สำนักข่าว Reuters รายงานว่านาย Ueli Maurer ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของประเทศสวิตเซอร์แลนด์กล่าวว่าทาง Facebook จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนระบบตระกร้าเงิน (basket of currencies) ที่ทาง Libra ใช้เนื่องจากธนาคารกลางต่างๆ ไม่ยอมรับระบบนี้
ระบบตระกร้าเงินเป็นระบบที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศแบบหนึ่ง โดยตัวระบบจะทำงานกับเหรียญจำนวนหนึ่งที่เข้าร่วมโดยมีอัตราแลกเปลี่ยนที่แตกต่างกันไป ระบบตระกร้าเงินมีข้อดีที่มันสามารถลดความเสี่ยงจากความแปรผันทางการเงินได้ ตัวอย่างของระบบตระกร้าเงินในอดีตคือสกุล European Currency Unit ที่สมาชิกในประเทศ EU ใช่ก่อนที่จะเปลี่ยนมาใช้เป็นเงินสกุลยูโรในปัจจุบัน
ทาง Facebook เสนอในตอนแรกว่าจะออกแบบให้ Libra เป็นหน่วยมูลค่าหลักที่ผูกเข้ากับระบบตระกร้าเงินและหนี้ธาธารณะของแต่ประเทศ แต่เมื่อเดือนตุลามคมนาย David Marcus ซีอีโอของ Libra กล่าวงานสัมนาต่างประเทศว่าเขากำลังเปิดรับทางเลือกอื่นๆ เสมอ ในตอนนั้น Libra กำลังเผชิญหน้ากับอุปสรรคทางกฎหมายและบริษัทพาร์ทเนอร์ของ Libra จำนวนหนึ่งตัดสินใจถอนตัวจากโปรเจ็คต์ตามที่มีองค์กรทางกฎหมายเตือน เช่น Visa, Mastercard, Paypal, eBay
นาย Markus พูดไว้ว่า “เราสามารถสร้างมันในทางที่ต่างไปจากเดิมได้ แทนที่เราจะสร้างให้มันเป็นสกุลเงินเดียว…เราทำให้มันเป็นกลุ่ม Stablecoins เช่น ดอลลาร์ stablecoin, ยูโร stablecoin หรืออื่นๆ”
“เราสามารถสร้างให้มันเป็นกลุ่ม stableccoin จำนวนมากที่แทนถึงสกุลเงินประจำชาติต่างๆ ในรูปแบบของสกุลเงินดิจิตอล นี้คือหนึ่งในทางเลือกที่พวกเราจะนำไปพิจารณา”
ซึ่งตั้งแต่นั้นมานาย David Markus ก็ไม่ได้ออกมาพูดอะไรเกี่ยวกับประเด็นนี้เพิ่มเติมอีก
“ผมไม่คิดว่า Libra ไม่มีโอกาสในตอนนี้ถ้ามันใช้ระบบนี้ เพราะธนาคารกลางต่างๆ จะไม่ยอมรับระบบตระกร้าเงินที่มันซัพพอร์ตแน่”
นาย Ueli Maurer เล่าความคิดเห็นของตนให้สำนักข่าว SRF ของสวิตเซอร์แลนด์ฟังเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม
“ดังนั้นแล้วโปรเจ็คนี้ (Libra) จึงล้มเหลว”
นาย Maurer เสริม
โดยทาง Libra ยังไม่ออกมาตอบสนองต่อบทสัมภาษณ์ดังกล่าวแต่อย่างใด
ในช่วงที่ผ่านมาทาง Libra พบเจอกับทั้งข่าวดีและข่าวร้าย
ข่าวดีจากรายงานก่อนหน้านี้ของทางสยามบล็อกเชนในการทดสอบเครือข่ายของ Libra นั้นกลับพบว่าในตอนนี้เหรียญ Libra มีการทำธุรกรรมมากกว่า 51,000 ธุรกรรมนับตั้งแต่เดือนกันยายนแล้ว
นอกจากนี้บริษัทได้เปิดตัวแพลตฟอร์มชำระเงินใหม่ที่เรียกว่า “Facebook Pay” อีกด้วย โดยแพลตฟอร์ม Facebook Pay จะไม่ใช่บริการชำระเงินด้วยเหรียญดิจิทัลแต่จะเป็นระบบชำระเงินที่ใช้บัตรเครดิต บัตรเดบิตและ PayPal
ผู้ใช้งานสามารถใช้ Facebook Pay ในการซื้อสินค้าจากร้านค้า, โอนเงินหากันและบริจาคให้การกุศล ระบบการชำระเงินนี้จะสามารถใช้ข้ามกันได้ผ่านทางแอปพลิเคชั่นที่ร่วมกับ Facebook เช่น Messenger, Facebook, WhatsApp และ Instagram ได้อีกด้วย
ตอนนี้ทาง Libra Association เหลือสมาชิกอยู่ 21 รายรวม Facebook ด้วยได้ลงนามข้อตกลงภายใต้กฎบัตรที่เมืองเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์เมื่อเดือนที่แล้ว
แต่ในด้านข่าวร้ายในต้นเดือนธันวาคมทางฝ่ายกฎหมายของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาสนับสนุนให้ออกกฎหมายที่จะนิยาม stablecoins ว่าเป็นทรัพย์สินแบบหลักทรัพย์ (securities) แต่ทาง Libra ต้องการให้เหรียญ stablecoins ของตนอยู่ในสถานะสินค้าโภคภัณฑ์หรือทรัพย์สินจับต้องได้ (commodities)
ซึ่งที่ผ่านมาคนดังในโลกคริปโตก็วิพากษ์วิจารณ์กับเหรียญ Libra พอสมควร
นาย Brad Garlinghouse ซีอีโอของ Ripple เชื่อว่า Libra ของ Facebook จะไม่สามารถเปิดตัวได้จนกว่าจะถึงปี 2023 เขากล่าวว่า “ปัญหาเรื่องกฎหมายของ Libra จะเป็นอุปสรรคในการปล่อยเหรียญ”
นาย Changpeng Zhao ซีอีโอของเว็บเทรด Binance ก็เคยแสดงความคิดเห็นในทวิตเตอร์ทางการของตนเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เขาคิดว่าเหรียญ Libra จะไม่มีประสิทธิภาพ
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนบอกว่ากระแสด้านลบของกฎหมายที่เป็นอุปสรรคแก่ Libra จะไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเนื่องจากคู่แข่งเศรษฐกิจอย่างจีนก็มีแผนจะสร้างสกุลเงินดิจิตอลเป็นของตัวเอง ดังนั้นแล้วจีนอาจจะตัดหน้าสหรัฐก็เป็นได้ ทั้งๆ ที่ในตอนแรกหลายคนเชื่อว่าเหรียญ Libra จะมาเป็นคู่แข่งกับเหรียญสกุลดิจิตอลของประเทศจีน
เห็นได้ว่า Facebook นั้นก็พยายามที่จะผลักดันโปรเจ็ค Libra ต่อไปอย่างไม่ย่อท้อแม้จะเจอกับอุปสรรคด้านกฎหมายและภาครัฐก็ตาม ล่าสุดนาย Marcus กล่าวว่าอุปสรรคทางกฎหมายจะทำให้ Libra เปิดตัวช้ากว่ากำหนดเดือนมิถุนายน
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น