะมีการเพิ่มขึ้นของปริมาณเหรียญใหม่ๆ อีกในปี 2020 นี้
การผสมผสานระหว่างสกุลเงินคริปโตและเทคโนโลยีทางการเงิน
สกุลเงินคริปโตนั้นกำลังเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ และได้เริ่มปรากฏว่ามันเป็นตัวเลือกในการนำสินทรัพย์เหล่านี้ไปใช้งานจริงมากขึ้นเรื่อยๆ กรณีดังกล่าวนั้นได้ถูกเกริ่นไว้โดยโครงการอย่าง Libra ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่คำถามที่ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้คนเข้าใจว่าสกุลเงินคริปโตนั้นจะมีมูลค่าและความสำคัญเพิ่มขึ้นในอนาคต แต่เป็นการดำเนินการให้เกิดขึ้นในปัจจุบันได้นั่นเอง
คำถามมากมายนั้นได้เกิดขึ้นในตลาด ตั้งแต่คำถามถึงการดำเนินธุรกรรมระหว่าง Ledger หลายๆ ราย ไปจนกระทั่งคำถามเกี่ยวกับการกำกับควมคุมธุรกรรมต่างๆ โดยส่วนหนึ่งอาจมีที่มาจากการที่การดำเนินการภายในวงการนั้นกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มองค์กรใดองค์กรหนึ่ง หรือแม้กระทั่งปัญหาทางด้านการดำเนินการทางเทคนิคระหว่าง Wallet และ Ledger ต่างๆ อีกด้วย
การที่จะตอบปัญหาเหล่านี้ได้นั้นขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้ลงมือทำและแก้ไขปัญหาก่อน ซึ่งในปัจจุบันนั้นเหล่าบริษัทเทคโนโลยีทางการเงินนั้นต่างเป็นกลุ่มซึ่งกระตือรือร้นที่จะดำเนินการดังกล่าว
ทางฝั่งนาย Alex ได้กล่าวอธิบายถึงการก่อตั้งบริษัท Accointing ของเขาไว้ดังนี้
“จริงๆ แล้วคำตอบนั้นง่ายมากๆ คือในขณะนี้ในตลาดนั้นยังมีความต้องการที่จะดำเนินการดังกล่าวอยู่ แต่กลับไม่มีเครื่องมือใดๆ ในตลาดที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้ ในระบบเครือข่ายคริปโตนั้นยังต้องการระบบซึ่งเหล่านักลงทุนสามารถพึ่งพิงได้ เช่น การรวบรวมการดำเนินการติดตาม บริหารจัดการ และการยื่นภาษีไว้ในบริการเดียว”
ความสำคัญของนวัตกรรมนั้นต่างเป็นเทรนด์ที่เป็นที่ยอมรับเป็นประจักษ์ในแวดวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตลาดคริปโต อย่างที่เห็นจากโครงการของ Libra ซึ่งได้รวมรวมเหล่าบริษัทเทคโนโลยีทางการเงินหลายรายเข้าเป็นสมาชิก นอกจากนี้แล้วบริษัทด้านเทคโนโลยีทางการเงินอย่าง Plaid and Chime นั้นยังผ่านการประเมินมูลค่าการลงทุนจากบริษัทการเงินยักษ์ใหญ่อย่างเช่น Visa และ Goldman Sachs ซึ่งได้ให้ความสนใจในสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นพิเศษ แต่ยังคงไม่มั่นใจในความไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องอยู่
ดังนั้นแล้วในช่วงปี 2020 นี้เองที่จะเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของวงการคริปโต โดยเป็นช่วงเวลาของการตัดสินใจว่าสกุลเงินคริปโตหรือโครงการไหนจะยังคงอยู่และเติบโตในตลาด หรือจะหมดมูลค่าและล้มหายไปจากตลาดตลอดกาลนั่นเอง
ที่มา : CFO
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น