<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ข้อมูลเผย! นักลงทุนคริปโตส่วนใหญ่ 60% ในประเทศอินโดฯ มีอายุต่ำกว่า 30 ปี

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ข้อมูลจากหน่วยงานกำกับดูแลสินค้าโภคภัณฑ์ของอินโดนีเซีย (Bappebti) ในเดือนกันยายนพบว่า ผู้ใช้งานคริปโตส่วนใหญ่ในอินโดนีเซียมีอายุ 30 ปีหรือต่ำกว่า 

ข้อมูลจาก Bappebti และแพลตฟอร์มคริปโตในประเทศเปิดเผยว่า นักลงทุนคริปโตมากกว่า 60% ในประเทศมีอายุระหว่าง 18 ถึง 30 ปี และอีก 35.1% อยู่ในช่วงอายุ 25-30 ปี

นอกเหนือจากข้อมูลประชากรแล้ว Bappebti ยังรายงานว่าปริมาณธุรกรรมสินทรัพย์คริปโตทั้งหมดในเดือนกันยายนมีมูลค่า 33.67 ล้านล้านรูเปียห์ หรือประมาณ 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยจำนวนผู้ใช้งานคริปโตในอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นถึง 21.27 ล้านคนในเดือนดังกล่าว โดยคริปโตที่มีการซื้อขายเป็นหลักคือเหรียญ USDT ของ Tether

การกำกับดูแลคริปโตในประเทศอินโดฯ

สินทรัพย์คริปโตในอินโดนีเซียถูกยอมรับอย่างเป็นทางการว่าเป็น ‘สินค้าโภคภัณฑ์’ ซึ่งทำให้ Bappebti ได้จัดตั้งกรอบการกำกับดูแลการซื้อขายคริปโตอย่างเป็นระบบ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานคริปโตในอินโดนีเซียต้องเผชิญกับความท้าทายจากระบบการเก็บภาษีซ้ำซ้อนสำหรับการทำธุรกรรมคริปโต โดยในปี 2022 อินโดนีเซียได้บังคับเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 0.11% และภาษีกำไรจากเงินทุน 0.1% สำหรับธุรกรรมเกี่ยวกับคริปโต

อย่างไรก็ตาม หน่วยงาน Bappebti ได้เรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาระบบภาษีสำหรับคริปโตใหม่อีกครั้ง โดยเมื่อวันที่ 2 มีนาคม เจ้าหน้าที่ Bappebti ได้เสนอขอให้พิจารณาระบบภาษีคริปโตใหม่  ซึ่งทาง Tirta Karma Senjaya หัวหน้าสำนักงานพัฒนาตลาดของ Bappebti ได้กล่าวไว้ว่า 

“คริปโตอาจกลายเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจอินโดนีเซียในอนาคต เพราะต่อไป คริปโตเคอร์เรนซีจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของภาคการเงิน เราจึงคาดหวังว่ากรมสรรพากรจะพิจารณาเรื่องการเก็บภาษีคริปโตใหม่อีกครั้ง”

ที่มา:cointelegraph