<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Accenture และ Microsoft กับวิธียืนยันตนแบบใหม่ด้วย Ethereum

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

การยืนยันตนเองในแบบที่ใช้ฐานข้อมูลเดียวเป็นศูนย์กลาง น่าจะกำลังมาถึงวันหมดอายุแล้ว

ในการนำเสนอตัวอย่างของโปรเจ็คนี้เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาโดย บริษัทชั้นนำด้านซอฟต์แวร์อย่าง Microsoft และบริษัท consultant ระดับโลกอย่าง Accenture เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถทำให้ผู้ใช้งานนำข้อมูลในการยืนยันตนมาเก็บไว้ในที่เดียวกันที่พวกเขาสามารถควบคุมได้

แทนที่เราจะยื่นสำเนาบัตรประชนของเรา หรือข้อมูลส่วนตัวของเราให้มหาวิทยาลัย สถาบันทางการแพทย์ หรือผู้จ้างงาน เจ้าของตัวตนสามารถเลือกได้เลยว่าใครจะสามารถเห็นข้อมูลนี้ได้ และเห็นได้ถึงเมื่อไร

หัวหน้าใหญ่ในฝ่ายงาน Blockchain ของ Accenture ชื่อ David Treat ได้อธิบายใน demo แรกของต้นแบบนี้ว่า คุณจะสามารถเอาข้อมูลส่วนตัวของคุณหลากหลายรูปแบบมารวมไว้ที่เดียวกันเพื่อสร้างเป็น profile

Treat ได้อธิบายเรื่องนี้บนที่ประชุม ID2020 เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า

“เราไม่ได้เอาข้อมูลเหล่านี้เคลื่อนย้ายไปไหน เราแค่ทำการจัดระเบียบมันให้ถูกต้อง แล้วค่อยนำไปยื่นให้แต่ละคน”

Accenture ใช้เวอร์ชันส่วนตัวที่พวกเขาพัฒนาขึ้นมาของ Ethereum blockchain เพื่อสร้างระบบนี้ อ้างอิงจากการประกาศของ Accenture นั้น ระบบนี้จะตั้งอยู่บน cloud platform ของ Microsoft Azure และการทำงานของซอฟต์แวร์นี้จะถูกตั้งให้ตรงตามมาตราฐาน ที่สมาคม Decentralized Identity Foundation ที่ถูกร่วมก่อตั้งโดย Microsoft เป็นผู้ตั้งไว้

การทำงานเป็นยังไง?

แทนที่จะสร้างทุกอย่างขึ้นมาใหม่ ในตัวต้นแบบที่นำมาโชว์นี้ ได้มีการใช้งานซอฟต์แวร์ที่มีอยู่แล้ว ชื่อว่า Avanade ซึ่งทำหน้าที่ในการเข้ารหัสข้อมูลสำหรับการยืนยันตน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็จะมาจากผู้ให้บริการการยืนยันตนที่มีอยู่แล้วในตลาด

ถึงแม้เจ้าของข้อมูลส่วนตัวจะมีความสามารถในการเข้าถึงและควบคุมทุกอย่าง แต่เมื่อได้ทำการอนุญาตให้บุคคลที่สามเข้ามาดูข้อมูลแล้ว บุคคลนั้นจะสามารถค้นหาข้อมูลส่วนตัวของเราได้ และถ้าเกิดมีข้อมูลไหนที่ดูน่าสงสัย เขาก็สามารถที่จะไล่ตามดูที่มาที่ไปของมันใน blockchain

และเมื่อหมดเวลาที่ได้อนุญาตให้บุคคลที่สามดู การเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวนี้ก็จะยุติลง

โดย blockchain ได้ถูกออกแบบมาให้คงอยู่ด้วยการมีส่วนร่วมของ node ที่เข้ามาร่วมระบบ สำหรับในกรณีนี้  node ทั้งหลายในระบบจะไม่สามารถมองเห็นข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ใน blockchain ได้ ถ้าไม่ได้รับอนุญาตก่อน

ถึงแม้ตัว demo ที่นำมาแสดงให้เห็นนั้นจะใช้ smartphone ในการใช้งาน แต่ Treat บอกว่า ไม่ว่าจะเป็น interface แบบไหนก็จะสามารถใช้ได้เช่นกัน

ถ้าเมื่อไรก็ตามที่ตัวต้นแบบนี้จะถูกปล่อยมาให้ทดลองใช้งาน ผู้ใช้งานอาจจำเป็นที่จะต้องใช้งานระบบ Biometric Identity Management System ของ Accenture ก่อน ถึงจะเข้ามาใช้งานตัวต้นแบบนี้ได้ ซึ่งอันที่จริงแล้วระบบนี้ก็ได้มีการใช้งานอยู่ โดย United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR) ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลผู้ลี้ภัยกว่า 1.3 ล้านใน 29 ประเทศ

“ระบบที่เราใช้ สามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ ลายนิ้วมือ ใบหน้า เสียง หรืออะไรก็ตามแต่” Treat กล่าว

ในปี 2020

อย่างไรก็ตาม ตัวซอฟต์แวร์นี้ที่ใช้ Ethereum เข้ามาร่วมด้วยนั้น ถูกสร้างขึ้นมาด้วยเวลาเพียง 6 สัปดาห์ที่ เมือง Dublin ประเทศ Ireland และถูกสร้างโดยทีมที่ชื่อว่า The Dock ซึ่งเป็นทีมวิจัยเพื่อทดลองเทคโนโลยีใหม่ๆจัดตั้งโดย Accenture และซอฟต์แวร์ตัวนี้ก็ยังอยู่ในช่วงแรกของการพัฒนา

แต่ Treat ก็ให้ความเชื่อมั่นว่าด้วยระบบนี้ไม่น่าจะต้องใช้เวลาหลายปีถึงจะพร้อมนำมาใช้จริงได้

หลังจากการ demo นาย Saadia Madsbjerg ผู้บริหารของ Rockefeller Foundation (ซึ่งร่วมสนับสนุนด้านการเงินสำหรับโปรเจ็คนี้ด้วย) ได้กล่าวว่า เวอร์ชันสุดท้ายที่พร้อมใช้งานของซอฟต์แวร์นี้ จะสำเร็จในปี 2020

และจนกว่าจะถึงเวลานั้น ระบบ Biometric Identity Management System ของ Accenture ก็น่าจะเติบโตจนมีข้อมูลของผู้ลี้ภัยกว่า 7 ล้านคนจาก 75 ประเทศแล้ว

ต่อเนื่องจากสิ่งที่ Madsbjerg ได้กล่าวไว้ Treat เสิรมว่า

“เราสามารถทำมันได้ เราจะสามารถสร้างตัวตนของเรา ที่มีทั้งความเป็นส่วนตัว ความง่ายในการส่งต่อ มีความปลอดภัย และเราตื่นเต้นมากๆที่จะเชิญทุกคนมาลองสิ่งนี้”

 

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น