หน่วยงานด้านภาษีของรัฐบาลสิงคโปร์กำลังเสนอให้ยกเลิกการเก็บภาษีสินค้าและบริการ (GST) จากธุรกรรมคริปโตที่ทำหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน
สำนักงานสรรพากรแห่งประเทศสิงคโปร์ (IRAS) ได้เผยแพร่คู่มืออิเล็กทรอนิกส์ e-Tax โดยใช้ชื่อว่า “Digital Payment Tokens” เป็นเอกสารฉบับร่างที่ระบุถึงวิธีการเก็บภาษีคริปโตเคอร์เรนซีที่ต้องการยกเว้นบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิตอลดังกล่าวจากความรับผิดชอบในภาษีสินค้าและบริการ
หากร่างคู่มือผ่านกฎหมายมันจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปี 2020 โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นไปเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะของการชำระเงินโดยใช้โทเค็นดิจิทัล ดังนี้
(1) การใช้โทเค็นดิจิทัลเพื่อการชำระเงินในสินค้าและบริการจะไม่ทำให้อุปทานของโทเค็นนั้น ๆ เพิ่มขึ้น
(2) การแลกเปลี่ยนโทเค็นเพื่อการชำระเงินมาเป็นสกุลเงินเฟียตหรือโทเค็นเพื่อการชำระเงินอื่น ๆ จะถูกยกเว้นจากภาษีสินค้าและบริการ
กรมสรรพากรกล่าวว่าคู่มือ e-Tax ยังอยู่ในช่วงของการร่างและกระทรวงการคลังจะดำเนินการให้คำปรึกษาสาธารณะต่อจากนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 26 กรกฎาคม เรียกว่าเป็นช่วง “การแก้ไขกฎหมายสำหรับโทเค็นการชำระเงินดิจิทัล”
คู่มือฉบับร่างยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีกำหนดโทเค็นดิจิทัลเพื่อการชำระเงินซึ่งควรมีคุณสมบัติตามรายการด้านล่างทั้งหมด:
ก) มันจะแสดงเป็นหน่วย
ข) เป็นสิ่งที่ทดแทนได้
ค) ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสกุลเงินใด ๆ และไม่ได้อิงค่าโดยบริษัทหรือผู้ออกสกุลเงินใด ๆ
ง) สามารถทำการโอน, เก็บหรือเทรดทางอิเล็กทรอนิกส์ได้
จ) เป็นสื่อการหรือมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยนที่ได้รับการยอมรับจากสาธารณชนหรือส่วนหนึ่งของสาธารณชนโดยไม่มีข้อจำกัดอย่างมีนัยสำคัญเกี่ยวกับการใช้งานของมันเป็นการพิจารณา
ตัวอย่างของโทเค็นดิจิทัลเพื่อการชำระเงิน เช่น Bitcoin, Ethereum, Litecoin, Dash, Monero, Ripple และ Zcash แต่ stablecoin ที่เป็นคริปโตเคอร์เรนซีอีกประเภทหนึ่งที่ผูกติดกับค่าสกุลเงินของประเทศหนึ่งประเทศใดไว้จะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีจากสินค้าและบริการ อ้างอิงจากเอกสารของกรมสรรพากร
“โทเค็นใด ๆ ที่มีการผูกติดค่าเงินไว้กับเงินเฟียตจะไม่ถูกพิจารณาเป็นโทเค็นดิจิทัลเพื่อการชำระเงิน เช่น โทเค็นดิจิทัลที่ยึดโยงมูลค่ากับดอลลาร์สหรัฐจะไม่ถูกพิจารณาเป็นโทเค็นดิจิทัลเพื่อการชำระเงิน เป็นต้น”
กรมสรรพากรสิงคโปร์กล่าวว่า
“ความพยายามที่จะยกเว้นภาษีสินค้าและบริการจากคริปโตเคอร์เรนซีเป็นเพราะการพัฒนาทั่วโลกและการเติบโตในพื้นที่ที่ทำให้เขตอำนาจศาลต่าง ๆ จำต้องทบทวนจุดยืนของตน กรมสรรพากรจึงได้ตรวจสอบสถานะภาษีสินค้าและบริการเพื่อให้ทันกับการพัฒนาเหล่านี้”
แต่ในตอนนี้โทเค็นดิจิทัลเพื่อการชำระเงินยังคงถูกมองว่าเป็นการบริการซึ่งสามารถเก็บภาษีการบริการได้อยู่
“ดังนั้นการขาย, การออกหรือการโอนโทเค็นโดยธุรกิจที่จดทะเบียนกับกรมสรรพากรแล้วก็อยู่ภายใต้อำนาจของกรมสรรพากร เมื่อโทเค็นถูกใช้เพื่อเป็นการชำระค่าสินค้าและบริการหรือการแลกเปลี่ยนระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายสามารถถูกเก็บภาษีสินค้าและบริการได้”
ส่วนในประเทศอื่น ๆ เช่น ออสเตรเลียนั้นเมื่อเดือนตุลาคมปี 2017 ฝ่ายนิติบัญญัติของประเทศออสเตรเลียได้ออกกฎหมายเพื่อยกเลิกการเก็บภาษีซ้ำซ้อนและยกเว้นภาษีสินค้าบริการที่เกิดจากการใช้คริปโตเคอร์เรนซีเพื่อชำระค่าสินค้าและบริการ
ที่มา coindesk
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น