สิ่งที่เราเรียกกันว่า Web3 นั้นจะเข้ามาเป็นศูนย์กลางของระบบนิเวศผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีที่มีความ decentralized โดยอาศัยเครือข่ายบล็อกเชนในการทำงานร่วมกันโดยไม่ต้องมีเครื่องมือตรวจสอบแบบดั้งเดิม เช่น บริษัท, สถาบันและหน่วยงานของรัฐ แต่สิ่งนี้แท้จริงแล้วนั้นหมายความว่าอย่างไร?
Web3 คืออะไร?
Web3 เป็นคำที่ถูกใช้โดย Gavin Wood ซึ่งเป็นประธานมูลนิธิ Web3 ซึ่ง Web3 นั้นถือเป็นอีกขั้นของอินเทอร์เน็ตและบางทีอาจเป็นการเข้ามาจัดระเบียบสังคมในภาพรวมโดยที่ Web 1 เป็นยุคของโปรโตคอลแบบเปิดที่มีความ decentralized ซึ่งกิจกรรมที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่จะเป็นสำหรับการค้นหาข้อมูลส่วน
Web2 นั้นคือยุคที่เรากำลังอยู่ร่วมกับมันเป็นยุคที่มีความ centralized มีการสื่อสารกันเกิดขึ้น, มีการค้าขายเกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มที่เป็นแพลตฟอร์มแบบปิดซึ่งเป็นของบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ และทั้งหมดนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมจากส่วนกลางโดยหน่วยงานกำกับดูแลและหน่วยงานของรัฐ
ในทางตรงกันข้ามนั้น Web3 ถือกำเนิดขึ้นเพื่อที่มาแก้ไขปัญหาของ Web2 โดยการมอบความเป็นเจ้าของข้อมูลและอำนาจเหนือข้อมูลประจำตัวดิจิทัล ซึ่งขณะนี้เป็นของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่เก็บข้อมูลให้กับผู้ใช้แต่ละราย
กล่าวอีกนัยหนึ่ง Web3 นั้นหมายถึงระบบนิเวศออนไลน์ที่ decentralized ตามบล็อกเชนโดยเพื่อความเข้าใจที่มากขึ้นรูปด้านล่างจะเป็นการแสดงโครงสร้างเปรียบเทียบกันระหว่าง Web2 และ Web3
นั่นก็หมายความว่าแพลตฟอร์มและแอพลิเคชั่นที่สร้างบน Web3 จะไม่ใช้ของเจ้าของซึ่งเป็นผู้ดูแลส่วนกลางแต่เจ้าของข้อมูลโดยแท้จริงนั้นก็คือผู้ใช้งานซึ่งหากกล่าวโดยสรุปคือผู้ใช้งานนั้นจะเป็นหัวใจสำคัญของ Web3
การกระจายอำนาจและความไว้ใจบน Web3
แทนที่จะใช้เซิร์ฟเวอร์แบบรวมศูนย์เพียงเครื่องเดียว Web3 ถูกสร้างขึ้นบนเครือข่ายบล็อคเชนซึ่งขับเคลื่อนโดย cryptography ทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลบนอุปกรณ์แบบกระจายตัว (หรือที่เรียกว่า “โหนด”) ทั่วโลก
และอุปกรณ์แบบกระจายดังกล่าวสามารถเป็นอะไรก็ได้ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์, แล็ปท็อปหรือแม้แต่เซิร์ฟเวอร์ที่แข็งแกร่งกว่าซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ทำหน้าที่เป็นกรอบการทำงานของเครือข่ายบล็อคเชนซึ่งสื่อสารระหว่างกันเพื่อให้สามารถจัดเก็บ, เผยแพร่และเก็บรักษาธุรกรรมข้อมูลได้โดยไม่ต้องใช้ผู้ตรวจสอบบุคคลที่สามที่เชื่อถือได้ (เช่น สถาบัน, บริษัทหรือรัฐบาล)
กล่าวอีกนัยหนึ่งคือต้องขอบคุณโหนดที่รันซอฟต์แวร์บล็อคเชน ทำให้สามารถบันทึกการถ่ายโอนทรัพย์สินแบบ decentralized ได้ซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่เราเคยเห็นมาก่อนตอนนี้วิธีสร้าง Web2 เราไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากต้องส่งข้อมูลของเราให้กับบริษัทเทคโนโลยี, รัฐบาลและเซิร์ฟเวอร์จัดเก็บข้อมูลส่วนกลางที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้นเราจึงต้องเชื่อมั่นว่าผู้ตรวจสอบบุคคลที่สามแบบดั้งเดิมเหล่านี้จะใช้ข้อมูลของเราในทางที่ถูกหลักจริยธรรมและปลอดภัยและเราก็มักจะแปลกใจเมื่อมีเรื่องอื้อฉาวเกิดขึ้น เช่น ข้อมูล Facebook-Cambridge Analytica ถูกเปิดเผย
ในโครงสร้างปัจจุบันของ Web เป็นเรื่องง่ายมากสำหรับข้อมูลของเราที่จะทำธุรกรรมใน “ตลาดที่มีความข้องเกี่ยวกับพฤติกรรมในอนาคต” โดยที่เราไม่รู้ว่าสิ่งนี้กำลังเกิดขึ้นและผลกระทบที่มีต่อชีวิตของเราไม่น่าแปลกใจเลยที่ความเป็นเจ้าของข้อมูลและอัตลักษณ์แบบกระจายศูนย์ของเราหรือที่เรียกว่าอัตลักษณ์อธิปไตยในตนเองถือเป็นปัจจัยพื้นฐานสำหรับ Web3
ความไว้วางใจของระบบอัตโนมัติด้วยการทำงานร่วมกันของ Web3
ใน Web3 อัตลักษณ์แบบกระจายศูนย์และความเป็นเจ้าของข้อมูลได้รับการจัดการโดยผู้ใช้แต่ละรายเองผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล เช่น MetaMask (ทำงานบนบล็อกเชนของ Ethereum) หรือ Phantom (ทำงานบนบล็อกเชนของ Solana) กระเป๋าเงินดิจิทัลเหล่านี้ทำงานได้ไม่มากก็น้อยเหมือนกระเป๋าเงินในโลกแห่งความเป็นจริง ดังนั้น กระเป๋าเงินดิจิทัลจึงทำหน้าที่เป็นเครื่องพิสูจน์ตัวตน Web3 ของคุณ โดยถือทั้งสกุลเงินและข้อมูลของคุณอย่างปลอดภัย
ทุกวันนี้บุคคลต่าง ๆ ต้องใช้การเข้าสู่ระบบ Facebook หรือ Google เพื่อเข้าถึงแอพลิเคชันออนไลน์จำนวนมากซึ่งบังคับให้พวกเขาส่งข้อมูลของตนให้กับบริษัทเหล่านี้
ในทางตรงกันข้ามบน Web3 แต่ละคนจะเป็นเจ้าของข้อมูลประจำตัวดิจิทัลของตนด้วยการแทนที่บุคคลที่สามด้วยเทคโนโลยี บล็อกเชน Web3 ที่จะปลดล็อกโมเดลธุรกิจและค่านิยมแบบเดิม ๆ โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งพาคนกลางแบบรวมศูนย์อีกต่อไปในที่สุด Web3 นำอำนาจออกจากตัวกลางและคืนให้กับบุคคลและตอนนี้แน่นอนว่าคุณอาจจะต้องสงสัยว่าการเปลี่ยนนี้เป็นไปได้จริงหรือ
อันที่จริง เราเห็นสิ่งนี้โดยตรงแล้วด้วย NFT เมื่อทางเราแสดงความคิดเห็นในบทความอื่นในคอลัมน์นี้ ผู้สร้างเนื้อหาเพิ่งเริ่มทดลองหาวิธีที่จะมีรายได้จำนวนมากจากงานของพวกเขาและสิ่งเหล่านี้ต้องยกเครดิตให้กับการทำงานของ smart contract ซึ่งโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ NFT เปิดใช้งานโครงสร้างค่าลิขสิทธิ์ทุติยภูมิซึ่งหมายความว่าผู้สร้างจะได้รับเงินทุกครั้งที่งานของพวกเขามีการเปลี่ยนเจ้าของในตลาดด้วยเหตุนี้ครีเอเตอร์จึงมีรายได้มากกว่าที่เคยเป็นมา
ด้วยสายโซ่ที่มีมูลค่านี้ Web3 ได้สร้างองค์กรทางเศรษฐกิจใหม่ทั้งหมดซึ่งถูกเรียกว่า DAO องค์กรอิสระที่กระจายอำนาจซึ่งองค์กรเหล่านี้มีหน้าที่หลักในการโต้ตอบทุกพื้นที่อย่างทั่วถึงบน Web3 มาทำความเข้าใจว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
DAO ใน Web3
DAO เป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการด้วยตนเองมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งดำเนินการโดย smart contract ของบล็อกเชนเท่านั้น โดยมีข้อบังคับและกฎขั้นตอนการทำงานของตนเอง ซึ่งจะมาแทนที่การจัดการการปฏิบัติงานแบบวันต่อวันด้วยรหัสที่ดำเนินการได้ด้วยตนเอง ข้อได้เปรียบหลักของ DAO คือไม่เหมือนกับบริษัทแบบดั้งเดิม เทคโนโลยีบล็อกเชนให้ความโปร่งใสอย่างสมบูรณ์แก่ DAO
การดำเนินการและเงินทุนทั้งหมดของ DAO ทุกคนสามารถเห็นและวิเคราะห์ได้ ความโปร่งใสนี้ช่วยลดความเสี่ยงของการทุจริต กิจกรรมที่ผิดกฎหมาย หรือการฉ้อโกงได้อย่างมาก โดยป้องกันไม่ให้ข้อมูลสำคัญถูกเซ็นเซอร์
นอกจากนี้ บุคคลทั่วไปยังสามารถเข้าถึง DAO ได้มากขึ้นเนื่องจากอุปสรรคในการเข้าไม่สูงนักโดยปกติคนกลุ่มเดียวที่สามารถลงทุนในองค์กรตั้งแต่เนิ่น ๆ และเก็บเกี่ยวผลตอบแทนทางการเงินส่วนใหญ่ได้ คือบุคคลที่มีฐานะร่ำรวยและมีเครือข่ายที่ดีอย่างเหลือเชื่อ
ปัจจุบัน DAO ถูกใช้เพื่อปกครองชุมชนและให้ทุนสนับสนุนโปรเจกต์ต่าง ๆ เช่น การจัดการทีมบาสเก็ตบอลใน NBA และแม้กระทั่งพยายามซื้อรัฐธรรมนูญตัวต้นฉบับของสหรัฐอเมริกาฉบับแรกอย่างไรก็ตามเส้นทางสู่ Web3 นั้นก็ไม่ได้โรยไปด้วยกลีบกุหลาบ
อะไรคือข้อกังวลในปัจจุบันของ Web3?
ทุกวันนี้ จำเป็นต้องมีการเรียนรู้และการทดลองจำนวนมากของผู้ใช้โดยเฉลี่ยในการใช้เทคโนโลยี Web3 การขาดการออกแบบที่เป็นมิตรกับผู้ใช้ในปัจจุบันทำให้แอพลิเคชัน Web3 สร้างกำแพงที่สูงชันกีดกันการเรียนรู้ของผู้ใช้งาน
อันที่จริง ปัจจัยดังกล่าวเป็นอุปสรรคขวางกั้นสำคัญสำหรับคนส่วนใหญ่ และเมื่อเราพิจารณาเวลาที่จำเป็นสำหรับการสำรวจและพัฒนาโค้ดซอฟต์แวร์ ตลอดไปจนจุดสนใจในปัจจุบันของนักพัฒนา ทำให้เราจะตระหนักรู้ได้ดีเลยว่าประสบการณ์ของผู้ใช้มีความสำคัญมากเพียงใด
แม้ว่าแพลตฟอร์ม Web3 จะใช้งานยากแต่ก็ควรสังเกตว่านี่เป็นเพียงเพราะมันยังเป็นสิ่งที่ใหม่ซึ่งนักพัฒนาส่วนใหญ่ยังคงมุ่งเน้นที่การพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานและในอนาคตอาจจะใช้งานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น