<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

แบงก์ชาติไทยออกกฎห้ามธนาคารถือหุ้นธุรกิจ Crypto เกิน 3% ของกองทุน กระทบ Exchange หรือไม่

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ถือเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ร้อนแรงอย่างมาก ณ ขณะนี้ หลังจากที่ช่วงเมื่อวานทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกมาประกาศห้ามกลุ่มแบงค์ถือหุ้นคริปโตเกิน 3 เปอร์เซ็นต์ตามที่ทางสยามบล็อกเชนได้รายงานไป

โดยเมื่อวันที่ 23 มีนาคมธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออก ข่าว ธปท. ฉบับที่ 14/2565 เกี่ยวกับ แนวทางการกำกับดูแลกลุ่มธุรกิจทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับดิจิทัลเพื่อปรับแนวทางดูแลกลุ่ม ธพ. ส่งเสริมการพัฒนาบริการผ่านเทคโนโลยี ยกระดับธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล ยกเลิกข้อจำกัดการลงทุนในธุรกิจ FinTech ซึ่งมีสาระสำคัญดังต่อนี้

  •  ยกเลิกเพดานการลงทุนในธุรกิจ FinTech จากเดิมที่เคยกำหนดไว้ที่ 3% ของเงินกองทุน
  • ให้บริษัทในกลุ่ม ธพ. สามารถลงทุนในกิจการที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ DA ภายใต้เพดานที่ 3% ของเงินกองทุน
  •  หาก ธพ. สามารถยกระดับมาตรฐานของกิจการ DA ใดให้เป็นไปตามที่กำหนดได้ เช่น เรื่องธรรมาภิบาล การดูแลความเสี่ยงระบบงาน และการคุ้มครองผู้ใช้บริการ อนุญาตให้ไม่นับเงินลงทุนของกิจการนั้นในเพดานการลงทุน
  • ให้ธุรกิจที่ยังมีความเสี่ยงหรือยังไม่มีหน่วยงานกำกับดูแล สามารถดำเนินงานในกรอบ Sandbox ได้ในวงจำกัดก่อน
  • ให้กลุ่ม ธพ. จำกัดความเสี่ยงจากความเชื่อมโยงที่อาจเกิดต่อ ธพ. เพื่อให้การดำเนินงานในธุรกิจใหม่ ๆ ของกลุ่ม ธพ. ไม่กระทบต่อผู้ฝากเงินและระบบการเงิน

อย่างไรก็ดีประเด็นนี้ได้กลายเป็นกระแสอย่างรวดเร็วในชุมชนคริปโต พร้อมกับคำถามที่หลายคนสงสัยว่า ทำไมเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศห้ามกลุ่มแบงค์ถือหุ้นคริปโตแล้ว กลุ่มแบงก์ชื่อดังอย่างธนาคาร SCB ที่ถือหุ้นใหญ่ของเว็บเทรด Bitkub จึงสามารถทำได้ นี่ถือเป็นข้อเท็จจริงหรือไม่ ?

แน่นอนว่าหลังจากที่โพสต์ดังกล่าวนี้ถูกแชร์ออกไป ก็ได้กลายเป็นประเด็นถกเถียงกันในทันที  โดยหลายคนในชุมชนคริปโตเริ่มตั้งข้อสงสัยและตั้งแง่ว่า ทำไม SCB ที่ซื้อหุ้นของ Bitkub จึงสามารถทำได้โดยไม่ผิดเกณฑ์ของธปท.  

ตามที่ทางสยามบล็อกเชนได้มีการรายงานไปก่อนหน้านี้ว่า บริษัทลูกของธนาคารไทยพาณิชย์ SCBS ได้ประกาศซื้อหุ้น Bitkub เป็นจำนวน 51% (ไม่ใช่ SCB ในเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร) คิดเป็นมูลค่ารวมประมาณ 17,850 ล้านบาท เรียกว่าเป็น “ธุรกรรมการซื้อขายหุ้น”

ทั้งนี้ การเข้าทำธุรกรรมการซื้อขายหุ้นจะอยู่ภายใต้การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของหน่วยงานกากับดูแลที่เกี่ยวข้อง เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยมีเงื่อนไขว่าผลการสอบทานธุรกิจ (Due Diligence) ของ Bitkub ในส่วนที่เป็นสาระสาคัญต้องเป็นที่น่าพอใจ และคู่สัญญาได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาซื้อขายหุ้นครบถ้วน และคาดว่าการเข้าทำการซื้อหุ้นใน Bitkub โดย SCBS จะแล้วเสร็จภายในไตรมาสแรกของปี 2565

จากที่ข้อมูลข้างต้นนี้ เราสามารถสรุปได้ว่า การซื้อหุ้นของบริษัทลูกของ SCB หรือ SCBS นั้นยังไม่ได้รับผลตัดสินเป็นที่แน่ชัดว่าสามารถเข้าซื้อหุ้น Bitkub หรือถือหุ้นคริปโตได้แน่นอนแล้วหรือไม่ เนื่องจากเรายังคงต้องติดตามรอดูผลกันอย่างใกล้ชิดต่อไปว่า ทางธปท. จะตัดสินให้ SCBS เข้าข่ายเป็นกลุ่มแบงก์หรือสามารถลงทุนในหุ้นธุรกิจคริปโตตามเกณฑ์ใหม่นี้ได้หรือไม่ โดยคาดว่าผลสรุปที่แน่ชัดน่าจะรู้แล้วเสร็จภายในช่วงไตรมาสที่ 1 นี้