<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ปัญหาการฉ้อโกง, มิจฉาชีพ, แชร์ลูกโซ่ และอาชญากรรมอื่นๆกำลังเกิดขึ้นกับ Ethereum

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

Ethereum หรือเหรียญดิจิตอลอันดับสองของโลกรองลงมาจาก Bitcoin ที่มีความสามารถเป็นที่ยอมรับในในวงการ Blockchain อย่างมาก เนื่องจาก Smart contract ของมันที่ทำให้นวัตกรรมด้าน Blockchain ในปัจจุบันเป็นเรื่องง่าย

ในขณะที่เทคโนโลยีของ Ethereum ได้ดึงดูดนักลงทุนให้เข้ามาลงทุนในตัวมันมากมาย กระนั้นมันก็ยังดึงดูดอาชญากรทางด้านไซเบอร์เข้ามาด้วยเช่นกัน

เป็นเรื่องธรรมดาของเทคโนโลยีใหม่ๆ มีรายงานว่านักแฮคนั้นได้ทำการขโมยเหรียญ Ethereum มูลค่ารวมนับล้านดอลลาร์มาแล้วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

เหตุการณ์อาชญากรรมครั้งแรกของ Ether

สำหรับผู้ที่อยู่ในวงการ cryptocurrency นี้มานานก็คงจะไม่มีใครลืมเหตุการครั้งสำคัญของ Ethereum ที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2016 ซึ่งเป็นครั้งแรกของเหรียญ Ethereum ที่ถูกจารกรรมทางไซเบอร์ เมื่อในช่วงนั้นได้มีโปรเจ็ค The DAO ที่ถูกเปิดตัวออกมา และ ICO ของพวกเขาก็ระดมเงินลงทุนไปได้ถึง 150 ล้านดอลลาร์

ทว่าด้วยจำนวนเงินที่มากขนาดนั้นก็แน่นอนว่ามันต้องดึงดูดนักแฮค ซึ่งภายหลังพวกเขาได้พยายามตรวจดูโคดของโปรเจคดังกล่าวละก็ได้ค้นพบบัคในท้ายที่สุด ซึ่งภายหลังพวกเขาก็ได้ใช้บัคตัวนั้นทำการแฮค และขโมยเงินลงทุนไปได้ถึง 74 ล้านดอลลาร์ ซึ่งคิดเป็นราวๆเกือบ 40% ของจำนวนเงินลงทุน ICO ทั้งหมด

แม้ว่าบางจำนวนจะถูกกู้คืนมาได้ในภายหลัง แต่เหตุการณ์ดังกล่าวก็ได้ส่งผลให้ผู้คนออกมาวิพากษ์วิจารณ์ และเรียกร้องให้ Ethereum มีการปรับปรุงแก้ไข

ทว่าอาชญากรของ Ether นั้นกลับมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ…

เนื่องมาจากการที่ระบบของ Ethereum อำนวยความสะดวกให้นักพัฒนาสามารถที่จะสร้างระบบ smart contract และ decentralized autonomous apps (DApps) ที่ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น บวกกับราคาของ ETH ที่สูงขึ้นเรื่อยๆนั้น ทำให้มันเป็นระบบยอดนิยมที่นักลงทุนใช้ระดมทุนแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

กราฟด้านบนแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของอาชญากรรมด้าน Ethereum ที่สอดคล้องกับจำนวนเงินลงทุน ICO ที่ระดมทุนได้

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

ICO เหล่านี้ไม่เพียงแต่ทำให้ Blockchain ต้องเกิดปัญหาเป็นประจำเท่านั้น แต่มันยังนำพาความเสี่ยงในตัวโปรเจคเข้ามาให้กับนักลงทุนอีกด้วย ทาง Chainalysis ได้ทำการประเมินจำนวนตัวเลขของ ICO ที่ถูกลงทุนในปีนี้ว่ามีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ราวๆ 1.6 พันล้านดอลลาร์ และมีเงินจำนวนราวๆ 150 ล้านดอลลาร์ตกไปอยู่ในมือของอาชญากรทางด้านไซเบอร์

หรือหากจะอธิบายแบบง่ายๆแล้วนั้น 10 เปอร์เซ็นต์ของการระดมทุนแบบ ICO ตกไปอยู่ในมือของคนที่ไม่ควรจะได้มันไป ซึ่งรายงานเผยว่ามีผู้เสียหายราวๆ 30,000 คนทั้งหมด ซึ่งนั้นจะคิดเป็นราวๆ 7,500 ดอลลาร์ต่อคน

การแฮค, การฉ้อโกง และอาชญากรรมอื่นๆ

อาชญากรรมทางไซเบอร์ที่เกิดกับ Ethereum นั้นประกอบไปด้วย exploits (การหลอกเอาเปรียบผลประโยชน์), การแฮค, การ phishing (การปลอมแปลงที่อยู่การโอน) และแชร์ลูกโซ่

อาชญากรรมที่ทำเงินไปได้มากที่สุดคือครั้งของ The DAO ในขณะที่เงินอีกจำนวน 30 ล้านดอลลาร์นั้นถูกขโมยไปจากกระเป๋า Parity เมื่อเดือนมิถุนายน 2017 ที่ผ่านมา

แม้ว่าอาชญากรส่วนใหญ่จะเสาะหาเทคนิคและวิธีการแฮคใหม่ๆมา ทว่าการ phishing นั้นดูเหมือนจะทำรายได้มากที่สุดในขณะนี้

ซึ่งหากดูตารางด้านล่างนั้นมันตะคิดเป็นราวๆ 50% ของเงินอาชญากรรมทั้งหมด

อาชญากรรม จำนวนเงินที่ถูกขโมยไป (ดอลลาร์) จำนวนผู้เสียหาย
Phishing 115,000,000 16,900
Exploits 103,000,000 11,000
การแฮค 7,400,000 2,100
แชร์ลูกโซ่ 4,000 260
Total 225,400,000 30,260

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

สถิติด้านอาชญากรรมทางไซเบอร์ของ Ethereum สามารถที่จะตรวจสอบได้อย่างแม่นยำเนื่องจากว่าเทคโนโลยี Blockchain นั้นเก็บข้อมูลธุรกรรมของผู้เสียหายและอาชญากรไว้ครบตั้งแต่ต้นยันปัจจุบัน

ที่น่าสนใจคือ ก่อนหน้านี้ทาง MyEtherWallet ได้ออกมาสร้างระบบ Ethereum Scam Databaseเพื่อเอาไว้ให้นักลงทุนใช้ตรวจสอบอาชญากรรมใน Ethereum ก่อนทำการลงทุน ICO อีกด้วย

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น