เมื่อสองปีที่แล้ว ค่าธรรมเนียมโดยเฉลี่ยของ Bitcoin นั้นต่ำว่า 0.01 ดอลลาร์ แต่ทว่ามาในวันนี้มันได้พุ่งขึ้นมาเกือบ 6 ดอลลาร์แล้ว
โดยสาเหตุหลักๆนั้น อย่างแรกมาจากราคาของ Bitcoin ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ที่ดันให้ค่าธรรมเนียมต่อธุรกรรมสูงขึ้นมาด้วย อีกทั้งยังมีดีมานด์ความต้องการและผู้ใช้งานที่สูงมากขึ้น ก็ทำให้มีธุรกรรมที่มากขึ้น และนักขุดทั้งหลายก็ต้องการที่จะสร้างรายได้และขยายผลประโยชน์ให้มากที่สุด พวกเขาจึงได้กำหนดให้ใครก็ตามที่จ่ายค่าธรรมเนียมสูงที่สุด คนนั้นก็จะได้รับการ confirm ก่อน
แต่ทว่ามันก็ยังเป็นเรื่องยากที่จะกำหนดค่าธรรมเนียมที่เหมาะสม เนื่องจากว่าเครือข่าย Bitcoin นั้นให้ผู้ใช้งานเลือกว่าจะจ่ายเท่าไรก็ได้ตามใจชอบ (หรือจะไม่จ่ายเลยก็ได้)
บางครั้งผู้ใช้งานจ่ายค่าธรรมเนียมน้อยเกินไป ทำให้ธุรกรรมของพวกเขาถูกนำไปดองไว้ใน mempool (หน่วยความจำสำหรับเก็บธุรกรรมที่ยังไม่ได้ถูก confirm) ในขณะที่บางคนยอมจ่ายค่าธรรมเนียมที่แพงเกินกว่าขั้นต่ำเพื่อที่จะให้ธุรกรรมของตัวเองถูก confirm อย่างรวดเร็ว ก่อนหน้านี้เว็บ Coinbase สูญเสียเงินไปแล้วราวๆหลายพันดอลลาร์เมื่อพวกเขาจ่ายค่าธรรมเนียมที่มากกว่าปกติถึง 100 เท่า
ในขณะที่ผู้ให้บริการกระเป๋าหลายๆเจ้าตัดปัญหานี้โดยการไม่อนุญาตให้ผู้ใช้งานเลือกค่าธรรมเนียมที่จะจ่ายได้ เพราะเชื่อว่าถ้าหากไม่มีการจ่ายค่าธรรมเนียมเกิดขึ้นเลยนั้น ธุรกรรมของผู้ใช้งานอาจจะต้องรอเป็นเดือนๆกว่าจะถูก confirm ซึ่งเป็นเรื่องที่คงจะไม่ดีต่อผู้ใช้งานมือใหม่แน่
ทว่าบางระบบในปัจจุบันนั้นสามารถที่จะอนุญาตให้ผู้ใช้งานเลือกค่าธรรมเนียมได้เอง แถมยังมีระบบช่วยคำนวณที่จะบอกว่าควรจะจ่ายขนาดไหน Bitcoin ของเขาถึงจะไปถึงที่หมายได้เร็วที่สุดอีกด้วย
นาย Alex Morcos หรือหนึ่งในนักพัฒนาของ Bitcoin Core และผู้ก่อตั้งร่วมของ Chaincode ได้ใช้เวลาถึงสามปีในการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องมือช่วยคำนวณค่าธรรมเนียมดังกล่าวนี้บนกระเป๋า Bitcoin Core
ในซอฟต์แวร์อัพเดตของ Bitcoin Core เวอร์ชันใหม่ที่จะถึงนี้ ซึ่งก็คือเวอร์ชัน 0.15.0 นี้จะมีการอัพเกรดทางด้านค่าธรรมเนียมที่จะให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงระบบควบคุมและจัดการด้านค่าธรรมเนียมที่ดีขึ้น
การปรับแต่งแบบออโต้
อัลกอริทึมที่ช่วยในการคำนวณค่าธรรมเนียมนั้นมีปัจจัยหลายๆด้านที่ผู้ใช้งานควรจะคำนึงถึง
อย่างแรกคือ มันจะมี ‘วังวน’ ของธุรกรรมของมันอยู่ ซึ่งวังวนที่ว่านี้คือในช่วงวันธรรมดานั้น การทำธุรกรรม Bitcoin จะสูงมากในช่วงวันธรรมดา และจะต่ำมากในช่วงกลางดึกของวันหยุด กระนั้นมันก็อาจจะไม่ต่ายตัวแบบ 100% เสมอไป บางครั้งในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนก็อาจจะส่งผลให้การทำธุรกรรมนั้นล่าช้าได้เหมือนกัน
แม้ว่าการสร้างอัลกอริทึมที่อ้างอิงจากปัจจัยนี้อาจจะฟังดูขึ้น แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือวังวันดังกล่าวนี้จะไม่ได้คงอยู่แบบนี้ตลอดไป เพราะมันมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงได้อีกในอนาคต
[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]
ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงวันหยุดตอนกลางคืน อัลกอริทึมนั้นได้ถูกป้อนคำสั่งว่าธุรกรรมที่มีค่าธรรมเนียมน้อยๆสามารถที่จะถูกคอนเฟิร์มได้ไวกว่า แต่ทันใดนั้นเอง อยู่ก็มีการ broadcast ธุรกรรมเป็นจำนวนมากจากเครือข่ายมาเป็นเวลาเดียวกัน ส่งผลให้เกิดการคอขวด ซึ่งถ้าเกิดผู้ใช้งานเชื่อตามที่อัลกอริทึมแนะนำและทำธุรกรรมในช่วงนั้นด้วยค่าธรรมเนียมที่ต่ำ ก็จะส่งผลให้ธุรกรรมนั้นมีความล่าช้า
ซึ่งนาย Morcos นั้นก็กำลังพยายามตรวจสอบ และแก้ปัญหาในจุดๆนี้อยู่
ผู้ใช้งานบางคนอาจจะมีวิธีในการจัดการกับปัญหานี้ที่แตกต่างกันไป บางคนอาจจะยอมรับความล่าช้าที่เกิดขึ้นนี้ได้ ทว่าบางคนก็อาจจะไม่
แอพกระเป๋า Bitcoin Core ตัวล่าสุดที่นาย Morcos ช่วยพัฒนานั้น จะมีฟังก์ชันด้านการจ่ายค่าธรรมเนียมอยู่สองตัว คือ ‘conservative’ และ ‘economical’
สำหรับแบบ conservative นั้นอัลกอริทึมจะทำการตรวจสอบค่าธรรมเนียมบน time scale ที่นานกว่า ซึ่งจะทำให้มัน ‘ถูกผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการทำธุรกรรมที่น้อยกว่า” โดยโน๊ตกำกับเวอร์ชันนั้นได้เขียนว่าอาจจะทำให้ธุรกรรมนั้นถูกส่งไปได้ถึงเร็วกว่า แต่ก็อาจจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมมากกว่าปกติ
ในขณะเดียวกันสำหรับโหมด economical นั้น ตัวอัลกอริทึ่มจะทำการตรวจสอบค่าธรรมเนียมของบล็อกที่ผ่านๆมาไม่กี่บล็อก ซึ่งนั่นจะทำให้มีค่าธรรมเนียมที่ต่ำกว่า แต่ข้อเสียก็คือ ถ้าหากอัลกอริทึ่มคำนวณพลาด ก็จะทำให้ธุรกรรมนั้นติดค้างอยู่ และส่งไปช้าหนักกว่าเดิม
ปัญหาด้าน Ecosystem
ผู้ใช้งานบางคนอาจจะชอบการพัฒนาตัวเวอร์ชันล่าสุดของแอพ Bitcoin Core ที่ว่านี้ ซึ่งหลายๆคนเคยออกมาเถียงว่ามันเป็นวิธีการเก็บ Bitcoin แบบดั้งเดิมที่มีความปลอดภัยมากที่สุดแล้วเนื่องจากว่าคุณเป็นผู้ถือ full node แต่ข้อเสียที่ตามมาอย่างมหาศาลคือ การถือ full node นั้นจะกินเนื้อที่บนดิสก์เก็บข้อมูลบนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานอย่างมหาศาล เพราะมันจะเก็บประวัติการทำธุรกรรมตั้งแต่อดีตยันปัจจุบัน (มากกว่า 100GB) บางครั้งมันอาจจะใช้เวลาเป็นสัปดาห์กว่าจะดาวน์โหลดทั้งหมดเสร็จ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ ‘แฟนพันธุ์แท้ Bitcoin’ ตัวจริงเท่านั้นถึงจะใช้มัน
กระนั้น บางคนก็รู้สึกโล่งอกที่มีผู้ให้บริการกระเป๋าหลายๆเจ้าในปัจจุบันที่ทำระบบช่วยคำนวณค่าธรรมเนียมของพวกเขาออกมาแล้ว
ซึ่งหนึ่งในกระเป๋าแบบออนไลน์ที่ได้รับความนิยมที่สุดก็คือ Blockchain.info ที่มีระบบช่วยแนะนำจำนวนค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ใช้งาน ซึ่งถ้าเกิดว่าผู้ใช้งานใส่ค่าธรรมเนียมที่ต่ำหรือสูงเกินไป ระบบก็จะช่วยแจ้งเตือน
หรืออีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆก็คือกระเป๋าแบบ hardware ของ Ledger ที่มีตัวเลือกการจ่ายค่าธรรมเนียมทั้งหมดสามแบบด้วยกัน โดยระบบดังกล่าวจะอ้างอิงจากตัวเลขของบล็อกที่ผู้ใช้งานต้องการจะโอน Bitcoin ของพวกเขาเข้าไป ยกตัวอย่างเช่น ‘High fees’ จะถูกใช้เพื่อการทำธุรกรรมอย่างรวดเร็ว โดยธุรกรรมนั้นจะถูก confirm ทันทีในบล็อกต่อไป, ‘standard fees’ ธุรกรรมจะถูกคอนเฟิร์มในอีกสามบล็อก และ ‘low fees’ ธุรกรรมจะถูกคอนเฟิร์มในอีกราวๆ 6 บล็อก
[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]
คำถามที่ตามมาก็คือ พวกเขาใช้อัลกอริทึ่มอะไรในการช่วยจัดการเรื่องพวกนี้
“มันเป็นเรื่องยากที่จะอธิบาย ว่าอันไหนคือ ‘ดีที่สุด’ จากมุมมองด้านวิทยาศาสตร์โดยไม่มีการทำการทดสอบก่อน”กล่าวโดยวิศวกรซอฟต์แวร์ ณ BitGo นาม Jameson Lopp โดยเขายังอธิบายเพิ่มว่าแม้แต่ทาง Mycelium และ BitPay ที่อ้างอิงกราฟข้อมูลจาก Bitcoin นามว่า p2sh.info บางครั้งก็ยังมีการคาดคะเนค่าธรรมเนียมพลาดไปบ้าง และของ Blockchain.info ก่อนหน้านี้ก็ทำได้แย่เหมือนกัน จนกระทั่งพวกเขาปรับปรุงในช่วงเดือนกว่าๆที่แล้ว
ในมุมมองของนาย Moscos นั้น อาจกล่าวได้ว่ามันเป็นเรื่องดีที่ผู้ให้บริการกระเป๋าแต่ละกระเป๋าจะสร้างอัลกรอริทึ่มของตัวเองมาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานด้านการคำนวณค่าธรรมเนียมของ Bitcoin โดยนำเอาเป้าหมายทางธุรกิจของพวกเขาเข้าไปผสมด้วย
เขาเถียงว่าถ้าหากทาง Bitcoin Core ทำการปรับอัลกอริทึ่มให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน Bitcoin ในทุกๆกลุ่มมากเกินไปนั้น ก็อาจจะทำให้ข้อมูลในบางครั้งคลาดเคลื่อนได้
“เราไม่รู้เลยว่าพวกเขาจะเน้นเรื่องราคาที่จะมาก่อน หรืออยากจะจ่ายแค่ครึ่งหนึ่งของมัน และยอมรอนานๆได้”
นอกเหนือจากการคำนวณค่าธรรมเนียม
กระนั้น มันก็ยังสามารถที่จะถูกแก้ไขและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปได้อีก ในขณะที่นาย Morcos กำลังใช้เวลาส่วนใหญ่ของเขาในการพัฒนาระบบดังกล่าวเพื่อช่วยสร้างเครื่องมือในการคำนวณค่าธรรมเนียมที่สมบูรณ์แบบนี้ เขาเชื่อว่ามันไม่มีอัลกอริทึ่มไหนที่จะสามารถนำเอาตัวแปรความต้องการของผู้ใช้งานในทุกๆด้านเข้ามาช่วยจัดการด้านธุรกรรมได้ เนื่องจากมันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลยที่จะทำแบบนี้
“การคำนวณค่าธรรมเนียมนั้นจะยังคงเป็นวิทยาศาสตร์ที่ไม่แน่นอนต่อไป”
และนั่นจึงเป็นสาเหตุที่นาย Morcos คิดว่าการแกปัญหาที่ดีที่สุดก็คือการใช้เครื่องนอกเหนือจากการคำนวณค่าธรรมเนียม อย่างเช่นฟังก์ชัน replace-by-fee (RBF) หรือฟังก์ชัน child-pays-for-parent ที่ผู้ส่งสามารถที่จะจ่ายค่าธรรมเนียม ‘ยัด’ เข้าไปในธุรกรรมที่ถูกส่งค้างไว้อยู่เพื่อช่วยให้มัน confirm ได้เร็วขึ้น
“ซึ่งในลักษณะนั้น ทำให้ผู้ใช้งานไม่จำเป็นต้องเรียกหาระบบช่วยคำนวณค่าธรรมเนียมอีกต่อไป” กล่าวโดยนาย Morcos
ซึ่งมองดูแล้วถือเป็นเรื่องดีที่ทางนักพัฒนากำลังพยายามหาแนวทางและวิธีการใหม่ๆเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาที่อาจกล่าวได้ว่ากำลังเป็นมะเร็งของ Bitcoin ในปัจจุบัน ซึ่งในอีกไม่นานนี้ มันอาจจะดีขึ้นก็ได้
ที่มาภาพจาก moneymarketing.co.uk
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น