<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

รวมรายชื่อบริษัทที่เป็นหุ้นส่วนกับเหรียญ IOTA หรือแพลตฟอร์มที่ไม่ได้ใช้ Blockchain

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

IOTA เป็น Distributed Ledger ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การติดต่อสื่อสารและการทำธุรกรรมในระบบนิเวศของเครื่องจักรกลกับ Internet of Things (IoT) ซึ่งลิสต์ด้านล่างต่อไปนี้จะเป็นลิสต์ของผู้ที่เข้าเป็นหุ้นส่วนกับ IOTA ที่ช่วยขับเคลื่อนคริปโตเคอร์เรนซีและบริษัทเหล่านี้ด้วยการนำนวัตกรรมเทคโนโลยี Tangle (ไม่ใช่ Blockchain) มาใช้

1. Microsoft

IOTA ได้ออกมาประกาศในเดือนพฤศจิกายนเมื่อปี 2017 ว่ากำลังเปิดตัวตลาดข้อมูลสาธารณะ (public data marketplace) แห่งแรกของโลกบน Internet of Things (IoT) distributed ledger โดยร่วมมือกับ Microsoft

โดยมีแนวคิดคือการนำข้อมูลมาทำเงิน ซึ่งเป็นทรัพยากรหลักอย่างเดียวของเศรษฐกิจแบบ IoT ผู้ถือหุ้นจะสามารถแชร์ข้อมูลได้อย่างปลอดภัยและนำข้อมูลของพวกเขามาเป็นตัวทำเงินได้ “ข้อมูลใด ๆ ก็ตามสามารถนำมาทำเงินได้หมด” นาย David Sonstebo ผู้ร่วมก่อตั้งของ IOTA กล่าว “ยกตัวอย่างเช่น สมมติคุณสถานีที่คอยตรวจวัดลม อุณหภูมิ ความชื้น ความกดอากาศ คุณสามารถขายข้อมูลเหล่านี้ให้กับนิติบุคคลที่ทำการวิจัยเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ”

แต่ต่อมาในเดือนธันวาคมปี 2017 ทาง IOTA ได้ออกมาประกาศว่าตอนนี้ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนอย่างเป็นทางการกับ Microsoft แล้ว จากนั้นการดีเบตในเรื่องนี้ก็เริ่มลุกเป็นไฟเมื่อทางผู้เชี่ยวชาญด้านบล็อคเชนของ Microsoft นาย Omkar Naik ได้ตอบกลับทางอีเมลล์ไปที่ IOTA ว่า:

“ทางเรามีความยินดีเป็นอย่างมากที่ได้ร่วมมือกับ  IOTA Foundation และมีความภาคภูมิใจที่ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการริเริ่มตลาดข้อมูลในครั้งนี้ เทคโนโลยีล้ำสมัยนี้จะช่วยทำให้โลกอัจฉริยะมีการเชื่อมต่อมากยิ่งขึ้นและล้ำหน้าบล็อคเชนที่จะเข้ามาเสริมสร้างความแข็งแกร่งของนวัตกรรมในโซลูชั่นของโลกแห่งความเป็นจริงรวมถึงแอปพลิเคชั่นและตัวทดลองสำหรับลูกค้าของเราอีกด้วย”

จากประกาศในครั้งนี้ทำให้ราคาเหรียญคริปโตเคอร์เรนซี MIOTA เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ กล่าวคือได้กำไร 500% จาก  $1 เพิ่มขึ้นมามากกว่า $5 จากมูลค่าสูงสุดในเดือนธันวาคมปี 2017

แม้ว่าจะไม่มีการร่วมหุ้นส่วนอย่างเป็นทางการจากบริษัททั้งสองแห่งนี้ แต่ทั้งคู่ต่างก็ทำงานด้วยกันเพื่อเปิดตัวแอปพลิเคชั่นกับเครือข่าย Tangle ของ IOTA

2. Volkswagen

โลกของเครื่องยนต์ในตอนนี้เริ่มมีพัฒนาการมากขึ้นเรื่อย ๆ และ IOTA ก็เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนานี้ เทคโนโลยีที่ไม่จำเป็นต้องมีคนขับเป็นแอปพลิเคชั่นของตลาดข้อมูลของ IOTA เพราะรถแต่ละคันทั่วโลกมีสภาพการขับขี่ที่แตกต่างกัน ข้อมูลเซนเซอร์ของ IOTA จึงสามารถนำเข้ามาเป็นฐานข้อมูลเพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้าของผู้ผลิต

ดังนั้นหัวหน้าแผนกดิจิทัลของ Volkswagen นาย Johann Jungwirth จึงเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการผู้จัดการของ IOTA Foundation

การร่วมมือกันของทาง Volkswagen และ IOTA ได้ประกาศต่อสาธารณะชนเมื่อเดือนมกราคมปี 2018 โดยนาย Jungwirth จะเป็นหัวหน้าทีมของ Volkswagen ในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลนี้มาใช้

ทาง Volkswagen ก็ได้เปิดตัวทดลองใช้เครือข่ายของ IOTA เพื่อเป็นตัวพิสูจน์นวัตกรรม

“Volkswagen และ @iotatoken จะพิสูจน์ตัวนวัตกรรมผ่านทาง #cebit18 เพื่อแสดงให้เห็นว่าการถ่ายโอนซอฟต์แวร์ผ่านทางอากาศไปสู่เครื่องยนต์นั้นเชื่อถือได้และปลอดภัยด้วยการใช้งาน #tangle ซึ่งเป็นตัวอย่างที่สำคัญในการแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยี  distributed ledger สามารถนำมาใช้งานได้ในอนาคต”

ทั้งนี้ Volkswagen group นั้นประกอบไปด้วยแบรนด์รถยนต์ทั้ง 12 แบรนด์ด้วยกันซึ่งรวมถึง Lamborghini, Porsche, Bentley, Audi & Bugatti

ในตอนนี้ทาง IOTA ก็กำลังร่วมมือกับ Porsche ในโปรเจ็ค Program 4 ที่ได้รับการสนับสนุนจากแพลตฟอร์ม Startup Autobahn ด้วยอีกแรง นอกจากนี้ทาง IOTA และ Porsche ก็จะร่วมทำงานกับบริษัทสตาร์ทอัพอื่น ๆ ในการสร้างโปรแกรมที่บูรณาการในเรื่องของ smart mobility เข้ามาด้วย

Startup Autobahn เป็นแพลตฟอร์มนวัตกรรมที่รวมบริษัทเทคโนโลยีกับผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีของ Silicon Valley เข้ากับวิศวกรที่เก่งที่สุดของเยอรมัน” กล่าวในทวิตเตอร์ของ IOTA

3. DnB

ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน ทาง IOTA ได้ออกมาประกาศว่าทางบริษัทได้เซ็นต์สัญญากับบริษัททางการเงินที่ใหญ่ที่สุดของนอร์เวย์ DnB ซึ่งทาง DnB เองก็มีความสนใจในเทคโนโลยีบล็อกเชนและสินทรัพย์คริปโตเป็นอย่างมากก่อนที่จะมีการร่วมมือกับทาง IOTA เสียอีก

การร่วมมือกันในครั้งนี้จะเป็นการเน้นไปที่การสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ระบบการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลและ collective cross-silo hackathons

Internet of Things (IoT) และการติดต่อสื่อสารแบบ Machine to Machine (M2M) รวมถึงการชำระเงินสำหรับการบริการเล็ก ๆ เริ่มที่จะเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น เราคิดว่าการเข้ามามีส่วนร่วมกับเทคโนโลยี Distributed Ledger อย่าง IOTA จะทำให้เรามีประสบการณ์ที่มีค่ามากรวมถึงมีความรู้เกี่ยวกับโมเดลธุรกิจและกระแสรายได้ในอนาคต และทางเราก็รอคอยที่จะมีส่วนร่วมเข้าไปในโลกของ IOTA มากยิ่งขึ้น” หัวหน้าของด้านเทคโนโลยีของ DLT นาย Lasse Meholm กล่าว

4. BOSCH

Bosch เป็นบริษัทอิเล็กทรอนิกส์สัญชาติเยอรมันซึ่งในตอนนี้เป็นผู้จัดหาอุปกรณ์รถยนต์ที่ใหญ่ที่สุด Bosch มองว่าเทคโนโลยี IOTA จะเข้ามาช่วยในเรื่องของการนำการชำระเงินเล็กน้อยและข้อมูลเข้ามารวมกัน

ซึ่งทาง Bosch เองก็มีได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับโลกของ IoT เป็นอย่างมากโดยคาดว่าจะมีอุปกรณ์กว่า 15.6 พันล้านชิ้นที่จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับ IoT ภายในปี 2020

ทางบริษัทได้ประกาศว่าถึงการร่วมมือกับทางโปรเจ็ค IOTA ในวันที่ 17 ตุลาคม ปี 2017

“เทคโนโลยี Distributed Ledger มีศักยภาพที่จะทำให้แต่ละโปรเจ็ค IoT มีความปลอดภัย มีประสิทธิภาพและความโปร่งใสต่อลูกค้าของโซลูชั่น IoT มากยิ่งขึ้น เป้าหมายของเราคือเพื่อทำให้เทคโนโลยี Distributed Ledger มีการนำไปใช้เพิ่มมากขึ้นทั่วทั้งภาคพื้นตะวันตกตอนกลางเพราะโมเดลธุรกิจและโซลูชั่น IoT เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ” กล่าวโดยนาย Dennis Boecker หัวหน้าฝ่าย IT ของ Bosch Innovation แห่ง Chicago Connectory

“IOTA และ Bosch ได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับการรวม  Internet-of-Things เข้ากับเทคโนโลยี Distributed Ledger ของ IOTA มาตั้งแต่ปี 2015” ผู้ก่อตั้งของ IOTA นาย  David Sønstebø กล่าว “การร่วมมืออย่างเป็นทางการของเราคือเพื่อสำรวจการรวมเทคโนโลยีทั้งสองอย่างนี้เข้าด้วยกันเพื่อนำไปใช้กับบริษัทของทั้งสองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดการใช้งานระบบนิเวศของ IoT ที่มีความปลอดภัยและเปิดสาธารณะ”

5. Fujitsu

ในเดือนกันยายน ทาง IOTA Foundation ได้ร่วมมือกับทาง Fujitsu ผู้จัดหาและให้บริการผลิตภัณฑ์ IT ซึ่งทาง Fujitsu ก็ได้ออกมาประกาศถึงการร่วมมือกันดังกล่าวที่งาน Industrial Trade Fair ที่จัดขึ้นในวันที่ 23 เมษายนที่เมือง Hannover Messe ประเทศเยอรมัน

ภายในงานดังกล่าวทาง Fujitsu ได้จัดแสดงระบบที่ใช้ Tangle ที่ทางโรงงานสมาร์ท Fujitsu แห่ง Augsburg ได้นำมาใช้ โดยกล่วว่า IOTA เป็นมาตรฐานโปรโตคอลแบบใหม่ของการบริการและผลิตภัณฑ์ด้าน IT

ด้านนาย Rolf Werner หัวหน้าของ Fujitsu ในยุโรปตอนกลางได้กล่าวว่า Tangle สามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงข้อห้ามเดิม ๆ ของเทคโนโลยี Distributed Ledger

“เทคโนโลยีใหม่นี้เป็นการใช้พลังงานอย่างมีคุณค่า ให้บริการการทำธุรกรรมโดยไม่มีค่าธรรมเนียมและสเกลดีมากทำให้มันกลายเป็นมาตรฐานอุตสาหกรรมของระบบ automated systems และเศรษฐกิจแบบ machine-to-machine” นาย  Werner กล่าว

ที่มา usethebitcoin

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น