IBM กำลังพยายามควบคุมตลาดคริปโต
Shuttle Holdings บริษัทการลงทุนยักษ์ใหญ่แห่งนิวยอร์กจะเริ่มใช้งานระบบการกำกับดูแลรุ่นทดลองสำหรับสินทรัพย์ทางดิจิทัลซึ่งถูกสร้างบนระบบ Cloud ส่วนตัวและเทคโนโลยีการเข้ารหัสของบริษัท IBM โดยทางบริษัทจะไม่เก็บสกุลเงินคริปโตหรือ Token ไว้กับตัวบริษัทเอง แต่จะนำเสนอเครื่องเมื่อในการดำเนินการดังกล่าวแก่บริษัทอื่นๆแทน
นาย Brad Chun ประธานฝ่ายการลงทุนของบริษัท Shuttle ได้กล่าวถึงกลุ่มเป้าหมายหลักนั้นเป็นธนาคารพาณิชย์ นายหน้า ผู้ควบคุมดูแล กองทุนต่างๆ รวมถึงสำนักงาน กลุ่มผู้ลงทุนและธุรกิจซื้อขายแลกเปลี่ยนต่างๆ ที่ต้องการที่จะควบคุมจัดการด้วยตนเอง
นาย Chun ยังได้กล่าวอีกว่า “ทางบริษัทได้มีกลุ่มลูกค้าที่ได้ทำการเลือกไว้แล้ว ซึ่งเรากำลังจะดำเนินการเปิดให้บริการอย่างจำกัดแก่กลุ่มลูกค้าดังกล่าว” โดยบริการดังกล่าว “ยังไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณะชนได้ อีกทั้งยังมีกลุ่มลูกค้าที่ยังรอรับบริการดังกล่าวอยู่อีก”
ทางบริษัท IBM ได้มีการแสดงถึงหนทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวในการประชุม “Think 2019” ในเดือนก่อน ณ เมืองซานฟราซิสโก ซึ่งนาย Nataraj Nagaratnam ประธานฝ่ายเทคโนโลยี่และหัวหน้าฝ่ายความปลอดภับระบบ ได้กล่าวถึงการเก็บคริปโตว่าเป็นงานชิ้นเอกของระบบ Cloud ของเค้า (Big Blue’s cloud) เลยทีเดียว
“มันไม่มีตัวอย่างไหนที่ดีไปกว่าเทคโนโลยีทางการเงินที่จะเปลี่ยนแปลงโลกอันนี้อีกแล้ว เมื่อพิจารณาสินทรัพย์ดิจิทัล คำถามคือเราจะป้องกันข้อมูลเหล่านั้นได้อย่างไร? สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ผู้คนในอุตสาหกรรมการเงินกำลังเฝ้าหาคำตอบ” นาย Nagaratnam ได้กล่าวเปิดก่อนที่จะเชิญนาย Chun ขึ้นบนเวที
เมื่อได้รับการติดต่อ ทาง IBM ได้ตั้งคำถามหลายคำถามต่อนาย Chun แต่นาย Rohit Badlaney หัวหน้าทีม “Z As a Service” cloud solution ได้กล่าวถึงแผนการดำเนินการของ IBM ในส่วนของบริการการควบคุมดูแลสินทรัพย์ทางดิจิทัล หรือ Digital Asset Custody Service (DACS) ว่า
“สำหรับบริการ DACS ที่มีความสามารถในการเข้ารหัสอย่างทั่วถึงภายในระบบ โดย IBM LinuxONE นั้นเป็นจุดแตกต่างสำคัญที่ทำให้ลูกค้าต้องเลือก IBM ในฐานะที่เป็นแพลตฟอร์มที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับพวกเค้า”
กรณีดังกล่าวได้แสดงให้เห็นว่า IBM นั้นได้เข้าสู่ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากได้มีการพัฒนาโครงการ Hyperledger Fabric ซึ่งเป็นโครงการโครงสร้างส่วนตัวแบบหนึ่งของ Blockchain สำหรับธุรกิจต่างๆ อีกทั้งยังได้มีส่วนร่วมในโครงการที่เกี่ยวกับสกุลเงินคริปโตที่เกิดขึ้นเร็วๆนี้กับมูลนิธิ Stellar อีกด้วย
การกำกับควบคุมคริปโตนั้นอดีตเคยถูกจำกัดอยู่ภายใต้ผู้ให้บริการ Wallet และผู้ใช้บริการซื้อขายแลกเปลี่ยนคริปโตเท่านั้น อย่างไรก็ตามคำสัญญาของกลุ่มธุรกิจนักลงทุนที่จะมุ่งหน้าเข้าสู่ตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลนั้นได้ก่อให้เกิดการแข่งขันเพื่อให้เกิดวิธีการแก้ไขปัญหาที่ปลอดภัยและมีมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ดีซึ่งเป็นที่ยอมรับแก่การใช้งานโดยบริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้
พื้นที่เก็บคริปโตบนระบบ Cloud
บริการการกำกับควบคุมคริปโตที่บริษัท Shuttle และ IBM กำลังนำเสนอนั้นแตกต่างจากวิธีการเก็บเหรียญคริปโตซึ่งถูกใช้โดยผู้ดูแลรักษาคริปโตแบบเดิม ๆอย่างสิ้นเชิง ซึ่ง keys ส่วนตัวนั้นได้ถูกเก็บไว้ในอุปกรณ์ซึ่งไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต
การดำเนินการโดยปราศจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเหล่านี้นั้น เริ่มแรกถูกมองว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันการโจมตีแบบ attack vectors ผ่านระบบเครือข่าย ซึ่งนาย Chun ได้กล่าวไว้ในการนำเสนอว่า “จากมุมมองบนฐานของเทคโนโลยีแล้ว สิ่งนี้นั้นค่อนข้างที่จะเป็นการขัดแย้งกันเอง”
เค้ายังได้กล่าวเพิ่มอีกว่า เหล่าธุรกิจนั้นต้องการที่จะติดต่อกับกลุ่มลูกค้าของพวกเค้าเพื่อการเข้าถึงข้อมูลและเก็บสินทรัพย์ไว้ให้พร้อมใช้งานตลอดเวลาอย่างปลอดภัย (การที่จะนำสินทรัพย์ดังกล่าวออกมาจาก Cold Storage นั้นเป็นอะไรที่ยุ่งยากมาก ๆ )
นาย Chun ยังได้กล่าวอีกว่าระบบ Cloud ของ IBM ได้สร้างฟีเจอร์ที่น่าสนใจซึ่งส่งผลให้บริษัท Shuttle สามารถที่จะสร้างระบบที่ “ปลอดภัยเทียบเท่ากับหรืออาจจะมากกว่า” วิธีการเก็บรักษาไว้ใน Cold Storage Wallet แบบดั้งเดิม
เพื่อการนั้น ระบบวิธีดังกล่าวได้ถูกสร้างบนเครื่องมือ hardware security module (HSM) ซึ่งเป็นเสมือนกล่องเก็บรักษาและเป็นมาตรการความปลอดภัยในตัวซึ่งจัดการ digital keys ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยต่อการถูกคัดลอกหรือเลียนแบบ เค้ายังได้กล่าวเพิ่มอีกว่า
“มันมักจะเป็นสิ่งที่ต้องแลกมาเสมอระหว่างความปลอดภัยและประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามเราจะไม่ใช้ระบบ Cold Storage แบบเดิมเด็ดขาด เราจะเก็บรักษา Keys โดยอาศัยการเข้ารหัสหลายชั้น เพื่อให้องค์กรต่างๆสามารถเก็บแบคอัพเหล่านี้โดยใช้ระบบ pre-existing disaster recovery รวมถึงกระบวนการแบ็คอัพและข้อมูลแบบเดิมได้ ”
ในระหว่างการนำเสนอ นาย Chun ได้กล่าวว่าการผสมผสานของความปลอดภัยและความพร้อมในการใช้งานนี้ แสดงให้เห็นว่าระบบ Cloud ของ IBM นั้นพร้อมมากกว่าสำหรับอนาคตของสินทรัพย์ดิจิทัล
“เมื่อเราได้ชั้นข้อมูลที่เหมาะสมซึ่งมีความพร้อมในการใช้งานและความปบอดภัยที่สูงแล้ว บริษัทต่างๆนั้นสามารถที่จะกำกับควบคุมสินทรัพย์ดิจิทัลทั้งหลายได้โดยไม่จำกัดเพียงสกุลเงินคริปโตเท่านั้น เรากำลังกล่าวรวมถึงอสังหาริมทรัพย์อีกเป็นต้น” นาย Chun กล่าว
เค้ายังกล่าวเสริมอีกว่า ไม่ว่าบริษัท Shuttle นั้นจะเลือกใช้ระบบ HSM แบบไหน วิธีการที่สำคัญคือ HSM-agnostic โดยได้กล่าวต่อไปว่า
“พวกเรานั้นมุ่งเป้าไปที่วิธีการแก้ไขปัญหาทั้งหมด ไม่ใช่แค่เพียงตัว HSM เพราะระบบดังกล่าวของบริษัท Gemalto นั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าของเราเสียอีก ซึ่งเรายินดีที่จะเข้าพูดคุยและร่วมมือกับ Gemalto ในแผนการของเรา โดยบริษัท IBM นั้นมีระบบ HSM ที่เราใช้อยู่ด้วยและมันก็เป็นการง่ายที่จะสับเปลี่ยน ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า”
Cold storage และระบบ HSMs
นอกจากที่ได้กล่าวไปแล้วยังมีการเปรียบเทียบระหว่าง HSMs (Health and Safety Monitoring System) กับ Cold Storage แบบดั้งเดิมโดยเป็นการเปรียบเทียบในแง่ของความปลอดภัยกับประสิทธิภาพเกี่ยวกับการจัดการสินทรัพย์ในรูปคริปโต โดยวิธีการของ Cold Storage นั้นอาศัยการที่มนุษย์ต้องเข้าถึงสินทรัพย์นั้น ๆ ซึ่งการเข้าถึงสินทรัพย์ดังกล่าวนี้อาจจะใช้เวลาเป็นชั่วโมงหรือสองชั่วโมงหรืออาจจะมากถึง 48 ชั่วโมง ส่วน HSMs จะขึ้นอยู่กับกระบวนการอิเล็กทรอนิกส์ล้วน ๆ ซึ่งไม่มีมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้องจะให้ความเร็วที่มากกว่า
ทั้งนี้ไม่ใช่แค่บริษัท IBM เท่านั้นที่ใช้ระบบ HSM เข้ามาจัดการเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิตอล เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาบริษัทสัญชาติสวิตเซอร์แลนด์ Crypto Storage AG ก็ได้ประกาศระบบ HSM ของตัวเองเช่นกัน และจะให้บริการแก่ธนาคารออนไลน์ของสวิตเซอร์แลนด์ที่ชื่อ Swissquote
นอกจากนี้ยังมีบริษัทอื่น ๆ อีกที่ริเริ่มนำระบบ HSM มาใช้ เช่นบริษัท Komainu โดยร่วมมือกับบริษัทผู้ให้บริการ Hard ware Wallet รายใหญ่อย่าง Ledger และ Gemalto รวมถึงธนาคารพาณิชย์ของญี่ปุ่น Nomura ซึ่งคาดว่าจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ออกมาภายในไตรมาสที่สอง ทางด้านนาย Demetrios Skalkotos หัวหน้าแผนกหนึ่งใน Ledger Vault ได้กล่าวว่าทาง Komainu ได้รับอนุญาตให้รวมซอฟต์แวร์ของบริษัทเข้ากับ Gemalto HSM blueprint เป็นที่เรียบร้อย
โดย “เฉพาะธนาคารและรัฐบาลเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตเช่นนั้น” เขากล่าวเสริม
บริษัท Trustology ที่ได้รับการสนับสนุนโดยบริษัท Consensys ก็นำ HSM มาใช้เป็นวิธีการในการเก็บเหรียญคริปโตด้วยเช่นกัน ผู้บริหารของ Trustology นาย Alex Batlin กล่าวว่าผู้คนส่วนมากจะชอบ Cold Storage เพราะว่ามันเป็นการเก็บเหรียญแบบออฟไลน์แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นการนำคนเข้ามาแทนที่เทคโนโลยีเท่านั้นซึ่งคนนั้นสามารถที่จะถูกครอบงำให้ทำในสิ่งไม่ดีได้
“Cold Storage ทำให้คุณเข้าใจผิดเกี่ยวกับการจัดการด้านความปลอดภัย รวมถึงระยะเวลาที่ช้าลงเนื่องจากการที่ต้องอาศัยคำสั่งในการดำเนินการ” นาย Batlin กล่าว
อย่างไรก็ตามนาย Mike Belshe ผู้บริหารของ BitGo กลับเห็นในทางตรงข้าม เขาโต้แย้งว่าความเชื่องช้าที่เกิดจากการที่ต้องอาศัยคำสั่งจากมนุษย์นั้นเป็นราคาที่น้อยมากที่เราต้องจ่ายหากเทียบกับประสิทธิภาพที่เราจะได้รับจาก cold storage ซึ่งเขาได้กล่าวไว้เมื่อปีที่แล้วว่า:
“ถ้าหากคุณเป็นผู้ใช้งานประเภทที่เปิด Key ออนไลน์ไว้หรืออาจจะเก็บ Key ไว้ใกล้ตัวแบบออนไลน์เพื่อที่จะสามารถเคลื่อนย้ายเงินไปที่ใดก็ได้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ เช่น 15 นาที นั่นหมายความว่าคุณไม่ได้เข้มงวดกับการเก็บ Key ที่ตึงมากเกินไปนักซึ่งลูกค้าที่เราได้เข้าไปสอบถามเขาก็พึงพอใจกับวิธีการนี้”
ที่มา : coindesk
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น