เมื่อวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา หน่วยงานภาษีกลางของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (FTA) ได้ออกประกาศแก้ไขกฎระเบียบภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศ โดยการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ครอบคลุมถึงการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มจากการโอนและการแปลงคริปโตเคอร์เรนซี รวมไปถึงบริการด้านการบริหารจัดการกองทุนการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ตามที่บริษัทที่ปรึกษาด้านธุรกิจ PwC ได้รายงานว่า การยกเว้นภาษีดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก้าวขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการลงทุนคริปโตระดับโลก
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ตามมติคณะรัฐมนตรีฉบับที่ (100) ปี 2567 ระบุว่าจะมีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนและการแปลงสินทรัพย์เสมือน รวมถึงสกุลเงินดิจิทัลทั้งหมด
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ได้แก้ไขกฎระเบียบสำคัญเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับสินค้าส่งออก
ในมาตรา 30 ได้มีการกล่าวถึงการจัดการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการส่งออกสินค้า โดยเน้นการผ่อนปรนเงื่อนไขในการใช้ภาษีอัตราศูนย์ (Zero Rate)
ผู้ส่งออกสามารถแสดงเอกสารประเภทต่าง ๆ เพื่อยืนยันการส่งออก เช่น การสำแดงต่อศุลกากร ใบรับรองการขนส่ง หรือหลักฐานเชิงพาณิชย์ต่าง ๆ
ในอดีต กระบวนการดังกล่าวเข้มงวดกว่า โดยต้องใช้เอกสารยืนยันหลายชั้น แต่ในปัจจุบัน ทางรัฐบาลได้ผ่อนปรนข้อกำหนดด้านเอกสาร เพื่อลดภาระให้กับผู้ส่งออก
การเปลี่ยนแปลงนี้ยังสอดคล้องกับกฎหมายภาษีสรรพสามิต โดยเฉพาะในกรณีของสินค้าที่ได้รับการยกเว้นภาษีสรรพสามิตเมื่อมีการส่งออกออกนอกประเทศ
ในขณะที่มาตรา 31 ได้มีการปรับแก้ไขกฎระเบียบภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการส่งออกบริการ โดยเพิ่มเงื่อนไขว่าบริการที่ส่งออกจะต้องไม่ถือว่าได้มีการให้บริการภายในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือในเขตพื้นที่ที่กำหนดตามข้อกฎหมายในพระราชบัญญัติกฤษฎีกา
การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้การใช้ภาษีอัตราศูนย์สำหรับการส่งออกบริการถูกจำกัดมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้บริการบางประเภทที่สถานที่ให้บริการอยู่ภายในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ต้องเสียภาษีในอัตราปกติ
ตัวอย่างของบริการที่อาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงนี้ ได้แก่ บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ บริการอิเล็กทรอนิกส์ และบริการโทรคมนาคม ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่มีการใช้งานหรือได้รับประโยชน์จากบริการนั้น ๆ
ที่มา : cryptopolitan