<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ก.ล.ต.กล่าวโทษผู้เก็บ Key อดีตเว็บเทรด Bitcoin เบอร์ 1 ในไทย Bx ข้อหาโอนเหรียญคริปโตลูกค้าไปที่อื่น

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ดูเหมือนว่าในวันนี้ ก.ล.ต. ไทยนั้นจะเริ่มลงดาบกับผู้ที่มีหน้าที่เก็บ private key ของกระเป๋าเก็บเหรียญของลูกค้าของอดีตผู้ให้บริการเว็บกระดานซื้อขายเหรียญคริปโตเบอร์หนึ่งของไทยอย่าง Bx แล้ว ข้อหาโอนเหรียญของลูกค้าออกจาก wallet ไปโดยไม่ได้รับอนุญาตแล้ว

โดยอ้างอิงจาก ThaiPBS นั้น ทาง ก.ล.ต. ได้ออกมากล่าวโทษกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เก็บรักษา private key ของอดีตเว็บกระดานเทรดคริปโตที่ประกาศปิดตัวลงไปเมื่อปลายปีที่แล้ว BX ในข้อหาโอนสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าที่อยู่ในความดูแลหรือครอบครองของ BX ออกไปยัง wallet ที่ไม่ได้มีไว้เพื่อเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า

โดยในรายงานนั้นกล่าวว่า

“สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวโทษกรรมการ ผู้จัดการ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้เก็บรักษา private key ของ BX พร้อมแจ้งเบาะแสบุคคลที่อาจเป็นบุคคลที่บริษัทมอบหมายให้เก็บรักษา private key ซึ่งอยู่ในข่ายที่อาจเป็นผู้กระทำความผิด ภายหลังตรวจสอบพบการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล กรณีผู้กระทำผิดโอนสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าที่อยู่ในความดูแลหรือครอบครองของ บริษัท บิทคอยน์ จำกัด (BX) ออกไปยังกระเป๋าเงินดิจิทัล (wallet) ที่ไม่ได้มีไว้เพื่อเก็บสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า ต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (ปอศ.) เพื่อพิจารณาสอบสวนดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด และแจ้งการกล่าวโทษให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอก เงินเพื่อพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร”

ก่อนหน้านี้ทาง Bx นั้นได้แจ้งหยุดกิจการของบริษัททั้งหมด และลูกค้าที่ประสงค์จะขอเหรียญคริปโตคืนนั้นจะไม่สามารถติดต่อทาง Bx ได้อีกต่อไป

แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นทางก.ล.ต. ตรวจพบว่า หลังจากที่ทาง Bx แจ้งหยุดให้บริการไปแล้ว พวกเขากลับ “โอนสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้าที่อยู่ภายใต้ความดูแลและความครอบครองของ BX ใน wallet ที่ BX ใช้เก็บรักษาสินทรัพย์ดิจิทัลของลูกค้า ออกไปยัง wallet ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมดูแลของ BX”

และนั่นส่งผลทำให้พวกเขาเข้าข่ายทำผิดกฎหมายมาตรา “85 แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 (พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล) และเป็นการกระทำการหรือไม่กระทำการเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อตนเองหรือผู้อื่นอันเป็นการเสียหายแก่นิติบุคคลนั้น อันเป็นการกระทำที่เข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 87 แห่ง พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล”

อย่างไรก็ตาม การกล่าวโทษของ ก.ล.ต. เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของกระบวนการบังคับใช้กฎหมายทางอาญาเท่านั้น ซึ่งเราก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าพวกเขาจะออกมาแสดงท่าทีอย่างไรหลังจากนี้ ทางสยามบล็อกเชนจะรายงานให้ทราบในภายหลัง