<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

3 เหตุผลที่บ่งบอกว่าราคา Ethereum อาจพุ่งแตะระดับ 2,000 ดอลลาร์ได้

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

หลังจากที่ราคา Ethereum ลดลงกว่า 27% ในช่วงสามวันที่ผ่านมา ในที่สุด ETH ก็ได้ดีดตัวพุ่งขึ้นอย่างรุนแรงจนสามารถแตะจุดสูงสุดตลอดกาลในช่วงเมื่อวานนี้

โดยการฟื้นตัวของราคาในครั้งนี้ คาดว่ามีสาเหตุมาจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของมูลค่าสินทรัพย์ที่ถูกล็อคไว้ในโปรโตคอล (TVL) และวอลุ่มการทำธุรกรรมที่เพิ่มสูงขึ้นในภาค Defi

อย่างไรก็ตามเพื่อพิจารณาถึงสาเหตุที่อยู่เบื้องหลังการพุ่งขึ้นของราคา Ethereum ในครั้งนี้มากขึ้น เราจะมาเจาะลึกรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลบนเครือข่ายและข้อมูลในตลาดฟิวเจอร์สกัน

การแห่ถอนเงินออกจากเว็บเทรด

กระแสเงินไหลออกจากเว็บกระดานเทรดที่เพิ่มสูงขึ้นนี้อาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่ การ Staking, การทำฟาร์มสภาพคล่องหรือการที่ผู้ซื้อโอนเหรียญไปเก็บไว้ใน Cold Storage โดยปกติแล้วเงินฝากที่ไหลเข้าอย่างสม่ำเสมอจะเป็นการบ่งบอกถึงความเต็มใจที่จะขายในระยะสั้น แต่ในทางกลับกันกระแสเงินไหลออกมักจะบ่งบอกถึงช่วงเวลาการเก็บสะสมของเหล่า “ปลาวาฬ”

จากกราฟด้านบนแสดงให้เห็นว่าเมื่อวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมา จำนวนเงินสำรอง Ethereum บนเว็บเทรด ได้ร่วงแตะจุดต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2018

แม้จะมีการถกเถียงกันว่า นี่อาจเป็นส่วนหนึ่งของ Ethereum ที่โอนกันภายในระหว่างเว็บเทรด Bitfinex cold wallets แต่ถึงอย่างนั้นมันก็มีแนวโน้มที่จะเป็นการถอนออกเพียงอย่างเดียวในช่วง 30 วันที่ผ่านมา 

นอกจากนี้ข้อมูลดังกล่าวยังได้เกิดขึ้นพร้อมกับช่วงเวลาที่มูลค่าสินทรัพย์ในโปรโตคอล (TVL) พุ่งแตะจุดสูงสุดตลอดกาลที่ระดับ 26 พันล้านดอลลาร์อีกด้วย ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกแล้วว่า นักลงทุนได้ตัดสินใจเลือกที่จะใช้ประโยชน์ในพื้นที่ Defi เพื่อทำกำไรแทนเว็บเทรดแบบ Centralized

สัญญาฟิวเจอร์สถูกซื้อมากเกินไป

ด้วยการเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมในการซื้อขาย (expense gap) ระหว่างตลาดฟิวเจอร์สและตลาดสปอต สิ่งนี้จะช่วยให้นักเทรดสามารถประเมินระดับความแข็งแกร่งในตลาดได้

โดยปกติแล้วสัญญาฟิวเจอร์สราย 3 เดือนจะมีอัตราค่าพรีเมี่ยมรายปีอยู่ที่ 6% ถึง 20% เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดสปอต ซึ่งเมื่อใดก็ตามที่ตัวชี้วัดเริ่มลดต่ำลงหรือเปลี่ยนกลายเป็นค่าลบ นี่จะเป็นสัญญาณเตือนที่บ่งชี้ว่าตลาดกำลังเปลี่ยนไปเป็นช่วงขาลง

ในทางกลับกันตัวชี้วัดที่สูงกว่าระดับ 20% ขึ้นไปมักจะเป็นการส่งสัญญาณว่ามีการใช้อัตราเลเวอเรจจากผู้ซื้อมากเกินไป ทำให้นักเทรดมีโอกาสที่จะถูกล้างพอร์ตเป็นจำนวนมาก 

จากกราฟด้านบนแสดงให้เห็นว่า อัตราค่าพรีเมี่ยมสูงสุดนั้นอยู่ที่ระดับ 6.5% ในวันที่ 19 มกราคม หรือคิดเป็นอัตราค่าพรีเมี่ยมประมาณ 38% ต่อปี ระดับนี้บ่งบอกถึงสภาวะที่มีความต้องการซื้อมากจนเกินไป เนื่องจากนักเทรดต้องการให้ราคาปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ก่อนที่จะสัญญาจะหมดอายุเพื่อทำกำไรจากมัน

วอลุ่มซื้อขายในตลาดสปอตยังคงแข็งแกร่ง 

นอกเหนือจากข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสัญญาฟิวเจอร์สแล้ว นักเทรดยังได้จับตามองไปที่วอลุ่มการซื้อขายในตลาดฟิวเจอร์สด้วยเช่นกัน เพราะโดยปกติแล้ววอลุ่มการซื้อขายที่น้อยมักบ่งบอกถึงการขาดความลังเลของนักลงทุน ดังนั้นราคาที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญควรมาพร้อมกับกิจกรรมการซื้อขายที่แข็งแกร่ง

เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา Ethereum มีวอลุ่มการซื้อขายเฉลี่ยอยู่ที่ 6.1 พันล้านดอลลาร์ต่อวันและแม้ว่าตัวเลขนี้จะห่างไกลจากจุดสูงสุดตลอดกาลที่ 12.3 พันล้านดอลลาร์ของวันที่ 11 มกราคม แต่อย่างน้อยมันก็ยังคงสูงกว่าเดือนธันวาคมถึง 240% ดังนั้นเหตุการณ์ดังกล่าวจึงถือว่าเป็นตัวชี้วัดในเชิงบวก

อีกทั้งยังมีการวิเคราะห์ตำแหน่ง Position ของนักเทรดอันดับต้น ๆ ในตลาด Spot และตลาดฟิวเจอร์สที่จะช่วยให้เราได้รับมุมมองที่ชัดเจนมากขึ้นว่า ตลาดคริปโตมีแนวโน้มที่จะเป็นขาขึ้นหรือขาลง

ดัชนีนักเทรดอันดับต้น ๆ ของ Binance และ Huobi พบว่ามีการเปิด Position ของ Ethereum ในระดับที่ใกล้เคียงกันในช่วงสองสามวันที่ผ่านมา โดยค่าเฉลี่ยของ Huobi ในช่วง 30 วันที่ผ่านมามีอัตราส่วน Long-to-Short เฉลี่ยอยู่ที่ 0.83 ในขณะที่นักเทรด Binance มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.94 ซึ่งบ่งชี้ให้เห็นถึงความรู้สึกที่เป็นช่วงขาลงเล็กน้อย

ในขณะเดียวกัน OKEx ก็พบว่ามีอัตราส่วน Long-to-Short สูงสุดอยู่ที่ระดับ 2.0 ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากในวันที่ 22 มกราคม ก่อนที่จะลดลงจนถึงวันที่ 24 มกราคมและกลับมาอยู่ที่ระดับ 1.05 

ด้วยความจริงที่ว่านักเทรดอันดับต้น ๆ มีการซื้อขายที่ลดน้อยลงในวันนี้ ดังนั้นสิ่งนี้จะเป็นการบ่งชี้ให้เห็นแล้วว่า ตลาดอาจจะกลับมาดำเนินการต่อในช่วงขาขึ้น