<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ธนาคารกรุงศรีและบริษัทปิโตรเลียม IRPC ทดสอบระบบโอนเงินผ่านเทคโนโลยี Blockchain สำเร็จแล้ว

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ความหลากหลายทางด้านการนำเทคโนโลยี Blockchain ที่ช่วยหยิบยื่นความปลอดภัยและความโปร่งใสไปใช้งานที่มีมากนั้น อาจกล่าวได้ว่าผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้มากที่สุดคงจะหนีไม่พ้นสถาบันการเงิน เนื่องจากการเก็บบันทึกธุรกรรมบน Blockchain จะไม่สามารถถูกแก้ไขได้ และในตอนนี้ธนาคารกรุงศรีก็กลายมาเป็นอีกหนึ่งในธนาคารในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จในการทดสอบนำเอาเทคโนโลยีดังกล่าวมาปรับใช้ในด้านการโอนเงินระหว่างประเทศแล้ว

โดยอ้างอิงจากเว็บการเงินธนาคารนั้น ธนาคารกรุงศรีร่วมมือกับ IRPC บริษัททางด้านน้ำมันปิโตรเลียมออกมาประกาศถึงความสำเร็จในการทดสอบการโอนเงินระหว่างประเทศผ่านระบบ Blockchain ที่มีชื่อว่า Krungsri Blockchain’s Interledger

โดยการทดสอบดังกล่าวเป็นการทำธุรกรรมโอนเงินของบริษัทปิโตรเลียมระหว่างประเทศของ IRPC และบริษัทพลังงานบัวสวรรค์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยอ้างอิงจากทางธนาคารกรุงศรีนั้น พวกเขากล่าวว่าการโอนใช้เวลาเพียงแค่ระดับวินาทีเท่านั้น

นายโนริอากิโกโตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า

“กรุงศรีนับเป็นธนาคารแรกของไทยที่นำเทคโนโลยี Blockchain’s Interledger มาใช้ในการโอนเงินระหว่างประเทศสำหรับภาคธุรกิจ โดยได้รับความไว้วางใจจาก IRPC ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจขนาดใหญ่ของธนาคารมายาวนานในการตอบรับการใช้บริการ Krungsri Blockchain’s Interledger เพื่อโอนเงินระหว่าง IRPC และคู่ค้าในต่างประเทศของ IRPC การให้บริการดังกล่าวประสบความสำเร็จสามารถโอนเงินสำเร็จภายในหลักวินาทีจากเดิมที่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 1-3 วันทำการ สะท้อนถึงศักยภาพของเทคโนโลยี Krungsri Blockchain’s Interledger สู่การขับเคลื่อนภาคธุรกิจไทยให้ขยายตัว และเติบโตได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น”

ที่น่าสนใจคือ นายโนริอากิโกโตะยังได้กล่าวว่าทางธนาคารกรุงศรีจะสามารถเข้าถึงและใช้งานเครือข่ายของธนาคารยักษ์ใหญ่ในญี่ปุ่นนาม MUFG ซึ่งเป็นกลุ่มสถาบันการเงินที่ติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลกอีกด้วย

“กรุงศรีจะใช้ประโยชน์จากเครือข่าย MUFG กลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และ 1 ใน 5 กลุ่มสถาบันการเงินที่ใหญ่ที่สุดของโลก ในการพัฒนาความเชื่อมโยงของเครือข่ายที่มีอยู่กว่า 2,000 แห่ง ในกว่า 50 ประเทศทั่วโลก”

กล่าวโดยนายโนริอากิโกโตะ

เทคโนโลยี Blockchain นั้นถูกคิดค้นขึ้นมาพร้อมๆกับเหรียญ cryptocurrency อันดับหนึ่งของโลกอย่าง Bitcoin โดยนาย Satoshi Nakamoto ซึ่งหลักการทำงานของเทคโนโลยีดังกล่าวคือการเก็บข้อมูลบนบล็อกทีละบล็อกบนเครือข่ายที่มีผู้ตรวจสอบที่ถูกกระจายออกไป (decentralized) เมื่อทำการเก็บข้อมูลจนเต็มแล้ว ก็จะนำบล็อกเหล่านั้นมาต่อกันจนเป็นเชน (โซ่) โดยการเก็บข้อมูลต่อบล็อกนั้นจะต้องมีผู้ “ตรวจสอบ” หลายๆคน (หรือนักขุด) ที่จะถือข้อมูลการทำธุรกรรมเหมือนกันหมดทุกคนคอยมาช่วยประมวลผลธุรกรรมนั้นๆ ถ้าหากว่ามีผู้ตรวจสอบคนใดคนหนึ่งพยายามจะโกงด้วยการแก้ไขข้อมูลธุรกรรม ก็จะโดนผู้ตรวจสอบคนอื่นๆในเครือข่าย (ที่อาจจะมีตั้งแต่ 10 ยัน 10,000 ขึ้นอยู่กับการออกแบบโครงสร้าง blockchain นั้นๆ) ตรวจจับได้ว่าข้อมูลไม่ตรงกับที่พวกเขาบันทึกไว้ การเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ที่พยายามจะโกงนั้นก็จะล้มเหลวไปในทันที

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

ซึ่งการตรวจสอบข้อมูลที่ไม่จำเป็นต้องอ้างอิงบุคคลที่สามนั้น (trustless party) ส่งผลให้การทำธุรกรรมระหว่างประเทศนั้นไม่จำเป็นต้องไปคอขวดที่ฝ่ายใดอีกต่อไป ทำให้การโอนเงินระหว่างประเทศหากันมีความรวดเร็วในระดับนาทีหรือวินาที อีกทั้งในกรณีที่ถ้าหาก blockchain นั้นๆเป็นแบบสาธารณะ ทุกๆคนบนโลกนี้ก็จะสามารถตรวจสอบดูธุรกรรมในอดีตตั้งแต่ต้นยันปัจจุบันได้อย่างโปร่งใส แบบที่ผู้ใช้งาน Bitcoin และเหรียญคริปโตอื่นๆกำลัง enjoy ฟีเจอร์ในส่วนนี้อยู่

ธนาคารในไทยเริ่มหันหน้าเข้าหา Blockchain

ก่อนหน้านี้ธนาคารไทยพาณิชย์ก็เคยออกมาประกาศการทดสอบการโอนเงินระหว่างประเทศไทย-และญี่ปุ่นโดยใช้เทคโนโลยี Blockchain ของ Ripple หรือบริษัทผู้สร้างเหรียญ XRP ชื่อดัง โดยได้รับการช่วยเหลือจากบริษัท SBI Remit ในการติดตั้งเทคโนโลยีดังกล่าว

อีกทั้งยังมีธนาคารกสิกรไทยที่เคยจัดงานสัมนาเปิดตัวหนังสือค้ำประกันที่มีเทคโนโลยี Blockchain มาช่วยหนุนหลังอีกด้วย

และเมื่อไม่นานมานี้ ทางแบงก์ชาติก็ได้ออกมาประกาศเปิดการทดสอบเทคโนโลยี Blockchain บน Regulartory Sandbox หรือสนามซ้อมที่ธนาคารแห่งชาติสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ประกอบการ หรือสถาบันทางการเงินใดก็ตาม ที่ต้องการจะนำโปรแกรม หรือเทคโนโลยีทางการเงินใหม่ๆมาทดสอบกับสภาพแวดล้อมที่เหมือนจริง แต่ไม่กระทบกับการทำธุรกรรมจริงๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เพราะ Regulatory Sandbox นี้จะแยกตัวออกมาชัดเจนจากชุดโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานจริงๆอยู่ในทุกๆวัน

ซึ่งคาดการณ์ว่าภายในปีหน้านี้ จะมีธนาคารอีกหลายๆธนาคารกระโดดเข้ามานำเอาเทคโนโลยีดังกล่าวเข้ามาปรับใช้ในองค์กรของตัวเอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานและเพื่อตอบรับนโยบายประเทศไทย 4.0

ภาพจาก การเงินธนาคาร

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น