<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

ทำไมการระดมทุน ICO ถึงจะได้รับความนิยมน้อยลงในอนาคต ?

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในปี 2017 นั้น ICO เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ตลาดคริปโตคึกคักและดึงดูดนักลงทุนหน้าใหม่ ๆ เข้ามาได้เนื่องจาก นักลงทุนส่วนใหญ่ที่ลงทุน ICO ในช่วงนั้นได้กำไรกันแทบทั้งสิ้น บางโปรเจกต์ก็มีราคาพุ่ง 2 เท่า, 5 เท่า, 10 เท่า หรือ 100 เท่าก็มี

หากเปรียบเทียบกับการลงทุนปกติแล้ว มันย่อมดูหอมหวานและทำกำไรได้มากกว่าเยอะ ส่งผลให้มีนักลงทุนหน้าใหม่ ๆ เข้ามาลงทุนกันเพียบ แต่ในปี 2018 ที่ตลาดคริปโตเริ่มกลับเป็นขาลงอีกครั้ง ทำให้ ICO จำนวนมากไม่ได้มีราคาที่เพิ่มขึ้นอย่างที่หาย ๆ คนคิดไว้

อ้างอิงจาก ICOdrops โปรเจกต์ส่วนใหญ่นั้นขาดทุนประมาณ 70 ถึง 90 เปอร์เซ็นต์ทั้งสิ้น ซึ่งก็คงไม่ถูกใจนักลงทุนที่วาดฝันไว้เท่าไรนัก เนื่องจากมันแตกต่างกับปีที่แล้วอย่างสิ้นเชิง

ปัญหาของ ICO

นอกเหนือจากผลตอบแทนที่ลดลงอย่างมากแล้ว การระดมทุน ICO นั้นมีปัญหาอีกมากมายเช่น

  • การถูกหลอกลวงต้มตุ๋นได้ง่าย ๆ โดยที่แทบไม่สามารถทำอะไรได้เลย ในช่วงแรกที่นักลงทุนให้เงินกับโปรเจกต์ไปนั้น พวกเขาต้องนั่งกังวลว่าจะโดนชิ่งเงินหรือไม่ และมีอยู่บ่อยครั้งที่นัลกงทุนโดนหลอก เพราะว่ากฎหมายในการลงโทษยังไม่ทั่วถึง ทำให้มีมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาในวงการนี้เยอะมาก
  • กฎหมายที่หละหลวมหากโดนหลอกขึ้นมาจริง ๆ ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ เนื่องจากโปรเจกต์ส่วนใหญ่นั้นไม่ได้ถูกครอบคลุมโดยกฎหมาย ทำให้เปิดช่องว่างให้มิจฉาชีพเข้ามาเยอะ
  • โปรเจกต์ส่วนใหญ่นั้นไม่ได้จริงจัง และชอบขายฝันให้นักลงทุน ถ้าให้พูดกันตามตรง เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า เทคโนโลยีที่โปรเจกต์นั้นคุยโม้ไว้ใน Whitepaper สามารถทำได้จริงหรือไม่ เพราะว่าเราไม่ใช่นักพัฒนาโดยตรง เมื่อทำไปสักพักก็อาจจะล้มเลิกก็เป็นได้

การมาถึงของ STO

หลังจากที่ฟังปัญหาหลัก ๆ ของ ICO แล้ว มีอีกปัจจัยหนึ่งนั่นก็คือการมาถึงของ STO (Security Token Offering) ที่จะทำให้การระดมทุน ICO จะได้รับความนิยมน้อยลง

การระดมทุนแบบ STO เป็นการระดมทุนแบบใหม่ ที่หลาย ๆ คนคาดว่าจะมาชดเชยข้อเสียของการระดมทุนแบบ ICO เนื่องจากก่อนที่จะทำการระดมทุน STO ได้นั้น โปรเจกต์ต้องผ่านการตรวจสอบทางกฎหมายอย่างละเอียด ซึ่งจะกรองโปรเจกต์ปลอม ๆ ที่ไม่มีตัวตนจริง ๆ หวังจะมาหลอกลวงเงินได้ระดับหนึ่ง

โทเคนจาก STO นั้นจะให้ความเป็นเจ้าของของโปรเจกต์นั้นแก่ผู้ถือด้วย ซึ่งแตกต่างจากโทเคนจาก ICO ที่เป็น Utility Token ที่ถูกออกแบบมาเพื่อนำไปใช้จ่ายเท่านั้น ไม่ได้ส่วนแบ่งของผลประกอบการ หรือส่วนแบ่งความเป็นเจ้าของแต่อย่างใด

ทิศทาง

ในอนาคตอันใกล้นี้ หากกระบวนการ STO เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น และเริ่มนักลงทุนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงมันได้ พวกเขาก็มีสิทธิที่จะมาลงทุน STO มากกว่า ICO เนื่องจากมีโอกาสโดนหลอกที่น้อยกว่า รวมทั้งยังมีสิทธิมีเสียงได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าของโปรเจต์อีกด้วย

แต่ในมุมมองอีกด้าน การที่จะสามารถระดมทุน STO ได้นั้นต้องมีค่าใช้จ่ายในกระบวนการตรวจสอบที่ค่อนข้างสูง รวมทั้ง STO นั้นจะทำให้โทเคนกลายเป็นหลักทรัพย์ ส่งผลให้ต้องทำตามกฎหมายหลักทรัพย์ของสหรัฐฯ ที่จะมีความยุ่งยากมากมายเพิ่มขึ้นไปอีก

อย่างไรก็ตามขั้นตอนต่าง ๆ ของ STO ตรงข้ามกับแนวคิดของ ICO ที่เป็นการระดมทุนสำหรับสตาร์ทอัพเล็ก ๆ จะได้นำเงินมาสร้างโปรเจกต์ได้อย่างสิ้นเชิง

นอกเหนือจากนี้ โปรเจกต์ ICO ยังพบกับกฎหมายจำนวนมากที่มาบีบบังคับเช่นเช่นจีน และเกาหลีใต้ก็ได้ประกาศแบน ICO เป็นที่เรียบร้อย เนื่องจากเป็นกลัวนักลงทุนจะถูกต้มตุ๋น ซึ่งในอนาคตมีกฎหมายอีกหลาย ๆ อย่างคาดว่ากำลังตามมาทำให้การระดมทุน ICO เป็นไปได้ยากขึ้น และอาจหันไประดมทุนรูปแบบอื่นแทน

ต้องติดตามต่อไปว่า การระดมทุน ICO จะสามารถแก้ไขปัญหาเก่า ๆ ได้หรือไม่ อย่างเช่นแนวคิดของนักพัฒนา ERC-20 ที่เสนอไอเดียว่า นักลงทุนจะสามารถดึงเงินที่ลงไปใน ICO กลับไปตอนไหนก็ได้ แต่สำหรับสถานการณ์ตอนนี้ที่หลาย ๆ ประเทศนั้นนับว่าน่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น