<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

นอกเหนือจาก ICO การระดมทุนผ่านสกุลเงินคริปโตแบบ STO และ IEO จะถูกกฎหมายหรือไม่

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ (SEC) ได้ยื่นฟ้อง ผู้ให้บริการรับส่งข้อความ Kik ในข้อหาที่ทำการเสนอขายเหรียญดิจิทัลที่มีชื่อว่า KIN เป็นครั้งแรกในปี 2017 ซึ่งผิดกฎของตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ วิธีการระดมทุนแบบ ICO นั้นอาจเริ่มเสื่อมความนิยมลงแล้วในช่วงนี้ เนื่องจากเริ่มขาดความน่าเชื่อถือเพราะเกิดการหลอกลวงเงินจากการเสนอขายหลายต่อหลายครั้ง ทำให้ต้องออกกฎทางการเงินขึ้นมาควบคุมมากขึ้น จึงมีวีธีเสนอขายแบบใหม่ 2 รูปแบบที่น่าจะช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมทั้งยังเพิ่มความสะดวกและปลอดภัยสำหรับนักลงทุนที่จะเข้ามาสู่ตลาดเงินคริปโตมากขึ้นด้วย

วิธีการทั้งสองแบบดังกล่าวเรียกว่า การเสนอขายโทเค็นของหลักทรัพย์ ( STO) และการเสนอขายครั้งแรกผ่านตลาด (IEOs) เป็นวิธีใหม่ที่น่าจับตามอง เราจะมาดูกันว่าทัั้งสองแบบจะมีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ข้อมูลเปรียบเทียบระหว่าง STO, IEO และ ICO

ถึงแม้ว่า STO จะคล้ายคลึงกับ ICO โดยทั้งสองแบบเป็นการระดมทุนโดยการใช้เงินไปแลกเหรียญคริปโตหรือโทเค็นเหมือนกัน แต่ในกรณีของ STO จะถือว่าเป็นหลักทรัพย์ ดังที่ได้มีการ อธิบาย ไว้ในข่าวด้านสกุลเงินคริปโตว่าโทเค็น “คือหลักฐานหรือเครื่องมือแสดงสิทธิ์ในหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ที่มีมูลค่าในตัวเอง” คล้ายกับการถือหุ้นของบริษัทนั่นเอง

ส่วนการเสนอขายครั้งแรกผ่านตลาด (IEO) นั้นจะเป็นการแลกเปลี่ยนแบบเฉพาะเจาะจง ข้อมูลจาก CryptoPotato ระบุว่า การเสนอขายในรูปแบบนี้จะมีการจัดการโดยให้ตลาดเงินคริปโต “ทำหน้าที่เป็นตัวแทนให้กับบริษัทที่ต้องการระดมทุนจากโทเค็นที่สร้างขึ้นมาใหม่”

“เนื่องจากการขายโทเค็นต้องทำบนแพลตฟอร์มของตลาด ผู้ออกโทเค็นจะต้องจ่ายค่าบริการเพื่อให้ตลาดนำโทเค็นไปเสนอขายและจะต้องให้ส่วนแบ่งเปอร์เซ็นต์กับตลาดจากจำนวนโทเค็นที่ขายได้ในช่วง IEO แล้วตลาดจึงจะนำเงินคริปโตของบริษัทนั้นไปขายในแพลตฟอร์มของตน หลังจากที่สิ้นสุดกระบวนการ IEO แล้ว เหรียญของบริษัทจึงจะปรากฎในระบบ การที่ตลาดคิดเปอร์เซ็นต์ส่วนแบ่งจากการขายโทเค็นของบริษัทนั้นก็เพื่อนำไปใช้ในการทำการตลาดให้กับผู้ปล่อยขายโทเค็นนั่นเอง

ผู้ที่จะเข้าร่วมลงทุนในกระบวนการ IEO ไม่จำเป็นต้องจ่ายเงินให้กับสัญญาอัจฉริยะเหมือนกับกรณีของ ICO แต่จะต้องสร้างบัญชีขึ้นในแพลตฟอร์มของตลาดที่ทำ IEO แทน แล้วแลกเหรียญไปเป็นทุนในกระเป๋า จากนั้นจึงนำทุนที่มีไปซื้อโทเค็นของบริษัทที่ต้องการจะระดมทุนนี้”

นายแดเนียล แทนเนอร์ ประธานกรรมการบริหารของ Platon Finance ให้ความเห็นว่าเมื่อมีการนำ STO และ IEO เข้ามาใช้ ICO ก็จะเริ่มหมดสมัยไป

มีการหลอกลวงเอาเงินจาก ICO อยู่บ่อยครั้ง ทำให้แวดวงอุตสาหกรรมคริปโตดูแย่ ทั้งๆ ที่มีโครงการดีๆ หลายอย่างที่สมควรจะได้รับการสนับสนุนทางด้านการเงิน

นายแทนเนอร์กล่าวว่า อุตสาหกรรมนี้ยังคงไม่หยุดที่จะทำการระดมทุนต่อไป เพราะเป็นแนวทางไปสู่การพัฒนาโครงการใหม่ๆ โดยที่ “นักลงทุนสามารถมั่นใจในความปลอดภัยได้” แทนเนอร์อธิบายถึงข้อแตกต่างระหว่างกระบวนการสองแบบนี้กับ ICO ว่า STO เป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มากกว่า เนื่องจากมีสินทรัพย์รับรองอยู่จริง และยังเป็นรูปแบบที่มีกฎหมายรองรับ ดังนั้น STO จึงเป็นโครงการที่น่าเชื่อถือเป็นอย่างมาก

แทนเนอร์ยังให้คำเตือนเกี่ยวกับ IEO ไว้ด้วยว่า ผู้ที่สนใจจะเข้าสู่ตลาดผ่านกระบวนการนี้ โปรดใช้ความระมัดระวังและ “ปฏิบัติตามกฎ” การหาตลาดที่จะมีการเปิดขายโทเค็นเพียงอย่างเดียวก็ลำบากพอสมควรแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการออกแรงหรือเงินที่ต้องเสียไป วิธีการ IEO นั้นคล้ายกับ ICO แต่ใช้ตลาดเป็นตัวกลาง แทนเนอร์เสริมว่า

“หากต้องการระดมทุน คุณจะต้องทำผ่านตลาดและกฎต่างๆ ที่ตลาดนั้นกำหนดไว้ เพื่อให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นและรู้สึกปลอดภัย เพราะตลาดเป็นผู้รับรองว่าโครงการของคุณโปร่งใสและมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จ”

ยุคขาขึ้นและขาลงของ ICO

วิธีการระดมทุนสำหรับโครงการใหม่ทั้งแบบ STO และ IEO นั้นถือว่าเป็นวิธีที่ดีกว่าเดิมมาก เนื่องจากทั้งสองแบบสามารถสร้างความน่าเชื่อถือในช่วงเริ่มต้นได้มากกว่าวิธี ICO

นายมัคซิม ไอซมีลอฟ ประธานกรรมการบริหารของ Winding Tree กล่าวว่า

“การระดมทุนในรูปแบบ ICO สามารถบริษัทสามารถระดมทุนจากผู้คนทั่วโลกได้ ความโด่งดัง(ที่เคยมี) ของ ICO เกิดขึ้นได้เพียงครั้งเดียว โทเค็นที่ใช้แทนหลักทรัพย์นั้นไม่แตกต่างจากหุ้นอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีข้อจำกัดแบบเดียวกัน (คือซื้อได้เฉพาะนักลงทุนที่ได้รับการรับรองเท่านั้น) บล็อกเชนและการกระจายอำนาจนั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ STO เลย”

ปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งคือเรื่องกฎและข้อปฏิบัติ นายเดวิด วิลเลียมส์ หัวหน้าฝ่ายเทคโนโลยีของ BlockRules อธิบายว่าโทเค็นความปลอดภัยจะควบคุมหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจายได้

“โทเค็นความปลอดภัยจะกำหนดกฎข้อปฏิบัติไว้เหมือนกันกับ IPO แต่ไม่เหมือนการเสนอขายหุ้นทั่วไปที่เปิดให้ซื้อขายได้เฉพาะตลาดเดียวเท่านั้น เนื่องจาก STO ไม่จำเป็นต้องทำเฉพาะในตลาดใดตลาดหนึ่งเพียงแห่งเดียวก็ได้”

นายวิลเลียม ชี้ให้เห็นถึงความน่าเชื่อถืออีกอย่างหนึ่งของ STO โดยอ้างอิงจากการประชุมอภิปราย Fintech ที่จัดขึ้นเมื่อ เร็วๆ นี้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นองค์กรที่สร้างข้อกำหนดหลักระดับประเทศองค์กรหนึ่ง เขามองว่าการจัดการประชุมในครั้งนี้ของ SEC เป็นก้าวสำคัญก้าวหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าจะเกิดการแผ่ขยายและเกิดการยอมรับเงินคริปโตในอุตสาหกรรมด้านการเงินต่อไปในอนาคตมากขึ้น นายวิลเลียม เสริมว่า

“ถึงแม้ว่าในบางครั้งจะมีผู้เปรียบเทียบ STO กับการเสนอขายเหรียญครั้งแรกว่าการเสนอขายทั้งสองแบบมีการบันทึกไว้ในบล็อกเชนเหมือนกัน แต่ STO จะเป็นไปตามกฎที่กำหนดไว้ ในขณะที่ ICO ถูกออกแบบมาให้หาทางเลี่ยงกฎได้เสมอ จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่านักลงทุนหลายรายที่เลือกวิธี ICO ซึ่งไม่มีกฎการรักษาความปลอดภัยเลยนั้นจะต้องลงเอยด้วยการถูกหลอก”

การขาดมาตรการรักษาความปลอดภัยเช่นนี้ ทำให้ตลาดหลายแห่งเริ่มหันมาส่งเสริมให้ใช้วิธี IEO กันมากขึ้น อย่างไรก็ตาม มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าการเสนอขายในรูปแบบนี้ได้รับความนิยมมากกว่า ICO อยู่เล็กน้อยเนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากตลาด แต่การที่จะหวังพึ่งพาเพียงตลาดคริปโตให้ดูแลทุกอย่างแทนนั้นคงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นทุกอย่างจึงควรเริ่มต้นด้วยการพิจารณาอย่างรอบคอบของตัวเองเป็นอย่างแรก

บทความนี้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกบน Investing.com และถูกนำมาเผยแพร่ต่อบนสยามบล็อกเชน ภายใต้ข้อตกลงของการเป็นพาร์ทเนอร์กันระหว่างบริษัทสยามบล็อกเชนมีเดียกรุ๊ป และ Investing.com

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น