<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ผลสำรวจ: 80% ของธนาคารกลางและรัฐฯทั่วโลกสนใจออกเหรียญ Cryptocurrency เอง

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

อ้างอิงจากงานวิจัยของ Cambridge Centre for Alternative Finance นั้น ธนาคารกลางทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและสำคัญกับเทคโนโลยี Blockchainแม้ว่าก่อนหน้านี้ธนาคารกลางแห่งยุโรป (ECB) จะออกมากล่าวว่าเทคโนโลยี Blockchain นั้นยังอ่อนไปที่จะถูกนำมาใช้ในวงกว้าง

โดยอ้างอิงจากงานวิจัยนั้น ธนาคารกลางได้ทำผลสำรวจ และชี้ให้เห็นว่ามีประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ของธนาคารกลางทั่วโลกที่จะใช้เทคโนโลยี Blockchain ภายในปี 2019 และ 40 เปอร์เซ็นต์นั้นกล่าวว่าจะมีแอพด้าน Blockchain ใช้เป็นของตัวเองอีกภายในสิบปี

ลำดับความสำคัญ

อ้างอิงจากกลุ่มตัวอย่างนั้น อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางหลายๆธนาคารปฏิเสธที่จะให้ระยะเวลาที่แน่นอน แต่ก็บ่งชี้ให้เห็นว่าเทคโนโลยี Blockchain นั้นอยู่บนลิสอันดับต้นๆของความสำคัญของพวกเขา งานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่านักวิเคราะห์ตลาดหลายๆคนเชื่อว่าสถาบันการเงินและธนาคารหลายๆแห่ง เริ่มที่จะมีความเชื่อมั่นในเทคโนโลยีดังกล่าวแล้ว

ธนาคารกลางบางธนาคารก็เผยให้เห็นว่าพวกเขามีความสนใจในเทคโนโลยี Blockchain สำหรับแพลทฟอร์มที่มีระบบขออนุญาตหรือกฎโพรโตคอลมาเป็นอันดับหนึ่ง แต่ก็ยังแสดงความสนใจในตัวของ Bitcoin และ Ethereum ด้วย

ที่น่าสนใจก็คือ กลุ่มตัวอย่างที่ตอบว่าพวกเขากำลังสนใจพิจารณาใช้เทคโนโลยี Blockchain นั้น ก็เพื่อสร้างเหรียญดิจิตอลเป็นของตัวเอง

อันที่จริงแล้ว มากกว่า 80% ของกลุ่มตัวอย่างบ่งชี้ให้เห็นว่านี่คือสาเหตุหลักๆที่พวกเขาต้องทำวิจัยดังกล่าวขึ้นมา โดยการค้นพบดังกล่าวแสดงถึงการปรับตัวของธนาคารกลางที่พยายามจะสร้างเหรียญ cryptocurrency ที่พวกเขาสามารถควบคุมได้ขึ้นมา

รัฐบาลกำลังเข้าหาเหรียญคริปโต?

การนำเอาเทคโนโลยี Blockchain ในกลุ่มรัฐบาลกำลังเพิ่มมากขึ้นอย่างมากในขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้ทางรถไฟ หรือการทำฟาร์มขุด Bitcoin ในประเทศรัสเซีย ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวนั้นกำลังเป็นที่ถูกหมายตาจากรัฐบาลในหลายๆประเทศ

สำหรับในประเทศไทยนั้น ก่อนหน้านี้แบงก์ชาติเคยออกมาประกาศเปิดการทดสอบเทคโนโลยี Blockchain บน Regulartory Sandbox เพื่อเปิดโอกาสให้สถาบันทางการเงิน ผู้ประกอบการ หรือผู้ให้บริการ FinTech (Financial Technology) ทำการนำเสนอนวัตกรรมทางการเงินใหม่ๆ เพื่อมาทดสอบในระบบดังกล่าว

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

Regulatory Sandbox คือ สนามซ้อมที่ธนาคารแห่งชาติสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ประกอบการ หรือสถาบันทางการเงินใดก็ตาม ที่ต้องการจะนำโปรแกรม หรือเทคโนโลยีทางการเงินใหม่ๆมาทดสอบกับสภาพแวดล้อมที่เหมือนจริง แต่ไม่กระทบกับการทำธุรกรรมจริงๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เพราะ Regulatory Sandbox นี้จะแยกตัวออกมาชัดเจนจากชุดโปรแกรม หรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำงานจริงๆอยู่ในทุกๆวัน

“เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2560 ธปท. ได้อนุญาตผู้เสนอโครงการอีก 3 รายเพิ่มเติมจากโครงการที่มีการนำ private blockchain มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการหนังสือค้ำประกันของธนาคาร (Letter of Guarantee) รวมขณะนี้มีผู้เสนอโครงการ 4 รายที่เข้าร่วมการทดสอบใน Regulatory Sandbox”

อ้างอิงจากรายงานของธนาคารกลางแห่งประเทศไทย

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น