นางทิพยสุดา ถาวรามร อดีตรองเลขาธิการของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. ได้ออกมาให้ข้อสังเกตุเกี่ยวกับเหตุการณ์ของ UST-LUNA ที่เกิดขึ้นในสภาวะของตลาด Cyptocurrency ที่กำลังผันผวนอยู่ในขณะนี้
โดยเขาได้ให้ข้อสังเกตุมา 5 ข้อดังนี้
- คนที่เข้าไปซื้อเหรียญ LUNA ควรจะรู้อยู่แล้วว่าคริปโตเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เมื่อซื้อไปเก็งกำไร ก็ต้องยอมรับว่ามีโอกาสขาดทุนด้วย
- สิ่งที่น่าห่วงกว่าคือ คนที่ซื้อ UST ด้วยความคาดหวังว่าจะเป็น Safe product ไม่มีราคาผันผวนเพราะเป็น Stablecoin แต่ความจริงแล้วมันไม่ได้ Stable จริง
นางทิพยสุดา ได้กล่าวเสริมว่า
“กรณีนี้เทียบเคียงได้กับกองทุนรวมประเภท money market fund ที่ขายความนิ่งของราคาและความคล่องตัวในการไถ่ถอน ซึ่งในอดีตก็เคยมีกรณีที่กองทุน money market fund ไปลงในสินทรัพย์ที่เสี่ยงแล้วไม่สามารถทำได้ตามสิ่งที่ได้สร้างความคาดหวังไว้ จนเกิดกองทุน run (ของไทยเกิดกรณีนี้ครั้งแรกในปี 2003 กลต เลยต้องออกมากำหนดเกณฑ์ด้านคุณภาพและสภาพคล่องของสินทรัพย์ของกองประเภทนี้ สหรัฐก็มีปัญหาแบบนี้ในช่วง subprime crisis ปี 2008 ถึงกับต้องไปปรับปรุงเกณฑ์กันใหญ่เหมือนกัน)”
- Regulator ควรสนใจ Stable ไม่ใช่แค่ในฐานะคู่แข่งของเงินดิจิตัลของรีฐ หรือ CBDC แต่ควรมองในฐานนะ product ที่อาจถูกความเข้าใจผิดในเรื่องความเสี่ยงด้วย
- Stabe coin มีหลายแบบ แต่ละแบบที่มีความเสี่ยงที่ไม่เหมือนกัน ย่อมีวิธีการจัดการที่ไม่เหมือนกัน เช่น
- Stablecoin ที่มีสินทรัพย์หนุนหลัง เช่น USDT, USDT ก็ควรมองว่าใช้สินทรัพย์ชนิดไหนหนุนหลังอยู่ มีอยู่จริงไหมและใครเป็นผู้ตรวจสอบ
- Stablecoin ที่เอาคริปโตอีกตัวมาหนุนหลัง เช่น DAI ก็จะอยู่ที่คุณภาพของหลักประกัน, จำนวนที่ต้องวางเกินเผื่อความผันผวน, กลไกการบังคับหลักประกันและตัว Smart Contract
- Stablecoin ที่ใช้ Algorithmic ในการควบคุมราคา เช่น UST, FRAX, IRON จะมีควาท้าทายเป็นพิเศษ เพราะอาจจะเกิด Dearh spiral ดังที่เราเห็นจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา และแม้แต่ Regulator ของดูไบที่เปิดใจให้กับโลกคริปโต ก็ยังไม่เปิดรับกลุ่ม Algorithmic Token เช่นนี้
- หวังว่า กฏกติกาที่ Regulator จะออกมาในอนาคตสำหรับ Stablecoin จะคำนึงรูปแบบที่ต่างกันของ Stablecoin ต่างๆ เพื่อให้ Regulator มีความยืดหยุ่นในการกำกับดูแลให้เหมาะสมกับลักษณะและระดับความเสี่ยง และยังคงดูแลเสถียรภาพได้โดยไม่เป็นการปิดกั้นพัฒนาการในเรื่องนี้
ก่อนหน้านี้ทางสยามบล็อกเชนได้รายงานไปแล้วว่า สาเหตุของการร่วงของราคา LUNA มีสาเหตุมาจาก Algorithmic ที่ทำการเพิ่มเหรียญ LUNA เมื่อเหรียญ UST มีมูลค่าลดลง และผลกระทบที่ตามมาจาก Algorithmic นี้ทำให้เหรียญ LUNA มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ทำให้นักลงทุนบางส่วนหมดศรัทธากับเหรียญ และความเชื่อใจที่มีให้กับผู้ร่วมก่อตั้ง Terra นาย Do Kwon ก็น่าจะหายไปจนหมด หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ ก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆมากมาย ทั้งความสูญเสีย การถูกคุมคามของนาย Do Kwon และความเห็นที่ต้องการให้ทาง Regulator ตรวจสอบเหรียญ Stablecoin ให้ดีกว่านี้
สิ่งที่เราทำได้ในตอนนี้คือต้องคอยจับตาดูว่าทางบริษัท Terra จะออกมาจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นยังไง โดยล่าสุดทางบริษัท Terra ได้จำกัดจำนวนเหรียญ LUNA อยู่ที่ 6.5 ล้านล้านเหรียญ ก่อนที่ระบบจะหยุดทำงาน
ที่มา : Tipsuda Sundaravej Thavaramara