<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ฟังแล้วอึ้ง! นายอาร์มชวนเจาะลึก เงินดิจิทัล 10,000 บาท ทำงานยังไง แบบละเอียดทุกขั้นตอน

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในวันนี้ (28 สิงหาคม 2024)  นายอาร์ม ยูทูปเบอร์ชื่อดังด้านไอทีที่หลายคนรู้จักในชื่อ ‘9Arm’ ได้โพสต์คลิปวิดีโอลงบนช่อง youtube ของตน เพื่อให้ความกระจ่างเกี่ยวกับกลไกการใช้งานของดิจิตอลวอลเล็ต ทั้งการใช้งานเบื้องหน้าและหลังบ้านว่าใช้งานยังไง รวมถึงบล็อกเชนว่าเข้ามาเกี่ยวข้องกับโครงการดิจิตอลวอทเล็ทนี้ยังไง

นายอาร์มเริ่มต้นอธิบายว่า ในเรื่องเทคนิคอลของโครงการดิจิตอลวอลเล็ท ที่บอกว่าจะใช้บล็อกเชน ตอนนั้นมันยังไม่แน่นอน ซึ่งระยะเวลาก็ผ่านมา 1 ปีแล้ว ตอนนั้นอดีตนายกเศรษฐา คุยกับผมว่า ให้ผมติดต่อไปที่พรรคเพื่อไทย แล้วขอข้อมูล ซึ่งตอนนี้ก็ 1 ปีแล้วก็ยังไม่ได้ โดยโครงการก็จะถูกนำมาใช้ เร็วๆ นี้ 

พรรคเพื่อไทยไม่ให้ข้อมูลผม รัฐบาลไม่ให้ข้อมูลผม แล้วผมไปเอาข้อมูลนี้มายังไง นายอาร์มยอมรับว่า เป็นข้อมูลที่ ฟังหูไว้หูแล้วกันครับว่ามันจะเป็นประมาณนี้ 

ผมจะบอกว่า การที่ผมได้ข้อมูลมาในวันนี้  ก็ใช้วิธีเดียวกันกับคุณทักษิณ ก็คือ ผมเดินผ่านแล้วก็ได้ยินเขาคุยกันมาครับ ก็มาดูกันครับว่า ตกลงแล้วโครงการนี้มันจะออกมา แล้วมีรูปร่างประมาณไหน

นายอาร์มกล่าวถึงเรื่องโครงการดิจิตอลวอลเล็ททำงานยังไง ว่า ในขณะที่ที่ทุกคนลงทะเบียนกันเสร็จแล้ว สำหรับดิจิตอลวอลเล็ท กับแอปทางรัฐ ก็ทำการยืนยันตัวตนกันเรียบร้อยรอตรวจเช็คสิทธิ์ทางรัฐ ซึ่งคนทำคือ DGA

หลังลงทะเบียนกันไปเรียบร้อยแล้ว พอมันออกมาใช้จริงจะเป็นยังไง ต้องกลับไปที่เงื่อนไขของโครงการหรือไอเดียของโครงการว่า มันต้องมีเงินเข้ามาก้อนนึง สิ่งที่รัฐอยากได้คือ โปรแกรมที่เรียกว่า programmable money หมายความว่า เงินที่เขาแจกให้คุณมา มันจะต้องใช้ได้ตามเงื่อนไขที่รัฐกำหนด เพราะว่า รัฐอยากให้โฟกัสว่าเงินจะไปกระตุ้นตรงไหน จะแม่นยำมาก เนื่องจากจำกัดให้ใช้แค่ตรงนี้

เงื่อนไขที่ว่าคือ เงื่อนไขที่ต้องกลับไปซื้อของใกล้บ้านในระยะ 4 กิโลเมตร , 10 กิโลเมตร อะไรก็แล้วแต่ แต่ว่าตามที่อยู่ตามบัตรประชาชน หรือที่ที่กำหนด เพื่อให้เงินจะไม่ได้กระจุกอยู่ตรงกลาง ให้แยกย้ายกลับไปที่ชุมชน นั่นคือขั้นที่ 1

ขั้นที่ 2 คือ ร้านค้า local ต่าง ๆ รับเงินนี้มาแล้ว ยังเอาเงินออกไม่ได้ จะต้องเอาเงินดิจิตอลที่ได้รับมา เอาไปหมุน เอาไปใช้จ่ายอีก เอาไปซื้อวัตถุดิบ เอาไปซื้อของ มาทำ , มาขาย ต้องทำแบบนี้ไปอีก 2 ทอด หมายถึงว่า มันต้องเกิดการหมุน 3 รอบ 

ร้านค้าเอาไปซื้อวัตถุดิบรอบแรก ที่ร้านค้าไปซื้อวัตถุดิบมา ก็ต้องเอาไปซื้ออีก เงินมันต้องหมุน 3 รอบก่อนที่มันจะดึงออกมาเป็นเงินสดได้ เพื่อที่จะกำหนดว่า จ่ายเงินไป 100 บาท จะต้องเกิดการจ่ายขึ้น 3  ครั้ง นี่คือไอเดียของโครงการ และไอเดียของการกระตุ้นเศรษฐกิจ

ซึ่งหากต้องการเจาะเข้าไปที่การใช้จ่าย จะใช้ผ่านโปรแกรม programmable money หรือที่เขาบอกว่า บล็อกเชน โดยในปีที่แล้ว เราเคยคุยกันว่า จริง ๆ แล้ว โปรแกรม programmable money ที่รัฐต้องการ จริง ๆ มันไม่ต้องใช้บล็อกเชนก็ได้  ถ้าเกิดว่าจะใช้บล็อกเชนจริง ๆ แล้วจะเคลมว่า ความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มันก็มีคุณสมบัติ 1,2,3,4 ที่จะต้องมี ซึ่งถ้าบล็อกเชนมีคุณสมบัติตามที่ต้องการแล้ว ตอนนี้เราต้องเห็นโครงการนี้แล้ว เห็นว่า บล็อกเชนดีไซน์ยังไง ทำอะไรยังไง เพราะนี่คือหลักการพื้นฐาน 

หลักการคร่าวๆ ของ บล็อกเชนคือ เวลาดีไซน์อะไรบางอย่าง ดีไซน์จะต้องเปิดเผย แบบชัดเจน ให้คนตรวจสอบได้ แล้วนี่คือสิ่งที่เราขอ คนทำงานสายเทคทุกคนอยากรู้ว่า ใช้บล็อกเชนเป็นยังไง เงื่อนไขการจ่ายเงินเป็นยังไง แต่ก็ยังไม่ได้ข้อมูล 

นายอาร์มกล่าวเสริมอีกว่า โชคดีครับ ที่ผมไปเดินผ่านเขา แล้วได้ยินเขาคุยกันมา  โครงการนี้ ระบบการจ่ายเงิน เป็นยังงี้ คุณลงทะเบียนเรียบร้อย ในพาร์ทดิจิตอลวอลเล็ท เวลาจ่ายเงินลักษณะเป็นอย่างงี้คือ เวลาคุณจ่ายเงินจะมีช้อยส์มาให้คุณเลือกว่า คุณอยากจะใช้จ่ายผ่านธนาคารใด ธนาคารที่เป็นพาร์ทเนอร์คือทุกธนาคารในประเทศไทย จะพาร์ทเนอร์กับโครงการนี้ พอเลือกธนาคารเสร็จ ธนาคารใน mobile banking ของคุณ จะมี “วอลเล็ทพิเศษ” ซึ่งเป็นวอลเล็ทแบบดิจิตอลวอลเล็ทมาให้คุณเลย เป็นยอดเงิน

เวลาที่คุณไปซื้อของ คุณก็สแกน คิวอาร์โค้ด เหมือนกับที่คุณใช้จ่ายผ่าน พร้อมเพย์ โดยปกติ แล้วสิ่งที่เกิดขึ้นข้างหลังบ้านคืออะไรจะอธิบายให้ฟัง

นายอาร์ม อธิบายว่า คุณลงทะเบียนที่แอปทางรัฐ (ผ่านหน่วยงาน DGA ที่ทำ) ลงทะเบียนเสร็จก็เลือกธนาคาร เวลาจ่ายเงินร้านค้าก็เอา  mobile banking สแกน ตอนสแกน ธนาคารจะถามยอดแล้วก็จะกลับไปคุยกับทาง DGA ซึ่งอาจจะไม่ใช่แอปทางรัฐ

โครงการนี้แอปทางรัฐ เป็นแอปที่ใช้แค่ลงทะเบียนเท่านั้น แต่ว่ามันจะมีระบบ payment ใหม่ ที่เขาอาจจะเรียกว่า “open loof” ไม่แน่ใจเหมือนกัน เพราะผมเดินผ่านแบบผ่านระยะไกลนะครับ นายอาร์มกล่าวย้ำ

ซึ่งระบบ payment ใหม่ อาจจะชื่อ “open loof” เมื่อคุณสแกนจ่ายเงินเสร็จ ธนาคารจะยิง API ไปที่ระบบ payment ใหม่นี้  เพื่อตรวจสอบว่าบุคคลที่ทำรายการมียอดในบัญชีพอไหม ถ้าพอ ระบบ payment ใหม่นี้ ก็จะตรวจสอบว่า คุณมีคุณสมบัติถูกต้องหรือเปล่า คุณใช้งานตามเงื่อนไขไหม เช่น ใช้ร้านค้าแถวบ้านหรือเปล่า, ลงทะเบียนถูกต้องไหม ถ้าถูกต้อง ระบบ payment ใหม่นี้ จะส่งข้อมูลกลับไปบอกธนาคารว่า โอเค ผ่าน ร้านค้าก็ได้เงินมาในวอลเล็ทของตนเอง ซึ่งจะลิงค์กันในระบบ payment ใหม่นี้

ซึ่งเงินจะอยู่ในระบบ payment ใหม่นี้ทั้งหมด ไม่ได้ผ่านธนาคาร เนื่องจากธนาคารเป็นแค่คนทำ interface ว่า จ่ายเงินผ่าน ส่วนรัฐบาลจะหักเงินในวอลเล็ทของคุณ

โดย API ก็มีดีไซน์หลายแบบ จะต้องเช็คได้ว่า ผู้ใช้สแกนมาจากตรงไหน ที่ต้องเป็นธนาคาร เพราะอยากให้ประชาชนใช้งานได้ง่ายที่สุด ผมคิดว่าอย่างงั้นนะ นายอาร์มกล่าว

ธนาคารก็จะทำกระเป๋าเพิ่มขึ้นมาคนละ 1 กระเป๋า แล้วให้การใช้งานลิงค์กลับมาที่รัฐบาล แล้วเดี๋ยวรัฐบาลจะบอกว่า จ่ายถูก หรือจ่ายไม่ถูก ถ้ารัฐบาลตกลง ธนาคารก็จัดการให้ตามนั้น โดยรัฐบาลจะเป็นคนเก็บเงินเองทั้งหมด

ส่วนร้านค้า ที่มีบัญชีร้านค้าก็ต้องไปเปิดบัญชี account การใช้งานกับธนาคารเหมือนกัน 

ซึ่งจะมีทั้งบัญชีของคนใช้ และบัญชีของร้านค้า สำหรับคนที่เป็นร้านค้าด้วย โดยสองบัญชีนี้จะผ่านระบบ payment ใหม่ทั้งหมด

นายอาร์มกล่าวถึงเรื่อง ระยะเวลาการใช้งานของโครงการว่า เขาระบุว่า โครงการจะเสร็จเดือนพฤศจิกายนต้องได้ใช้ หรือเดือนธันวาคมละกันช่วง Q4  ของปีนี้ ตอนนี้จะหมดเดือนแปดแล้ว เดือนเก้าละ มีระยะเวลาเหลือ 2-3 เดือน อันนี้ทำทันหรือเปล่า แต่ผมเคยพูดครั้งที่แล้วว่า ไม่ทันหรอกครับ ถ้าจะพูดถึงระบบบล็อกเชน กว่าจะมีการตรวจสอบ เยอะแยะไปหมด 

ซึ่งข่าวใหม่ออกมาว่า มีบล็อกเชน แต่ว่าจะ “ ใช้ในการเก็บข้อมูลเท่านั้น”  หมายความว่า TRANSACTION อยู่ในระบบปกติ เหมือนในระบบธนาคารบ้านเราเลย ไม่ได้ใช้บล็อกเชนอะไรทั้งนั้น แต่ทุก ๆ 5 นาที จะมีการรวบเอาบัญชี TRANSACTION ที่เกิดขึ้นทั้งหมดแล้วเอาไปเขียนไว้ในหลักศิลาจารึกที่เรียกว่า Blockchain เขียนไว้เป็นข้อมูล เขียนไว้เฉย ๆ 

นายอาร์มตั้งคำถามว่า แล้วเขียนทำไม? เขียนเพื่อให้เป็น data base เก็บไว้ไง เพราะว่าอันนี้ มันสามารถจะย้อนดูได้ว่า มีใครโกงหรือเปล่า? มันโปร่งใส ก็กลับมาดูว่า Blockchain ที่ใช้เก็บข้อมูล ใครเป็นคนรันโหนด ? ใช้หลักการอะไร ?

นายอาร์มกล่าวว่า จากที่ผมเดินผ่านแล้วได้ยินมา คือใช้หลักการ POA : Proof of Authority (PoA) คือ หมายความว่า คนทั่วไป อาจจะไม่สามารถรันโหนดได้ ก็จะมีแค่ไม่กี่โหนดเท่านั้น หลัก 5 โหนด , 8 โหนด แล้วแต่ละโหนดก็เป็นของแต่ละกระทรวง ของหน่วยงานรัฐบาล แล้วก็ไม่ได้เปิดให้มี public edicator เข้ามาดู แล้วบล็อกเชนที่เก็บข้อมูล นั้น public เข้าไปดูไม่ได้  แล้วจะใช้บล็อกเชนทำไม ? 

อย่างงั้นก็เก็บลงใน Data base ธรรมดา แล้วก็ปิด แล้วก็ทำแบบเดิม ทำแบบที่ธนาคารทำ เพราะมันไม่มีความได้ใช้สัญญา Smart Contract  ใดๆ เลย แต่ทำเพื่ออะไร ? ผมคิดว่าทำเพราะเคยบอกไปแล้วว่าจะใช้บล็อกเชน ผมคิดว่ายังงั้นนะ 

บล็อกเชนชนมันใช้ผิดวัตถุประสงค์ อารมณ์แบบอาบน้ำ แต่จะใช้ผงซักฟอกอะ เข้าใจปะ คือใช้สบู่ก็ดีอยู่แล้ว แต่ว่ามีใบสั่งว่า ต้องใช้ผงซักฟอกอะ แล้วจะเอาผงซักฟอกมาทำอะไร มาล้างข้อเท้าหรอ อะไรอย่างงี้  คือมันแปลกๆ คือมันมีความต้องใช้ นายอาร์มกล่าว 

ที่มา : youtube