<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

“เราต้องนำ Blockchain มาควบคุม Cryptocurency หนามยอกเอาหนามบ่ง” โดยหัวหน้า IMF

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

นาง Christine Lagarde ผู้เป็นประธานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF ได้กล่าวว่าทางผู้ออกกฎหมายควรที่จะนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้ยับยั้ง “ความอันตรายที่มาพร้อมกับศักยภาพ” ของ Cryptocurrency

“นวัตกรรมที่หนุนหลังไปสร้างทรัพย์สินคริปโต (crypto-assets) นั้นสามารถที่จะช่วยให้พวกเราควบคุมมันได้ หรือพูดอีกแบบหนึ่งก็คือ หนามยอกเอาหนามบ่งได้” นาง Lagarde ได้กล่าวบนบล็อก IMF ในวันอังคาร

นาง Lagarde ได้กล่าวเตือนว่า Cryptocurrency สามารถก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพทางการเงิน และยังถูกนำไปใช้สนับสนุนกลุ่มผู้ก่อการร้ายรวมถึงเพื่อการฟอกเงินได้ โดยเธอได้อ้างว่าเทคโนโลยี distributed ledger (บัญชีกระจายศูนย์) และ cryptography (วิทยาการเข้ารหัสลับ) นั้นสามารถถูกนำมาใช้เพื่อเป็นการปฏิบัติควบคุมกิจกรรมทางด้าน Cryptocurrency ได้แบบข้ามประเทศ

เธอได้อ้างว่าเทคโนโลยี Distributed ledger “สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการแบ่งปันข้อมูลระหว่างนักลงทุนในตลาดกับผู้ออกกฎหมาย”

เธอได้เขียนว่า:

“กลุ่มคนที่สนใจดูแลรักษาธุรกรรมออนไลน์ให้มีความปลอดภัยต้องสามารถที่จะสื่อสารกันและกันได้แบบไหลลื่น เทคโนโลยีที่เปิดทางให้แก่การทำธุรกรรมทั่วโลกแบบทันทีทันใดนั้น ก็สามารถที่จะถูกนำมาใช้สร้างมาตรฐานและยืนยันข้อมูลของลูกค้าและรวมถึงลายเซ็นดิจิตอลได้” การที่รัฐบาลนำข้อมูลมาใช้ในทางที่ดีขึ้นนั้นจะสามารถลดจำนวนหน้าที่ ๆ ต้องปฏิบัติลง (priority needs) และยังลดอัตราการเลี่ยงภาษี รวมถึงการเลี่ยงผ่านธุรกรรมข้ามพรมแดน ได้

นาง Lagarde ยังกล่าวเพิ่มว่านอกจาก Cryptography แล้ว ระบบ AI และก็ Biometrics (ชีวมิติ) ยังสามารถนำมาใช้ในการ “กำจัด ‘มลภาวะ’ ที่มาจาก ecosystem ของทรัพย์สินคริปโต”

สำหรับเธอ เทคโนโลยีเหล่านี้ “สามารถยกระดับความมั่นคงทางดิจิตอล และสามารถระบุธุรกรรมที่น่าสงสัยได้อย่างรวดเร็วแทบทันที ซึ่งนี่ก็จะเป็นความก้าวหน้าสำหรับผู้บังคับใช้กฎหมายที่จะสามารถดำเนินการยับยั้งธุรกรรมที่ผิดกฎหมายอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้”

นอกจากนี้แล้ว ทางหัวหน้า IMF ยังเสนอให้ผู้ควบคุมทำการศึกษากรอบความคิดของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงินเกี่ยวกับการฟอกเงิน (Financial Action Task Force หรือ FATF) และคณะกรรมการดูแลเสถียรภาพทางการเงิน (Financial Stability Board หรือ FSB) ระหว่างที่ทางผู้ควบคุมนั้นกำลังร่างกฎขึ้น

ฃแนวคิดในบล็อกล่าสุดนี้โดยรวมแล้วก็เป็นไปตามความคิดเห็นก่อน ๆ ของนาง Lagarde ว่าด้วย Cryptocurrency แม้ว่าวาทกรรมอันร้อนแรงล่าสุดอาจบ่งชี้ว่าทาง IMF ต้องการที่จะเข้ามามีบทบาทในวงการคริปโตเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น