ผู้ให้บริการด้านอาหารหรือ food supply ทั่วโลกกำลังร่วมมือกันในการใช้เทคโนโลยี blockchain ที่ว่ากันว่าในอนาคตสามารถที่จะช่วยทางด้านการประหยัดเงิน และเซฟชีวิตมนุษย์
บริษัท IT ยักษ์ใหญ่ของโลกอย่าง IBM ได้เซ็นสัญญาหุ้นส่วนกับ Dole, Unilever, Walmart, Golden State Foods, Kroger and Nestle, Tyson Foods, McLane Company และ McCormick and Company ซึ่งพวกเขาได้ทำการประกาศเมื่อวานนี้ว่ามีแผนการที่จะใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการตรวจสอบและป้องกันอาหารที่มีพิษและทำการกำจัดมัน
ทว่าจะไม่เหมือนกับกลุ่มบริษัท Blockchain อื่นๆที่เคยเปิดตัวไปแล้วก่อนหน้านี้ เนื่องจากการรวมกลุ่มของพวกเขาครั้งนี้ต้องการที่จะเปิดตัวระบบ Blockchain ในระดับ enterprise โดยอ้างอิงจากนาย Frank Yiannas หรือรองประธานฝ่ายความปลอดภัยของอาหารของ Walmart เขากล่าวว่า
“IBM ได้อุทิศเวลาของพวกเขาในการเขียนโคดโปรแกรม สร้างออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้จริง อีกทั้งยังมีกรอบและเนื้อหาที่ถูกต้องตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ เป็นเทคโนโลยีที่เรียกได้ว่าของจริง เลยนะครับ”
ถ้าหากว่าทำสำเร็จนั้น โปรเจคดังกล่าวจะช่วยขยาย proof-of-concept ของ Blockchain ส่วนตัวของ Walmart ในด้านความปลอดภัยทางอาหารและรวมถึงการตรวจจับอาหารเป็นพิษได้ อีกทั้งยังสามารถส่งข้อมูลไปหาหุ้นส่วนอื่นๆได้ด้วย ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวนี้จะสามารถที่จะตรวจพบอาหารเป็นพิษได้ในทุกๆขั้นตอนในระดับวินาที
ทาง IBM ยังมีเป้าหมายที่จะให้โปรเจคดังกล่าวสามารถใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆได้อีกด้วย
ซึ่งไม่เพียงแต่เทคโนโลยี distributed ledger ตัวนี้สามารถที่จะช่วยป้องกันการสูญเสียรายได้ของผู้ประกอบการร้านค้าในการหยิบเอาสินค้าที่เป็นพิษในโกดังของตัวเองไปทิ้ง แต่ยังสามารถที่จะช่วยปกป้องชีวิตของผู้คนอีกหลายๆคนที่เสียชีวิตจากอาหารมีสารปนเปื้อนและเป็นพิษได้อีกด้วย
[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]
“เรากำลังอยู่ในธุรกิจที่ต้องการจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้คนที่เรากำลังรับใช้อยู่ทั่วโลก” เขากล่าว
ต้นทุนทั้งสาม
ทว่าการจะทำระบบที่สมบูรณ์แบบออกมานั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ซึ่งถ้าหากทำออกมาไม่ดีนั้น อาจจะทำให้มีการดีเลย์ในการตรวจพบอาหารเป็นพิษ ที่ภายหลังอาจจะหลุดเข้าไปอยู่ในระบบการขนส่งจนกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ไปถึงร้านค้าแล้ว
ในช่วงการสาธิตตัว demo ของแอพตัวนี้ รองประธานฝ่าย blockchain business development ของ IBM นามว่า Brigid McDermott ได้ออกมาจำแนกหมวดหมู่ราวๆ 3 หมวดหมู่
อย่างแรกคืออะไรเป็นตัวแปรหลักๆที่ทำให้มนุษย์เสียสุขภาพและชีวิต
ยกตัวอย่างเช่นเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ที่ผ่านมา โรคซาโมเนลลาได้ที่การระบาดนั้น เมื่อสืบสวนไปแล้วจึงพบว่มีต้นตอมาจากมะละกอลูกหนึ่งที่เป็นตัวการทำให้ผู้คนราวๆ 173 คนติดเชื้อนี้ ส่งผลต้องทำให้เข้าโรงพยาบาลทั้งหมด 58 คน และเสียชีวิต 1 คน อ้างอิงจากรายงานของ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) รวมถึงรายงานขององค์การอนามัยโลกที่กล่าวว่ามีมนุษย์เสียชีวิตจากอาหารเป็นพิษราวๆ 420,000 คนทั่วโลกต่อปีอีกด้วย
หมวดหมู่ที่สองและสามนั้นคือต้นทุนอันแสนแพงทางด้านความไร้ประสิทธิภาพของของ supply-chain ที่ทำให้เกิดปัญหาด้านโรคภัยไข้เจ็บกับผู้บริโภค อ้างอิงจาก McDermott
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เธอกล่าวว่าต้นทุนในการเรียกสินค้าอาหารเป็นพิษกลับคืนนั้นจะส่งผลเสียกับผู้ผลิตมากที่สุด แต่ทว่าขั้นตอนในการตรวจสอบหาอาหารที่เป็นพิษในการผลิตนั้นอาจจะใช้เวลานานมาก อาจถึงขั้นสัปดาห์ ซึ่งภายหลังราคาของมันอาจจะลดลง และผู้คนก็อาจจะเลิกซื้อสินค้านั้นไปในท้ายสุด ทำให้ทางผู้ผลิตต้องสูญเสียต้นทุนและรายได้มหาศาล
จำนวนตัวเลขดังกล่าว หากรวมกันเฉพาะของในวงการอาหารในประเทศสหรัฐฯอาจจะนับได้ตั้งแต่ที่ 4.4 พันล้านดอลลาร์ไปจนถึง 93.2 พันล้านดอลลาร์
นาง McDermott กล่าวว่า
“โครงการทำให้อาหารปลอดภัยด้วยเทคโนโลยี Blockchain นั้นเป็นเรื่องที่ดีมากๆ เนื่องจากมันจะช่วยสร้างความโปร่งใสให้กับระบบอาหาร ซึ่งนั่นหมายถึงคุณสามารถที่จะเรียกอาหารเป็นพิษกลับคืนมาได้อย่างรวดเร็ว, มีประสิทธิภาพ และจัดการแก้ไขได้อย่างตรงจุด”
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น