Sławomir Mentzen ผู้สมัครชิงตำแหน่งปธน. ของโปแลนด์ ได้ประกาศนโยบายสุดล้ำ ด้วยการให้คำมั่นว่าจะสร้างกองทุนสำรอง Bitcoin เพื่อยกระดับเศรษฐกิจของประเทศ โดยตัวเขาเองยังมีการถือครอง Bitcoin จำนวน 33.7 BTC คิดเป็นมูลค่ากว่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
Bitcoin Reserve นำหน้าเกมเศรษฐกิจ สลัดปัญหากฎหมายที่ล่าช้า
Mentzen ได้โพสต์ผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย X ว่า “ถ้าถามว่า ผม @SlawomirMentzen จะสร้างกองทุนสำรอง Bitcoin ในโปแลนด์หรือไม่? คำตอบคือ แน่นอนครับ”
การมีกองทุนสำรอง Bitcoin จะช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจของโปแลนด์ให้แข็งแกร่งขึ้น ด้วยการเพิ่มความหลากหลายในสินทรัพย์ทางการเงิน Bitcoin มีความพิเศษตรง มันมีจำนวนจำกัดเพียง 21 ล้านเหรียญทั่วโลก ทำให้มันเป็นสินทรัพย์ที่เก็บรักษามูลค่าได้ดีในระยะยาว แตกต่างจากเงินทั่วไปที่สามารถได้รับผลกระทบจากเงินเฟ้อ
ในระดับโลก หลายประเทศเริ่มเห็นคุณค่าของ Bitcoin โดยเอลซัลวาดอร์เป็นประเทศแรกที่ประกาศให้ Bitcoin เป็นเงินที่ถูกกฎหมายในปี 2021 และสวิตเซอร์แลนด์กำลังพิจารณานำ Bitcoin มาใช้ในระบบการเงินของตน เช่นเดียวกับที่ Donald Trump ผู้ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนปัจจุบัน ได้สัญญาว่าจะมีการจัดตั้กองทุนสำรอง Bitcoin เพื่อป้องกันเงินเฟ้อและความผันผวนทางเศรษฐกิจในสหรัฐฯ
เขากำลังเดินตามรอย Trump?
หลังจากที่ Mentzen โพสต์ข้อความดังกล่าว แผนการนี้ดูคล้ายกับแนวทางของ Donald Trump ซึ่งเคยมีการสนับสนุนคริปโตเคอร์เรนซี โดยเฉพาะ Bitcoin อย่างเปิดเผย ในช่วงหาเสียง Trump ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของ Bitcoin ในฐานะสินทรัพย์ทุนสำรองแห่งชาติ เช่นเดียวกับ Mentzen ที่ให้คำมั่นว่าจะนำ Bitcoin มาใช้เป็นทุนสำรองหากได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี
สงสัยจะเป็นเรื่องใหญ่! เพราะขนาด อ.ตั๊ม ก็ไม่พลาดข่าวนี้
เมื่อประมาณ 1 ชั่วโมงที่ผ่านมา อาจารย์ตั๊ม ได้โพสต์ข้อความถึงประเด็นร้อนแรงนี้ พร้อมแสดงความเห็นสั้น ๆ แต่ทรงพลังว่า “เกมได้เริ่มขึ้นแล้ว” ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเวทีโลก หลังจาก Donald Trump ชนะการเลือกตั้งสหรัฐฯ แนวคิดเรื่องการจัดตั้ง กองทุนสำรอง Bitcoin เริ่มถูกพูดถึงอย่างจริงจังและขยายตัวอย่างรวดเร็วในหลายประเทศ
สิ่งที่น่าสนใจคือ การเคลื่อนไหวเหล่านี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ ที่ Bitcoin ก้าวขึ้นมาเป็นตัวแปรสำคัญในระบบเศรษฐกิจระดับโลก และในตอนท้าย อาจารย์ตั๊ม ยังได้ทิ้งคำถามที่ชวนให้ทุกคนฉุกคิดว่า “แล้วประเทศไทยล่ะ?” คำถามนี้อาจเปิดประเด็นให้คนไทยและผู้ใหญ่ในประเทศไทย อาจหันมองถึงอนาคตในการปรับใช้ Bitcoin กับเศรษฐกิจของประเทศอย่างจริงจังมากขึ้น
ที่มา:cryptopolitan