<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

แม่นราวกับตาเห็น ! ส่องคำทำนายของ Satoshi Nakamoto เกี่ยวกับคริปโตในปี 2009 

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

เมื่อ 15 ปีที่แล้ว ซาโตชิ นากามูระ ซึ่งเป็นนามแฝงของบิดาผู้ให้กำเนิด Bitcoin ได้หายตัวไปอย่างปริศนา โดยเขาได้ทิ้งอีเมลฉบับสุดท้าย ที่จะทำนายอนาคตของ Bitcoin และ คริปโตเคอร์เรนซี่ได้อย่างน่าสนใจ

จากช่วงเวลาไทม์ไลน์ทางประวัติศาสตร์เมื่อ 15 ปีแล้ว ในช่วงต้นปี 2009 ซาโตชิ นากามูระ ( Satoshi Nakamoto )  บุคคลปริศนาได้นำเสนอ  Bitcoin เป็นครั้งแรกผ่านความช่วยเหลือจากกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ เขาติดต่อกับผู้คนที่สนใจด้วยอีเมลแทนการใช้โทรศัพท์ส่วนตัว หลังจากที่ Bitcoin ได้รับความสนใจในปี 2011 ซาโตชิก็หายตัวไปอย่างปริศนาท่ามกลางคนสงสัยต่างๆนานาของผู้คน 

ทว่าหลังจากนั้นไม่นาน  Craig Wright นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ชาวออสเตรเลีย ก็มาอ้างตนว่าเขาเป็นซาโตชิต่อหน้าสาธารณชนตั้งแต่ช่วงปี 2016 เป็นต้นมา การแอบอ้างตนของ  Wright ทำให้สาวกซาโตชิไม่พอใจ จนนำไปสู่การฟ้องร้องที่กล่าวหา Wright โกหกเพื่อสวมรอยเป็นซาโตชิ ส่งผลไปสู่การสืบพยานที่เกี่ยวข้องตามมา ได้แก่  

1.Adam Back (นักพัฒนา Hashcash ซึ่งกลายเป็นฐานสำหรับกระบวนการขุด Bitcoin)

2.Mike Hearn ( นักพัฒนาโค้ด)

3.Martti Malmi (ฝ่ายจัดการ Bitcoin.org )

4.Zooko Wilcox-O’Hearn (ฝ่ายโปรโมต Bitcoin ผ่านบล็อก)

ซึ่งบุคคลเหล่านี้ ล้วนเป็นผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนา Bitcoin ในช่วงแรกๆ

ล่าสุด อีเมลโต้ตอบจำนวน 120 หน้าระหว่างซาโตชิ นากาโมโตะ กับ Martti Malmi ได้รับการเผยเเพร่ต่อสาธารณะ โดยอีเมลดังกล่าวเป็นหลักฐานส่วนหนึ่งของคดีความและมันก็ถูกเผยแพร่ผ่าน GitHub เพื่อเป็นช่องทางข้อมูลข่าวสารเพิ่มเติม เพื่อที่จะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกัลซาโตชิ รวมถึงประเด็นสำคัญของ Bitcoin อีกด้วย

ความเชื่อใจคือพื้นฐานของทุกสิ่ง

ตามข้อมูลที่ได้จากซาโตชิ พบว่าปัญหาพื้นฐานของระบบการเงินแบบดั้งเดิม คือ ความต้องการที่จะเป็นศูนย์กลางทางการเงิน เช่น ธนาคารกลาง และ ธนาคารรูปแบบอื่นๆ โดยสถาบันการเงินดังกล่าวมีอำนาจในการลดค่าเงินและกำหนดกฎระเบียบในการควบคุมความเสี่ยงจากการกู้ยืม นอกจากนี้สถาบันการเงินยังต้องการให้ประชาชนไว้ใจเรื่องของความปลอดภัยและความมั่นคงทางการเงิน ด้วยการเปิดให้บริการชำระเงินแบบ  micropayments แต่มันทำได้ยาก เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายแฝงที่ค่อนข้างสูง

ภาพจาก: mmalmi.github

ซาโตชิ ได้เปรียบเทียบสิ่งนี้คล้ายกับความเชื่อใจที่สามารถทำได้ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ในยุคแรก ก่อนจะมีการ encryption ที่รัดกุม ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีการดูแลระบบเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของพวกเขา แต่เมื่อการ encryption ได้รับความไว้ใจจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น  เนื่องจากข้อมูลอาจได้รับการรักษาความปลอดภัยจากการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต

ในทำนองเดียวกันซาโตชิ ก็ได้โต้แย้งวิธีการแก้ปัญหาที่คล้ายกันสำหรับสกุลเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยเขาได้อิงมาจากการพิสูจน์วิธีการเข้ารหัส ที่มันปราศจากตัวกลาง จึงทำให้ผู้ใช้สามารถมั่นใจได้ว่าการทำธุรกรรมเป็นเรื่องที่สะดวกง่ายดายและปลอดภัย 

ปัญหาของการไม่เปิดเผยตัวตน

ซาโตชิ ได้ตระหนักตั้งแต่ช่วงแรกๆว่า Bitcoin ไม่สารถเปิดเผยตนอย่างเต็มรูปแบบได้ แม้ว่า Bitcoin จะมีคุณสมบัติคล้ายกับนามแฝง (pseudonymity) ที่วางกลไกภายใต้เงื่อนไขที่เหมาะสม แต่การรักษาความเป็นส่วนตัวนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างท้าทาย

ซาโตชิจึงแนะนำไม่ให้ผู้ใช้งานเปิดเผยเรื่อง Bitcoin เพื่อไม่ให้ผู้ใช้งานนำเอาไปใช้ในทางที่ผิดและแนะนำให้ผู้ใช้งานพิจารณาผลกระทบด้านความเป็นส่วนตัวอย่างรอบคอบ

ภาพจาก: mmalmi.github 

ซาโตชิ  เคยคิดที่จะอธิบายว่า  Bitcoin เป็นสกุลเงินที่ มีความเป็นส่วนตัว (private) แต่ก็ตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานทำมันไปใช้ในทางที่ผิด  เขาเสนอให้ผู้ใช้งานไม่ต้องเปิดเผย Bitcoin อย่างเป็นทางการ เพื่อไม่ให้มันถูกโปรโมทอย่างโจ่งแจ้ง

การเลือกใช้พลังงาน 

จากข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญที่ได้จากการอีเมลโต้ตอบของซาโตชิ คือ เขารับรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงานของ Bitcoin เนื่องจากกลไกฉันทามติแบบ Proof-of-Work (PoW) แม้ว่า PoW จะมีความสำคัญต่อการรักษาความปลอดภัย แต่ก็ต้องใช้พลังการประมวลผลจำนวนมาก ทำให้เกิดข้อกังวลด้านสิ่งแวดล้อม ซาโตชิยอมรับถึงข้อกังวลเหล่านี้ แต่โต้แย้งว่าความไร้ประสิทธิภาพของสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมนั้นมีมากกว่าการใช้พลังงานในการประมวลผลของ Bitcoin มาก นอกจากนี้เขายังได้จินตนาการเพิ่มเติมว่า Bitcoin จะเข้ามาแทนที่โครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ทรัพยากรจำนวนมากและค่าธรรมเนียมของธนาคารมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์   เนื่องจากระบบของมันที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 ภาพจาก:mmalmi.github

ซาโตชิเขาเน้นย้ำถึงศักยภาพของ Bitcoin ที่จะเป็นแบบ peer-to-peer อย่างแท้จริง โดยปราศจากบุคคลที่ 3  ซึ่งแตกต่างจากการเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่มีสถาบันการเงินมาควบคุม ซาโตชิเชื่อว่าแม้ Bitcoin จะใช้พลังงานในการประมวลผลจำนวนมาก แต่ก็มันก็ยังสิ้นเปลืองน้อยกว่าการดำเนินการธุรกรรมผ่านธนาคารทั่วไป โดย Bitcoin จะเข้ามาแทนที่การทำธุรกรรมดังกล่าว

ความสามารถในการปรับขนาดของ Bitcoin

ซาโตชิ ยังแสดงความมั่นใจถึงความสามารถในการปรับขนาดของ Bitcoin โดยเขายืนยันว่ามันจะสามารถแซงหน้าเครือข่ายการชำระเงินที่มีอยู่ เช่น Visa ในด้านความสามารถในการทำธุรกรรม เขาเชื่อว่ากฎของมัวร์ ( Moore’s Law )

จะรับประกันความสามารถของเครือข่ายในการรับมือกับการเติบโต ซึ่งขัดแย้งกับคำวิพากษ์วิจารณ์ทั่วไปในปัจจุบัน

นอกจากนี้ซาโตชิ ยังได้เน้นย้ำถึงศักยภาพของ Bitcoin ในการขยายขนาดให้ใหญ่กว่าเครือข่ายของ Visa ด้วยฮาร์ดแวร์ที่มีอยู่และมีค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย เขาเน้นย้ำว่าความสามารถในการขยายขนาดของ Bitcoin จะไม่มีขีดจำกัด และพูดคุยถึงวิธีที่จะสามารถรับมือกับการขยายขนาดที่ใหญ่มากขึ้น  นอกจากนี้เขายังคาดการณ์ว่าความก้าวหน้าด้านความเร็วของฮาร์ดแวร์จะแซงหน้าการเติบโตของธุรกรรม แม้ว่าจะอยู่ภายใต้อัตรายอมรับที่เติบโตขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม

 ความปลอดภัย

ซาโตชิ เน้นย้ำถึงความปลอดภัยของเครือข่าย Bitcoin โดยระบุว่าความแข็งแกร่งของมันจะเพิ่มขึ้นตามการเติบโตของเครือข่าย เขารับทราบรู้ถึงช่องโหว่ในช่วงแรก แต่แย้งว่าการออกแบบของเครือข่าย ตามหลักแล้วไม่สนับสนุนการโจรกรรมผ่านรูปแบบทางเศรษฐกิจ ซาโตชิเน้นย้ำว่าความปลอดภัยของ Bitcoin เติบโตควบคู่ไปกับขนาดและมูลค่าที่มันปกป้อง ในขณะเดียวกันเขาก็รับรู้ถึงช่องโหว่เบื้องต้น เมื่อเครือข่ายยังมีขนาดเล็ก 

“สิ่งสำคัญของ Bitcoin ก็คือความปลอดภัยของเครือข่ายที่จะเติบโตขึ้นตามขนาดของเครือข่ายและจำนวนมูลค่าที่ต้องได้รับการปกป้องเพิ่มขึ้น”

 Nakamoto เขียน “ข้อเสียคือมันมีความเสี่ยงในช่วงเริ่มต้นเมื่อมันมีขนาดเล็ก แม้ว่ามูลค่าที่สามารถขโมยได้ควรจะน้อยกว่าปริมาณความพยายามที่จำเป็นในการขโมยมันเสมอ หากใครมีจุดประสงค์อื่นในการพิสูจน์ประเด็น พวกเขาก็จะพิสูจน์ประเด็นที่ฉันยอมรับไปแล้ว” 

ด้วยเหตุผลทางกฎหมาย ที่ Bitcoin ถูกมองว่ามันไม่ใช่การลงทุน 

ในยุคแรก ๆ ของ Bitcoin มันเป็นสกุลเงินดิจิทัลเดียวที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสินค้าโภคภัณฑ์โดยหน่วยงานกำกับดูแลของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากมีลักษณะการกระจายอำนาจ ซาโตชิยังได้คำนึงถึงกฎหมายของสหรัฐอเมริกา จึงหลีกเลี่ยงการส่งเสริมให้ Bitcoin เป็นการลงทุน 

 ภาพจาก:mmalmi.github

 “ผมจะแปลกใจถ้าอีก 10 ปีนับจากนี้ เราจะไม่ใช้สกุลดิจิตอลในทางใดทางหนึ่ง ตอนนี้เรารู้วิธีที่ใช้มันแล้ว ซึ่งเราสามารถทำได้โดยปราศจากบุคคลที่สาม” เขาเขียน ในอีเมลฉบับหนึ่งของเขา 

กรณีการใช้งานในอนาคต

ซาโตชิได้ ให้ความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับวิธีการเป็นไปได้ของเทคโนโลยีในระบบการเงินปัจจุบัน ในอีเมลฉบับหนึ่ง เขาแนะนำแนวคิดในการขายบัตร paysafecard สำหรับ Bitcoins ไม่ว่าจะผ่านการจัดส่งออนไลน์หรือการจัดส่งทางกายภาพ บัตรเหล่านี้เรียกว่าบัตรของขวัญในบางประเทศ มักใช้โดยบุคคลที่ไม่มีประวัติเครดิตเพื่อชำระค่าสินค้าที่ต้องใช้บัตรเครดิต ที่เกี่ยวข้อง

ต่อมา Nakamoto ให้แนวคิดบางประการเกี่ยวกับกรณีการใช้งานที่เป็นไปได้:

  • นำเสนอ Bitcoin ให้เป็นตัวกลางที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย สำหรับการซื้อขายสินค้าดิจิทัลที่มีมูลค่าไม่สูงมาก เนื่องจากค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมต่ำ
  • เน้นย้ำว่าบิตคอยน์เหมาะสำหรับการซื้อ (รับ Bitcoin) และการส่งเงินออก (ใช้ Bitcoin ชำระเงิน) มากกว่าการรับเงินเข้า (แลก Bitcoin คืนเป็นสกุลเงินอื่น)
  • นำเสนอบิตคอยน์เป็นทางเลือกสำหรับการชำระค่าบริการเช่าใช้คอมพิวเตอร์ (เช่น Cloud computing) เนื่องจากมีความรวดเร็ว ปลอดภัย และมีค่าธรรมเนียมต่ำ
  • หลีกเลี่ยงการพูดถึงการคืนเงินเข้าบัตรเครดิต เนื่องจากบริษัทบัตรเครดิตส่วนใหญ่มักไม่เห็นด้วยกับการคืนเงินที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัล
  • เน้นย้ำการขายสินค้าที่จับต้องได้

สิ่งนี้เองคือความสำคัญในการทำความเข้าใจความแปลกใหม่ของสกุลเงินดิจิตอล ที่มีความแตกต่างจากสกุลเงินทั่วไป

 ภาพจาก:mmalmi.github 

ซาโตชิกล่าวว่า สกุลเงินดิจิทัลอย่าง Bitcoin ต่างจากสินค้าโภคภัณฑ์แบบเดิม (traditional commodities) คือ มีความเป็นไปได้ที่จะซื้อขายกันบนอินเตอร์เน็ตโดยปราศจากตัวกลาง

ที่มา: u.today