หลังจากที่เราได้ยินคำว่า Initial Coin Offerings (ICO) มาได้เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ล่าสุดนั้นดูเหมือนว่าจะมีศัพท์ใหม่ที่ผู้คนในวงการ cryptocurrency หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่คุ้นหู ซึ่งนั่นก็คือ security token offering (STO) ฟังดูอาจจะคล้าย ๆ กับพี่ใหญ่ของมันที่เพิ่งจะเกิดขึ้นมาในวงการนี้ได้ไม่กี่ปีมาแล้ว คำถามที่ตามมาคือ แล้วมันต่างกันอย่างไรล่ะ
STO นั้นถือกำเนิดขึ้นมาเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทรงพลังของ private equity และการระดมทุนโดยบริษัทด้าน venture capital “จากทั่วโลก” ซึ่งมันทรงพลังถึงขั้นที่ Polymath นั้นประมาณการณ์เอาไว้ว่ามันจะเติบโตถึง 10 ล้านล้านดอลลาร์ในอีกสองปี
แล้วมันต่างจาก ICO ที่เรารู้จักกันดีอย่างไรล่ะ? อย่างแรกเลยคือ ICO นั้นถูกเปิดขายโดยบริษัทที่ต้องการจะระดมทุนจากมวลมหาชน ซึ่งผู้ที่ซื้อไปนั้นสามารถนำไปแลกเป็นสกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ อย่างเช่น Bitcoin หรือ ETH ได้ (ก่อนที่จะนำไปแลกคืนเป็นเงินสดได้) ซึ่งหากดู ๆ แล้วมันก็คงจะเหมือนการที่คุณซื้อหุ้นของบริษัทนั้น ๆ แต่ทว่า…
คุณไม่ได้ซื้อหุ้นเลย
โดยปกติแล้ว ในทางกฎหมายนั้นถ้าหากว่าคุณซื้อหุ้นจากบริษัทแห่งหนึ่งไว้คุณจะได้สิทธิและพันธะในการเป็นผู้ถือหุ้น ยกตัวอย่างเช่นการออกเสียงในกลุ่มผู้ถือหุ้น และรวมถึงเงินปันผลอีกด้วย แต่เมื่อคุณซื้อเหรียญโทเค็นที่เป็น ICO คุณจะไม่ได้สิทธินั้น ๆ เลย แต่ทว่าในเหรียญ STO นั้น จะให้คุณได้ในทุกอย่างที่กล่าวมาข้างต้น บวกกับความคล่องตัวของความเป็น Token ที่รันอยู่บนเทคโนโลยี Blockchain ของมัน
ในการเข้าร่วมซื้อ Security Token Offering นั้นก็ไม่ต่างจากการเข้าซื้อ ICO เท่าไรนัก กล่าวคือคุณสามารถซื้อเหรียญ token ในช่วงที่มีการเปิดขาย และหลังจากนั้นคุณก็สามารถนำมันไปเทรดหรือถือไว้ได้ต่อ แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยการที่ securities token นั้นถือเป็นหลักทรัพย์ด้านการเงินจริง ๆ ดังนั้นเหรียญของคุณจึงถูกหนุนหลังไว้ด้วยสิ่งที่ถูกจับต้องได้เช่น สินทรัพย์, ผลกำไร หรือผลประกอบการของบริษัทนั้น ๆ
หากคุณเป็นผู้ประกอบการ ควรออก STO หรือไม่
สำหรับบริษัทที่ต้องการจะระดมทุนนั้น แม้ว่า ICO ในไทยเพิ่งจะได้รับการอนุมัติด้านกฎเกณฑ์จาก ก.ล.ต. แล้ว แต่การระดมทุนผ่านช่องทางดังกล่าวในปัจจุบันนั้นนับว่าไม่ง่ายเหมือนปีที่แล้ว ไม่ว่าจะทั้งในแง่กฎหมายและสภาพตลาดในตอนนี้ แต่สำหรับ STO ที่ถือเป็นของใหม่นั้น นาย Jaron Lukasiewicz หรือ CEO และผู้ก่อตั้งบริษัท Influential Capital ได้ออกความเห็นว่าบริษัทที่ต้องการจะระดมทุนผ่านช่องทางดังกล่าวควรที่จะคำนึงถึงปัจจัยหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
บริษัทของคุณสามารถลงทุนใน STO ได้ก็ต่อเมื่อ:
- ทำรายได้มากกว่า 329.7 ล้านบาทต่อปี
- เป็นบริษัทที่มีอัตราเติบโตสูง
- ประกอบธุรกิจทั่วโลก
- ต้องการใช้ asset ที่สามารถส่งหากันได้
- ให้ความสนใจในวิธีการระดมทุนที่สามารถเชื่อมต่อกับลูกค้าของคุณได้
- ต้องการให้สภาพคล่องที่สูงสำหรับผู้ถือหุ้น
ก่อนที่เราจะพูดถึงสาเหตุที่ทำไม STO ถึงจะมาเป็นสิ่งที่นิยมในหมู่นักลงทุนและบริษัทที่ต้องการจะระดมทุนนั้น ลองมาสรุปกันอีกครั้งว่า STO คืออะไร และมันทำงานอย่างไร
หากจะให้สรุปง่าย ๆ นั้น Securities Token Offering ก็คือการเสนอขายหลักทรัพย์ในรูปแบบดิจิทัลชนิดหนึ่งคล้ายกับ ICO ที่มีคุณสมบัติในการส่งให้ใครก็ได้ผ่านเทคโนโลยี Blockchain เพื่อระดมทุนหาเงินเข้าบริษัทจากมวลมหาชน ผู้ที่ซื้อนั้นสามารถนำไปเทรดซื้อขายเก็งกำไรได้ เพียงแต่ว่าผู้ที่ถือหลักทรัพย์ดิจิทัลอย่าง STO จะได้สิทธิในการเป็นผู้ร่วมถือหุ้นในบริษัทตามกฎหมายทุกอย่าง ซึ่งต่างจาก ICO ที่ผู้ถือเหรียญโทเค็นนั้นจะได้แต่ถือเหรียญอย่างเดียวเท่านั้น
อะไรทำให้ STO นั้นเป็นที่ถูกจับตามองโดยผู้ประกอบการ
การเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้จากทั่วโลก
ก่อนหน้านี้การที่จะเข้าถึงเงินทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศได้นั้น มักจะถูกจำกัดไว้โดยบริษัทที่ประกอบกิจการมาได้อย่างดีแล้ว และสามารถรองรับความเสี่ยงเองได้ อย่างไรก็ตามเมื่อมี security token offerings แล้วนั้น ข้อจำกัดด้านพรหมแดนนั้นจะหายไปทันที ซึ่งนั่นหมายความว่าไม่ว่าทั้งบริษัทเล็กและใหญ่นั้นสามารถที่จะเสนอขายโทเค็นของพวกเขาให้กับนักลงทุนทั่วโลกผ่าน internet ได้ แบบที่เราเคยเห็นกับในกรณีการบูมของ ICO เมื่อปีที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้ให้บริการด้านการโปรโมท ICO ใหม่ ๆ ผุดขึ้นมาเยอะมาก ซึ่งความยืดหยุ่นตรงนี้ทำให้บริษัทสตาร์ทอัพและบริษัทใหญ่ ๆ สามารถเข้าถึงเงินทุนได้ลึกมากขึ้น และได้รับ brand awareness มากขึ้นอีกด้วย รวมถึงธรรมชาติของเหรียญโทเค็นที่มักจะมาพร้อมกับตลาดระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่เชี่ยวกราก และสภาพคล่องที่สูง
อีกหนึ่งวิธีในการทำตลาด
ในการระดมทุนจากนักลงทุนต่างประเทศแบบเก่านั้น มักจะเต็มไปด้วยความยุ่งยากและซับซ้อน หนึ่งในนั้นก็คือเรื่องของกฎหมายในประเทศนั้น ๆ และรวมถึงการแปลภาษาอีกด้วย การถือกำเนิดของ ICO นั้นมาพร้อมกับเครื่องมือที่ช่วยรองรับในด้านการตลาดที่ทำให้การโฆษณาทั่วโลกนั้นถือเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น อีกทั้งยังมีเทคนิคใหม่อย่างเช่น bounty program ที่จะทำให้บริษัทแต่ละแห่งสามารถแจกรางวัลให้กับผู้เข้าร่วมโปรแกรมได้ทั่วโลก อย่างเช่นช่วยกดไลค์หรือแชร์บน social media แลกรับเหรียญโทเค็น นอกจากนี้การแปลภาษาบนแพลทฟอร์มเพื่อการพูดคุยอย่างเช่น Telegram, Wechat และ KakaoTalk ก็ยังถือเป็นกลยุทธ์ในการทำการตลาดที่ดีในการระดมทุน
เงื่อนไขที่ดีกว่า
STO หยิบยื่นเงื่อนไขที่ดูดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการระดมทุนจาก VC อย่างแรกก็คือทางบริษัทนั้นไม่จำเป็นต้องเสียเก้าอี้ในบอร์ดผู้บริหารไป ซึ่งส่งผลทำให้ทีมผู้บริหารภายในมีอำนาจมากขึ้น, สามารถตัดสินใจได้เด็ดขาดมากขึ้น และช่วยลดความเสี่ยงในการถูกถอดออกจากบริษัทของตัวเองได้ด้วย ในข้อถัดไปก็คือสำหรับ equity STO นั้นก็คือจะทำให้บริษัทสามารถขายหุ้นสามัญได้ แทนที่จะขายหุ้นบุริมสิทธิ ซึ่งนี่ทำให้ทีมผู้บริหารและผู้ถือหุ้นสามัญยังสามารถถือหุ้นเป็นเปอร์เซนต์สูง ๆ ในบริษัทต่อไปได้ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ร้าย ๆ
[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]
จุดเข้าที่ราคาต่ำกว่า
security token offering นั้นสามารถนำไป tokenize (การทำสิ่งของให้อยู่ในรูปแบบโทเค็น) ทรัพย์สินต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น commodities และเครื่องมาทางการเงินได้ นั่นหมายความว่าบริษัทเล็ก ๆ นั้นมีโอกาสที่จะระดมทุนเป็นเงินจำนวนมหาศาลได้จากนักลงทุนทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว โดยที่ไม่ต้องแบกรับต้นทุนมหาศาล โดยเฉพาะค่าธรรมเนียมด้านกฎหมาย ลองจินตนาการดูว่าถ้าคุณต้องระดมทุนจากนักลงทุนทั่วโลกได้โดยใช้วิธีการแบบเดิม คุณจะต้องมาใช้เวลาและงบประมาณในการจ้างนักกฎหมายในทุก ๆ ประเทศที่คุณจะเข้าไปขอระดมทุน ซึ่ง STO นั้นสามารถทำลายข้อความต้องการเหล่านั้นได้ เนื่องจากว่า compliance นั้นถูกรวมเข้าไปในตัว token อยู่แล้ว โดยเฉพาะในประเทศสหรัฐฯนั้น มี framework อย่างเช่น eg D และ Reg A+ ที่ถูกใช้โดยบริษัทส่วนใหญ่เพื่อระดมทุนแล้ว และ compliance กับข้อความต้องการของพวกเขาสามารถการันตีได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้นักกฎหมาย
การใช้งานด้านอื่น ๆ นอกจากหลักทรัพย์
ด้วยการนำเอาฟีเจอร์ของโทเค็นที่เป็น utility มาผสมกับ security token นั้น จะส่งผลทำให้มีมูลค่าเพิ่มเข้ามา ยกตัวอย่างเช่นถ้าหากว่าโรงแรมคริปโตแห่งหนึ่งเปิดขายเหรียญ STO ให้กับลูกค้าของเขา ลูกค้าเหล่านี้ที่ซื้อเหรียญของโรงแรมไปจะสามารถได้รับส่วนลด 10% เวลาจองห้องพัก หรือการเข้าไปใช้งานที่พัก VIP แบบฟรี ๆ ซึ่งการถือกำเนิดของ STO นั้นอาจทำให้บริษัทเหล่านี้สามารถต่อยอดคิดค้นไอเดียในการพัฒนาใหม่ ๆ ให้กับลูกค้าของพวกเขาได้อีกมากมาย ในอีกตัวอย่างหนึ่งอย่างเช่นลูกค้าที่ถือเหรียญโทเค็นดังกล่าวมาเป็นเวลามากกว่าสามปีจะได้รับส่วนลดราคาค่าอาหาร, ค่าสปา, ค่าเข้าบริเวณบันเทิง ซึ่งใจหลักสำคัญก็คือการที่บริษัทเหล่านี้สามารถหยิบยื่นโทเค็นหลักทรัพย์ที่ทำให้ผู้ถืออยากจะตัดสินในถือมันนาน ๆ ซึ่งข้อได้เปรียบเหล่านี้แน่นอนว่ามันมากกว่าการเพิ่มขึ้นของราคาเหรียญเสียอีก
แล้วอย่างไรต่อล่ะ
ในขณะที่ STO นั้นมีข้อดีอยู่มากมาย แต่มันก็ยังคงเป็นสิ่งที่ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าการระดมทุนแบบนี้ไม่เหมาะสำหรับทุก ๆ คน หากจะให้หาสาเหตุว่าทำไมนั้น ข้อแรกตอบง่าย ๆ ก็คือนี่เป็นตลาดที่ยังใหม่อยู่ บวกกับมีเหรียญ STO ตัวแรกของโลกที่เพิ่งเกิดขึ้นมาได้เพียงแค่สองปีเท่านั้น ทำให้ในตอนนี้เรายังไม่มีตัวอย่างและแหล่งที่มาเพื่ออ้างอิง (เช่นในแง่กฎหมาย) ไว้ใช้อย่างเพียงพอได้ ข้อที่สองคือด้วยการที่เราไม่มีเวลาในการเฝ้าดูมันเพียงพอนั้น ทำให้เรายังต้องใช้เวลาอีกนานในการดูว่าในอนาคต STO จะออกมาเป็นในรูปแบบไหน
ข้อที่สาม ผู้ออกกฎหมายและรัฐบาลอาจจะก้าวเข้ามาในเวลาไหนก็ได้ และออกมาวางกฎเกณฑ์เหมือนกับที่เราได้เห็นในคราวของ ICO ข้อที่สี่ มันยังคงมีความไม่แน่นอนว่าเหรียญโทเค็นเหล่านี้ควรถูกมองว่าเป็นหลักทรัพย์จริง ๆ หรือไม่ และข้อสุดท้ายนั้น การเปิดขาย STO หมายถึงคุณจะต้องจัดการและบริหารเหรียญโทเค็น ซึ่งเหรียญเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อการถูกแฮ็ค ดังนั้นการมีทักษะด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงเป็นเรื่องสำคัญ
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น