<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

[บทความ] เราสามารถนำ Blockchain มาจัดการข่าวปลอมบน Social Media ได้ไหม

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในยุคที่เราสามารถเสพสื่อหรือข่าวได้อย่างเสรีนั้น มันอาจทำให้เกิดข้อมูลที่ผิดพลาดหรือข่าวที่หลอกลวงอยู่ตลอดเวลา โดยมันมักจะปะปนกับข่าวจริง ๆ เสมอ ๆ

สิ่งที่เราสามารถเห็นได้อยู่ทั่วไปก็คือ ข่าวที่อยู่ยน Facebook หรือแพลตฟอร์ม Social Media ยักษ์ใหญ่ของโลกนั่นเอง แต่เราจะมีวิธีไหนที่จะทำให้สามารถป้องกันข่าว Fake หรือข่าวหลอกลวงพวกนี้ได้บ้าง

Blockchain กับข่าวสาร

Ethereum หรือ Blockchain ที่อยู่ในรูปแบบสาธารณะนั้นอยู่ในช่วงพัฒนา และเราก็เชื่อว่า Blockchain นั้นสามารถเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องนี้ได้ แพลตฟอร์ม Centralized อาจไม่สามารถจัดการเรื่องข่าวกรอง ข่าวแท้ ข่าวปลอมพวกนี้ได้ แต่แพลตฟอร์ม Social Network ต่าง ๆ ก็กำลังพัฒนาแพลตฟอร์มด้าน Blockchain ของตนอยู่เหมือนกัน

นาย Mark Zuckerburg เคยกล่าวว่า Blockchain เป็นสิ่งที่น่าสนใจ และเราจะเอา Blockchain มาใช้กับแพลตฟอร์มของเรา

Fake News หรือข่าวปลอม หรือที่หลาย ๆ คนที่เรียกว่า Click bait นั้น มีไว้ก็เพื่อหลอกล่อให้ผู้ใช้งานกดเข้ามาในเว็บไซต์ของตนแล้วสามารถรายได้จากดยอดวิวที่ผู้ใช้งานเผลอกดเข้ามา

อาจต้องยอมรับได้แล้วว่าแพลตฟอร์มอย่าง Facebook นั้นไม่ได้มีไว้สำหรับแชร์ภาพสวย ๆ สถานที่ที่เราได้ไปมาหรือเอาไว้แชร์เกมที่เราเล่นแล้ว จริงแล้วตอนนี้มันอาจถูกเป็นเครื่องมือในการชักจูงด้านข่าวสารไปเป็นที่เรียบร้อย

ศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัย Harvard นาย Jonathan Zittrain กล่าวว่าบริษัทเช่น Facebook และ Twitter นั้นมีความสัมพันธ์ที่คล้ายคลึงกัน และมีอำนาจเหนือกว่าผู้ใช้งาน พวกเขาควรคำนึงถึง “ข้อมูลที่น่าเชื่อถือ”

Facebook ควรมีเครื่องมือในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและแจ้งเตือนผู้อ่านถึงที่มาของข้อูลเหล่านั้นว่า “ถูกตรวจสอบแล้ว”

ในทางปฏิบัติแล้วนั้น มันอาจที่จะมีการเตือนอยู่บนเนื้อหาข่าวทุกข่าวว่าแหล่งข้อมูลนั้นถูกตรวจสอบแล้วว่ามาจากองค์กรหรือบุคคลที่มีชื่อเสียง หรือมีป้ายแดงว่าเป็นแหล่งข่าวที่ไม่ผ่านการตรวจสอบควรใช้ความระมัดระวังในการอ่าน ซึ่งวิธีนี้อาจคล้ายกับ Browser อย่าง Google Chrome ที่คอยเตือนว่ามันไม่ปลอดภัยที่จะเข้าชมเว็บไซต์

เราเชื่อว่าข้อมูลเหล่านี้อาจใช้เทคโนโลยี Blockchain ในการตรวจสอบ แน่นอนว่าอาจมีหน่วยงานหรือภาครัฐนั้นเป็นคนดูแลข้อมูลพวกนี้ และให้บริษัทเอกชนต่าง ๆ มาเข้าร่วมเพื่อที่จะได้รับแนุญาตให้เผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้อย่างถูกต้อง

หรือเราจะใช้ Smart Contracts มาใช้ในการตรวจสอบเช่นการนำ Article เหล่านี้มาทำ Smart Contrats และถ้าบทความไหนไม่ได้ลงทะเบียน Smart Contracts เอิาไว้ก็อาจขึ้นเตือนส่าอาจมีความรุนแรงของเนื้อหา ทีมงาน Social Network ยังคงต้องทำงานและคอยตรวจสอบเนื้อหาบนแพลตฟอร์ม แต่เชื่อว่าเนื้อหาข่าวปลอมจะเริ่มลดน้อยลงเป็นอย่างมาก

ประโยชน์ของ Blockchain ก็คือจำนวนข้อมูลที่ไม่สามารถลบมันออกได้ และจะอยู่ตลอดไป นอกจากนี้การเขียน Dapp บน Ethereum นั้นมีค่าใช้จ่ายด้าน gas เล็กน้อยเท่านั้น

Blockchain จะช่วยมอบความโปร่งใสและมีประโยชน์ใช้สอยต่อสาธารณะ แต่เราต้องจำไว้ว่า Blockchain เป็นเพียงเครื่องมือเท่านั้น สุดท้ายก็อยู่ที่มนุษย์นั่นแหละที่จะเป็นคนที่คอยดูแลข้อมูล

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น