ตามประวัติศาสตร์มนุษย์เราได้มีการใช้สกุลเงินแลกเปลี่ยนมากมายหลายรูปแบบ ตั้งแต่เกลือ ข้าวเปลือก จนถึงปัจจุบันที่เราใช้เงินกระดาษ และทองคำ แล้วทุกคนล้วนมีคำถามเดียวกันเสมอ “มูลค่าของเงินนั้นมาจากไหนกันแน่?” ซึ่งจากตามประวัติศาสตร์นั้นมี 4 ปัจจัยที่สร้างมูลค่าให้กับเงินด้วยกัน
1. มีมูลค่าโดยมีทรัพย์สินชนิดอื่นรองรับอยู่
2. สามารถใช้จับจ่ายซื้อของได้ มีตลาดขนาดใหญ่รับรอง
3. สามารถใช้แลกเปลี่ยนและทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้
4. สามารถเปลี่ยนแปลงมูลค่าตามการเติบโตของเศรษฐกิจได้
ซึ่งจากปัจจัยทั้งหมดเราสามารถนำมาใช้เปรียบเทียบระหว่าง เงิน Fiat ทองคำ Bitcoin และ Stablecoins ได้
เงิน Fiat (สกุลเงินของรัฐบาล)
สำหรับเงิน Fiat หรือที่เราเรียกกันว่าเงินสดนั้นเป็นรูปแบบที่เราสามารถมองเห็นได้ทั่วไป โดยมูลค่ามักจะมากจากข้อตกลง และระบบการแลกเปลี่ยนที่ได้รับการยอมรับจากรัฐบาลในประเทศนั้น ๆ ซึ่งการยอมรับและอำนาจของรัฐอาจเสื่อมถอยลงได้ เช่นการพิมพ์เงินมหาศาลของประเทศ Zimbabwe ที่ทำให้มูลค่าเงินนั้นลดลงอย่างรุนแรง
เงิน Fiat ยังสามารถใช้จ่ายทั้งการจับจ่ายใช้สอยทั่วไป ทำธุรกรรมในการเงิน การลงทุน และอื่น ๆ แม้ว่าแต่ละประเทศจะสามารถควบคุมทั้งการผลิตและทำลายปริมาณเงิน Fiat ภายในประเทศได้แต่นั่นก็ถูกควบคุมโดยอัตราเงินเฟ้อซึ่งอาจไม่มีผลมากพอและเสี่ยงต่อทำให้เกิดการควบคุมมูลค่าขึ้นได้
นอกจากนี้ เงิน Fiat ยังสามารถเกิดขึ้นได้โดยผ่านทางธนาคาร ซึ่งในกลุ่มธนาคารจะมีเครือข่ายขนาดใหญ่ที่รองรับการเกิดธุรกรรมการเงินในแต่ละที่ ภายใต้ระบบเครือข่ายเดียวกัน ซึ่งสามารถทำให้ทำธุรกรรมการเงินผ่านที่ใด ๆ ได้อย่างสะดวกระดับหนึ่งหากได้มีการเตรียมระบบที่เกี่ยวข้องกับธนาคารไว้แล้ว เช่น การโอนหรือจ่ายเงินผ่าน Counter Service เป็นต้น
ทองคำ
ทองคำนั้นได้ผ่านสองข้อแรกอย่างไม่ต้องสงสัย แน่นอนว่าทองคำนั้นสามารถแลกเปลี่ยนมูลค่าเป็นเงิน Fiat ได้ และคนทั่วไปยอมรับที่จะแลกเปลี่ยนทองคำกับของมีค่าอื่น ๆ
แต่ทองคำนั้นไม่สามารถใช้ทำธุรกรรมต่าง ๆ ได้โดยตรงอีกทั้งยังไม่สามารถปรับตัวตามเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ Gold Standard ที่ใช้เพื่อให้อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศคงที่ต้องถูกยกเลิกไป เพื่อให้รัฐบาลสามารถควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงิน Fiat ระหว่างประเทศได้ตามสภาพเศรษฐกิจ
Bitcoin
Bitcoin นั้นนับว่าเป็นราชาแห่งสกุลเงินคริปโต และอาจเรียกได้ว่า ทองคำดิจิทัล หากอ้างอิงจากปัจจัยที่กล่าวมา แต่ทองคำนั้นมีประวัติศาสตร์การใช้ในการแลกเปลี่ยนยาวนานกว่า Bitcoin มาก และแม้จะมีคนส่วนมากยอมรับในมูลค่า และสามารถใช้ซื้อขายได้ระดับหนึ่ง แต่ Bitcoin ยังคงมีปัญหาเดียวกับกับทองคำซึ่งทำให้ไม่สามารถใช้ทำธุรกรรมทั่วไป หรือปรับตัวตามสภาวะเศรษฐกิจได้
Stablecoin
Stablecoin นั้นแม้จะใกล้เคียงกับ Bitcoin แต่มูลค่านั้นต่างจาก Bitcoin ด้วยสภาพราคาที่จะอ้างอิงกับหน่วยเงินหนึ่ง ๆ เสมออาทิ USDT ที่อิงกับดอลลาร์สหรัฐฯ โดยให้อัตราแลกเปลี่ยนที่ 1:1 หรือสกุล DAI ที่อิงกับ Algorithm ของหน่วย ETH อีกทีหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม Stablecoin นั้นรองรับเพียงแค่ 2 ปัจจัยแรกสกุลเงินเท่านั้น และยังมีข้อเสียอื่น ๆ อีก เช่น USDT ที่แท้จริงแล้วไม่ได้มีมูลค่าตามดอลลาร์สหรัฐฯ หากแต่เกิดจากการสมมติว่ามีมูลค่าเท่าดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น ในขณะที่ DAI เป็นหน่วยที่ไม่ได้มีการรองรับมูลค่าจากเงิน fiat ใด ๆ เลยแม้แต่น้อย
แต่อย่างไรก็ดี DAI ก็ได้มีการวางแผนไว้ว่าในอนาคตอาจจะมีการรองรับให้ทำธุรกรรมได้โดยใช้ใบแจ้งหนี้ อสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สินอื่น ๆ ที่อาจนำมาทดแทนมูลค่าได้ และนอกจากนี้มูลค่าของมันยังสามารถปรับสภาพเงินดอลลาร์ได้ แต่นั่นก็ต้องผ่านความซับซ้อนของระบบ DAI เองซึ่งนั่นอาจใช้เวลานานมากจึงจะสามารถเปลี่ยนแปลงสกุลเงินให้ตรงตามสภาวะตลาดได้ จึงทำให้ DAI สูญเสียส่วนแบ่งตลาดเรื่อย ๆ อย่างเลี่ยงไม่ได้
ซึ่งจากข้อมูลเหล่านี้แล้ว สกุล DAI ที่กำลังจะรองรับทรัพย์สินหลายรูปแบบก็ดูแล้วอาจจะเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่น่าจะเหมาะสมภายใต้ปัจจัยเหล่านี้ก็เป็นได้ หากมีการพัฒนาระบบให้เปลี่ยนแปลงมูลค่าตามสภาพตลาดได้ดีกว่านี้
สุดท้ายนี้แม้ว่าสำหรับ Stablecoin และ Bitcoin กำลังเป็นการแข่งขันเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งทางตลาดจากสกุลเงินอื่น ๆ กันอยู่ แต่ผู้ที่จะได้ผลประโยชน์ที่มากที่สุดนั้น จะต้องมีปัจจัยต่าง ๆ พร้อมให้คนทั่วไปสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ ทั้งการแลกเปลี่ยนผ่านแพลตฟอร์มตัวกลาง หรือการแลกเปลี่ยนโดยตรงระหว่างบุคคล อีกทั้งสกุลเงินจะสามารถรองรับ และแทนค่าทรัพย์สินที่หลากหลายได้ ซึ่งหากสามารถทำได้ในอนาคตนั้น จะส่งผลให้อนาคตของสกุลเงินดิจิทัลนั้นมั่นคงแน่นอน
ที่มา: dailyhodl