<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

รัฐบาลจีนยื่นขอสิทธิบัตรเพิ่มเติม เพื่อเตรียมเปิดตัวเหรียญ Cryptocurrency ของตัวเอง

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ปัจจุบันจีนเป็นผู้นำในด้านการชำระเงินดิจิทัลเมื่อเปรียบเทียบจากผู้ใช้งานโดยเฉลี่ย ในขณะที่การชำระเงินในสหรัฐอเมริกาเช่น Apple Pay กำลังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้น แต่ทว่าในประเทศญี่ปุ่นวิธีการดังกล่าวยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมแพร่หลายมากนัก Alipay ได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในประเทศจีนสามารถใช้สกุลเงินเฟียตในการทำธุรกรรม ซึ่งดูเหมือนว่าพวกเขาเคยชินกับการชำระเงินและสกุลเงินดิจิทัลอย่างมาก

ธนาคารกลางจีนได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจให้สอดคล้องกับกฎระเบียบคริปโต

แม้ว่าก่อนหน้านี้จีนจะออกมาประกาศยอมรับเทคโนโลยีบล็อกเชนอย่างเป็นทางการ แต่ถึงกระนั้นจีนก็ยังคงไม่อ่อนข้อให้กับคริปโตเคอเรนซี่ โดยเราจะเห็นได้ว่าเมื่อช่วงเดือนธันวาคมปีที่แล้ว รัฐบาลจีนได้ออกมาประกาศเตือนบริษัทในประเทศว่าไม่ให้ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ cryptocurrency ในทุกกรณี เนื่องจากบางแพลทฟอร์มนั้นได้ “ละเมิดกฎข้อบังคับอย่างรุนแรง” (ตามกฎที่เคยถูกบังคับใช้เมื่อปี 2017)

อย่างไรก็ตามจีนยังคงสนใจในเทคโนโลยีบล็อกเชนอย่างมากและกำลังเตรียมพร้อมที่จะเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลของประเทศในเร็ว ๆ นี้ โดยอ้างอิงจากสื่อข่าว Financial Times ที่เปิดเผยว่า ล่าสุดธนาคารประชาชนจีนเพิ่งยื่นคำขอสิทธิบัตรมากกว่า 80 รายการไปเมื่อไม่นานมานี้เพื่อเป็นการเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลตัวใหม่นั่นเอง

นาย Marc Kaufman หุ้นส่วนและทนายความสิทธิบัตรที่ Rimon Law ให้สัมภาษณ์กับทางสำนักข่าว Financial Times ว่า :

“การยื่นขอสิทธิบัตรเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการผสมผสานระบบสกุลเงินดิจิทัลรวมเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานเดิมของธนาคารที่มีอยู่”

ซึ่งดูเหมือนว่าการยื่นขอสิทธิบัตรในครั้งนี้จะสอดคล้องการออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับการเข้ารหัสแบบคริปโตกราฟฟิคก่อนหน้านี้ที่จะเข้ามาช่วยลดช่องโหว่ทางไซเบอร์ของจีนในระดับประเทศ แต่ทว่าอย่างไรตามข้อกฎหมายนั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลโดยตรงและไม่ได้พูดถึง Bitcoin หรือคริปโตเคอเรนซี่สกุลอื่น ๆ แต่อย่างใด 

จากที่กล่าวมาข้างต้นสรุปได้ว่าการยื่นขอสิทธิบัตรจะเป็นแรงผลักดันที่สำคัญในการเปิดตัวเงินหยวนดิจิทัลของจีน รวมไปถึงนโยบายอื่น ๆ ของจีนเช่น ออกกฏหมายใหม่เกี่ยวกับการเข้ารหัส ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะถูกรวมเข้าเป็นมาตรฐานเดียวกันก่อนที่จะมีการเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลนั่นเอง

ที่มา : cointelegraph

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น