<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Solana คืออะไร ทำไมราคาถึงพุ่งแรงกว่า 100% ในเวลาไม่กี่วัน

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เกือบหนึ่งปีครึ่งหลังจากการเปิดตัว mainnet beta ในเดือนมีนาคม 2020 Solana ก็ได้กลายเป็นบล็อกเชนที่ร้อนแรงที่สุดในปัจจุบัน และกลายเป็นหนึ่งในบล็อกเชน web-scale ตัวแรกของโลกบนเครือข่ายที่เร็วที่สุด ด้วยความเร็วในการทำธุรกรรมที่เคลมว่าเร็วมากถึง 50,000 TPS (ธุรกรรมต่อวินาที)

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามูลค่าของเหรียญ SOL ได้เห็นการเพิ่มขึ้นกว่า 72% และตอนนี้ได้ขยับขึ้นมาเป็นเหรียญคริปโต 10 อันดับแรกที่มีมูลค่าตลาดมากที่สุด โดยมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์และมีอัตราการเติบโตมากถึง 1,900% ต่อปี 

เครือข่าย Solana กลายเป็นที่รู้จักในนามบล็อกเชนเจเนอเรชั่นที่สี่ที่มีจุดมุ่งหมายเข้ามาแก้ปัญหาบล็อกเชนเจเนอเรชั่นที่สามผ่านทางการสร้างเครือข่ายที่รวดเร็วและสามารถปรับขนาดได้ โดยไม่กระทบต่อความปลอดภัยหรือการกระจายอำนาจ โปรโตคอลนี้ได้นำเสนอเทคโนโลยีหลัก 8 ประการที่ช่วยทำให้การทำธุรกรรมสามารถปรับขนาดตามสัดส่วนด้วยแบนด์วิดธ์ ส่งผลให้เครือข่ายได้รับความเร็วในการทำธุรกรรมและการรักษาความปลอดภัยในระดับเทียบเท่ากับองค์กร

Solana คืออะไร ?

Solana คือ Blockchain Web-scale, โปรโตคอลแบบ open-source และสถาบันพัฒนาแอปพลิเคชันรูปแบบกระจายอำนาจ (DApps) 

โปรโตคอลของ Solana นั้นรวดเร็ว ปลอดภัย และทนต่อการถูกเซ็นเซอร์ ที่ช่วยมอบความยืดหยุ่นจากโครงสร้างพื้นฐานแบบเปิดที่จำเป็นต่อการสร้างแอปพลิเคชันในการปรับใช้กับธุรกรรมเป็นจำนวนมาก

บล็อกเชนดังกล่าวได้มอบโครงสร้างพื้นฐานแบบกระจายอำนาจที่ปลอดภัย สามารถปรับขนาดได้ ซึ่งจำเป็นสำหรับ DApps ในอนาคตและตลาดซื้อขายแบบกระจายอำนาจ ด้วยการใช้ประโยชน์จากชุดเทคโนโลยีการคำนวณที่ก้าวล้ำ สามารถรองรับโหนดได้หลายพันโหนด  และช่วยให้ธุรกรรมสามารถปรับขนาดได้ตามสัดส่วนแบนด์วิดท์บนเครือข่าย

Solana จะใช้กลไกที่สอดคล้องกันระหว่าง proof-of-stake (PoS) และ proof of history (PoH) ร่วมกัน เพื่อปรับปรุงปริมาณงานและเพิ่มความสามารถในการปรับขนาด ดังนั้นเครือข่ายจึงเคลมว่าสามารถรองรับการทำธุรกรรมได้สูงถึง 50,000 ธุรกรรมต่อวินาที (TPS) ทำให้ Solana กลายเป็นหนึ่งในบล็อคเชนที่เร็วที่สุดในโลก

เพื่อให้เข้าใจว่า Solana ทำงานอย่างไร อันดับแรกเราจะต้องพิจารณาสถาปัตยกรรมของมันก่อน โดยเนื้อหาด้านล่างจะเป็นการอธิบาย 8 นวัตกรรมหลักที่ทำให้ Solana กลายเป็น Blockchain web-scale ตัวแรกของโลก

Proof of history (PoH) 

แม้จะมีชื่อว่า PoH แต่ทว่ามันไม่ใช่กลไกฉันทามติ PoH เป็นนาฬิกาแบบเข้ารหัส (cryptographic clock) ที่ช่วยให้โหนดสามารถจัดลำดับเวลาของเหตุการณ์บนเชนได้ โดยไม่ต้องส่งข้อความหากัน เนื่องด้วยแต่ละโหนดมีนาฬิกาเป็นของตัวเอง

PoH จะช่วยสร้างประสิทธิภาพและปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นบนเครือข่าย โดยจัดเก็บประวัติการทำธุรกรรมและช่วยให้ระบบติดตามลำดับเหตุการณ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น

Tower BFT (Byzantine fault tolerance)

Tower BFT คือการนำ pBFT ของ Solana มาปรับใช้ (ความทนทานต่อข้อผิดพลาดแบบ Byzantine ในทางปฏิบัติ) ซึ่งเป็นการปรับให้เข้ากับ PoH หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ Tower BFT เป็นอัลกอริธึมฉันทามติที่ใช้ประโยชน์จากนาฬิกาเข้ารหัส และบรรลุฉันทามติได้โดยไม่ต้องผ่านการสื่อสารข้อความเป็นจำนวนมากระหว่างโหนด ส่งผลให้สามารถการทำธุรกรรมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

Gulf Stream — โปรโตคอลการส่งต่อธุรกรรมแบบไม่มี mempool

Gulf Stream คือสิ่งที่ช่วยให้ Solana บรรลุเป้าหมายการทำธุรกรรมได้รวดเร็วถึง 50,000 TPS นี่คือโปรโตคอลที่รับผิดชอบในการเก็บธุรกรรมและส่งต่อไปยังสุดเขตแดนของเครือข่าย ซึ่งช่วยให้ผู้ตรวจสอบเครือข่ายสามารถดำเนินการธุรกรรมได้ล่วงหน้า ลดระยะเวลาในการยืนยันธุรกรรมลงอย่างมาก 

Turbine — โปรโตคอลการแพร่กระจายบล็อก

Turbine เป็นโปรโตคอลการแพร่กระจายบล็อกที่แบ่งข้อมูลออกเป็นส่วน ๆ ทำให้ถ่ายโอนข้อมูลระหว่างโหนดต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น Turbine จะช่วย Solana ในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับแบนด์วิดท์และเพิ่มความเร็วในการประมวลผลธุรกรรมโดยรวมของเครือข่าย

Sealevel — สัญญา Smart contract แบบคู่ขนาน

นี่คือเอ็นจิ้นการประมวลผลธุรกรรมแบบคู่ขนานที่ช่วยให้ Solana สามารถปรับขนาดในแนวนอนระหว่าง GPU และ SSD นั้นหมายความว่า Sealevel จะอนุญาตให้โหนดสามารถทำธุรกรรมพร้อมกันบนเชนเดียวกัน ส่งผลให้ run-time เครือข่ายดียิ่งขึ้น

Pipelining —  หน่วยประมวลผลธุรกรรมสำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบ

Pipelining หรือการวางท่อลำเลียงเป็นขั้นตอนทั่วไปที่ใช้ในการออกแบบ CPU  ซึ่งเป็นกระบวนการลำเลียงกระแสข้อมูลอินพุตไปให้กับฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ เพื่อการประมวลผล 

สถาปัตยกรรมนี้จะช่วยให้เครือข่ายสามารถจำลองข้อมูลธุรกรรมอย่างรวดเร็วและตรวจสอบได้รวดเร็วยิ่งขึ้นผ่านโหนดต่าง ๆ  

Cloudbreak — ฐานข้อมูลบัญชีในแนวนอน

Cloudbreak เป็นโครงสร้างข้อมูลที่จำเป็นสำหรับความสามารถในการปรับขนาดและปริมาณงานของเครือข่าย จัดระเบียบฐานข้อมูลของบัญชี ทำให้สามารถอ่านและเขียนพร้อมกันระหว่างเครือข่ายแบบ 32 เธรด 

Archivers — การจัดเก็บบัญชีแยกประเภทแบบกระจายอำนาจ

เครื่องมือตรวจสอบโหนดของ Solana จะทำการโอนถ่ายข้อมูลไปยังเครือข่ายของโหนดที่เรียกว่า Archivers ซึ่งโหนดนี้อาจเป็นแล็ปท็อปหรือเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีที่เครือข่ายใช้สำหรับการจัดเก็บข้อมูลก็ได้

อะไรที่ทำให้ Solana โดดเด่น

Solana มักถูกเรียกว่าบล็อกเชน Web-scale ที่มีการปรับขนาดได้จริงมากที่สุดในโลก เนื่องจากมันเป็นหนึ่งในโปรโตคอลเพียงไม่กี่ตัวที่บรรลุเป้าหมายการทำธุรกรรมได้รวดเร็วถึง 1,000 TPS

นอกจากนี้ Solana ยังเคลมว่าสามารถทำธุรกรรมได้เร็วสูงสุดถึง 50,000 TPS และมีโหนดมากกว่า 200 โหนดบนเครือข่ายการทดสอบในปัจจุบัน ทั้งหมดนี้ทำให้ Solana กลายเป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบระบบ proof of work ของโปรเจกต์คริปโตตัวอื่น ๆ เช่น Bitcoin ที่มีความเร็วในการทำธุรกรรมเฉลี่ยอยู่ที่ 5 รายการต่อวินาที และ Ethereum ปัจจุบันอยู่ที่ 13 รายการต่อวินาที นั้นหมายความว่า Solana จะสามารถได้ทำธุรรกรมได้เร็วกว่า Bitcoin ประมาณ 10,000 เท่า และเร็วกว่า Ethereum ถึง 3,800 เท่าเลยทีเดียว

อนาคตของโซลาน่าจะเป็นอย่างไร

Solana นั้นยังคงเป็นโปรเจกต์ที่ค่อนข้างใหม่และถึงแม้เครือข่ายจะนำเสนอฟังก์ชันการทำงานที่สมบูรณ์แบบให้กับผู้ใช้ แต่ทว่าเครือข่ายหลักยังคงเป็นเวอชั่นเบต้าที่ยังคงอยู่ในระหว่างการปรับปรุงความสามารถและความเสถียรของเครือข่าย 

ปัจจุบันเครือข่ายได้พาร์ทเนอร์ร่วมกับโปรเจกต์ชั้นนำหลายโปรเจกต์ โดยมีพาร์ทเนอร์ชั้นนำเช่น USDC , Chainlink , Kin , BSN , Exodus และ Serum ซึ่งเป็นเว็บเทรดแบบกระจายอำนาจที่ได้เห็นมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 1,500% เพียง 12 ชั่วโมงหลังจากเปิดตัว ด้วยโปรเจกต์มากกว่า 250 โครงการในระบบนิเวศ นักพัฒนาจำนวนมากจึงเลือกที่จะสร้าง dApp บน Solana เนื่องจากบล็อกเชนแห่งนี้ให้เวลาแฝงและต้นทุนค่าธรรมเนียมที่ต่ำที่สุดในตลาดปัจจุบัน ซึ่งเป็นจุดแข็งที่สำคัญที่สุดสองประการ 

งาน Solana Season Hackathon ที่ใหญ่ที่สุดก็เพิ่งสิ้นสุดลงไปเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน ด้วยจำนวนผู้ลงทะเบียนกว่า 13,000 รายและมากกว่า 300 โครงการที่เข้าร่วม

“Solana ดูเหมือว่าจะพร้อมแล้วในวันนี้ หลังจากที่ได้เห็นการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของนักพัฒนาทั่วโลก ซึ่งเราเชื่อมั่นว่าความสามารถในการปรับขนาดและขยายปริมาณงานบนบล็อกเชนสามารถแก้ปัญหาได้แล้ว นี่คือจุดเริ่มต้นที่คล้ายกับช่วงเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งที่สามารถเข้าถึงได้อย่างกว้างขวางในปี 1970” นาย Yakovenko ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ของโซลานา Labs กล่าวในงาน

ด้วยความเร็วในการทำธุรกรรมบนเครือข่าย การทำธุรกรรมที่มีต้นทุนค่าธรรมเนียมต่ำ และปริมาณงานระดับชั้นนำของอุตสาหกรรม ดังนั้นจะไม่แปลกใจเลย หากระบบนิเวศของ Solana จะดึงดูดโปรเจกต์ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยส่งเสริมการนำบล็อกเชนมาใช้ในทั่วโลก และปัจจุบันตลาดกำลังคิดเช่นนั้นอยู่อย่างแน่นอน 

ในขณะที่เขียนรายงานอยู่นี้ Solana มีราคาซื้อขายกันอยู่ที่ 71 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 30% ในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา อ้างอิงข้อมูลจาก Coinmarketcap