ก่อนหน้านี้ทางสยามบล็อกชนได้รายงานเกี่ยวกับคอร์สสอนเรื่อง Cryptocurrency ที่มีอดีต รมว. คลังเป็นผู้ริเริ่ม นามว่า Cryptoasset Revolution (CAR)
วันที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา ในหลักสูตร Cryptoasset Revolution หรือ CAR นาย ปิ่นสาย สุรัสวดี ผู้อำนวยการกองวิชาการแผนภาษี กรมสรรพากร กล่าวในหัวข้อ “จับตาภาษีของทรัพย์สินดิจิทัล ปูทางสู่การลงทุนระยะยาว”
อ้างอิงจากเว็บ money2know นาย ปิ่นสาย กล่าวว่า:
“การจัดเก็บภาษีสินทรัพย์ดิจิทัล ยังมีขั้นตอนอีกมาก และยังไม่จบ”
โดยนาย ปิ่นสายยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “คำว่าเงินได้หมายถึงเงินที่เกินกว่าทุน นั่นหมายถึง กำไรดังนั้นการจัดเก็บภาษี 15% คือคิดจากกำไรที่ได้รับ”
นอกจากนี้กฏหมายที่ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินการในขณะนี้ยังแบ่งออกเป็นสองส่วนได้แก่
VAT Examption ก็คือ การยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บุคคลธรรมดาที่ซื้อขายทรัพย์สินดิจิทัลผ่านเว็บเทรดคริปโต
WHT15% CORPORATE หรือก็คือ กำหนดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายของเงินได้ที่นิติบุคคลได้รับจากสินทรัพย์ดิจิทัล ในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้นั่นเอง
และถ้าอ้างอิงจากการเก็บภาระภาษีตามประมวลรัษฎากร จำแนกลักษณะของสินทรัพย์ออกเป็น 4 ประเภทดังนี้:
- สินทรัพย์ประเภททุน จะมีภาระภาษีในส่วนของ Income TAX เมื่อเกิดเงินปันผล (Dividend)
- สินทรัพย์ประเภทหนี้ จะไม่มีภาระภาษีในส่วนของ VAT (ภาษีมูลราคาเพิ่ม) แต่จะมีภาระ Income TAX และ SBT (Special Business Tax) เมื่อมี Interest เข้ามา
- สินทรัพย์ประเภทสินค้า มีภาระภาษีในส่วนของ Income TAX และ VAT (ภาษีมูลราคาเพิ่ม) เมื่อเกิด revenue แต่ไม่มีภาระภาษีในส่วนของ SBT (Special Business Tax)
- สินทรัพย์ประเภทบริการมีภาระภาษี Income TAX และ VAT (ภาษีมูลราคาเพิ่ม) และ SBT (Special Business Tax) เมื่อมีค่าบริการ
ภาษีการขุด (Mining)
ส่วนการเก็บภาษีจากการขุดหรือ Mining กำลังอยู่ในระหว่างการหาข้อสรุปว่าจะมีการจัดเก็บภาษีในช่วงใด โดยคาดว่าแนวโน้มที่น่าจะเป็นไปได้ที่สุด ณ เวลานี้ คือ มีการจัดเก็บภาษีรอบเดียวรอบกับปีที่มีการขาย Cryptocurrency โดยหักภาษี ณ ที่จ่าย 1 รอบและมีการนำไปรวมภาษีปลายปีนั่นเอง
อย่างไรก็ตามในขณะที่เขียนนี้กฏเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ออกมาก็ยังไม่สิ้นสุด และยังมีบางส่วนที่ยังปรับเปลี่ยน เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในอุตสาหกรรมด้านคริปโต ซึ่งตอนนี้นักลงทุนทุกคนต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น