<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

BitMEX ทดสอบรันโหนด Bitcoin ผ่านดาวเทียม ไม่ต้องใช้อินเทอร์เน็ต

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ฝ่ายวิจัยของบริษัทเว็บเทรดคริปโตชื่อดัง BitMEX กำลังทดสอบระบบดาวเทียมสำหรับ Bitcoin ที่จะทำให้ผู้ใช้งานสามารถรัน node ผ่านดาวเทียมบนอวกาศได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต

โดยอ้างอิงจาก blog ของพวกเขานั้น ทาง BitMEX กล่าวประกาศความสำเร็จในการติดตั้งระบบดาวเทียม Blockstream Bitcoin หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้ทำการทดสอบเกี่ยวกับการขุด Bitcoin ไปแล้ว โดยทางทีมได้ทำการใช้งานชุด kit ของ Blockstream Satellite เวอร์ชัน pro และ เสาอากาศ โดยทั้งหมดนี้มีต้นทุนอยู่ที่ 37,260 บาท

การติดตั้งดังกล่าวนั้นใช้เวลาอยู่ 2-3 ชั่วโมง กล่าวโดยทาง BitMEX พร้อมเสริมว่า

“สิ่งสำคัญที่ทุกคนต้องทำก็คือติดตั้งจานรับสัญญาณ, ยิงมันไปที่ทิศทางที่ถูกต้อง, เชื่อมต่อมันเข้ากับคอมพิวเตอร์ที่รัน Linux และรันซอฟต์แวร์ของ Blockstream พร้อม ๆ กับ Bitcoin Core เวอร์ชัน 0.19.1 ที่ถูกปรับแต่งแล้ว”

ภายหลังจากการติดตั้งแล้ว ตัว node ที่อยู่บนดาวเทียมนั้นดูเหมือนว่าจะทำงานช้ากว่าถึง 2 นาที อ้างอิงจากการทดสอบของ BitMEX ซึ่งบ่งบอกว่าการรับและยืนยันข้อมูลของ block ทั้งหมดนั้นอาจมีการ delay เล็กน้อยเมื่อใช้ดาวเทียม

“ตัว client จะทำการดาวน์โหลด block มาเป็นส่วน ๆ โดยอย่างแรกก็คือ block header ตามมาด้วย body หลักของ block โดยทั้งหมดนี้จะมาแบบเป็นส่วน ๆ ซึ่งเป็นไปตามการทำงานของดาวเทียมในการส่งสัญญาณข้อมูล ซึ่งตัว node นั้นมักจะไม่ดาวน์โหลดข้อมูลแบบลื่นไหลเหมือนกับที่ใช้บนอินเทอร์เน็ต แต่กระนั้นมันก็สามารถเติมเต็มช่องว่างของ block ที่หายไปได้ในภายหลัง”

ดาวเทียมดังกล่าวนั้นทำให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่อและ sync ตัว node Bitcoin ของพวกเขาได้ หรือแม้แต่การดาวน์โหลดและยืนยัน block ก็ทำได้โดยไม่ต้องติดต่อกับอินเทอร์เน็ต ดังนั้นใครก็ตามที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และไม่มีอินเทอร์เน็ตก็สามารถที่จะใช้ดาวเทียมให้เป็นประโยชน์ได้ นอกจากนี้มันยังสามารถลดความเสี่ยงของการถูกโจมตีแบบ eclipse attack ได้อีกด้วย อ้างอิงจาก BitMEX

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา บริษัทด้านเทคโนโลยี Blockstream ได้ออกมาประกาศเปิดตัวอัพเกรดให้กับบริการด้านดาวเทียมแบบฟรีของพวกเขา โดยตัวอัพเกรดดังกล่าวนั้นได้นำเอาความต้องการของอินเทอร์เน็ตออกโดยสมบูรณ์ และเพิ่มความจุข้อมูลจาก 120 kbps ให้เป็น 1.6 Mbps