ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คอมพิวเตอร์และนวัตกรรมต่าง ๆ ได้เข้าไป Disrupt ในทุก ๆ อุตสาหกรรม นวัตกรรมเริ่มถูกสร้างต่อยอดนวัตกรรมเก่าเรื่อย ๆ และผลิตภัณฑ์กับบริการดิจิทัลก็เริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งมันได้หล่อหลอมจนเกิดสิ่งที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากขึ้น ตั้งแต่ ผู้ช่วยแบบดิจิทัลไปยังบ้านแบบอัตโนมัติ ไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า ในตอนนี้ โปรแกรมต่าง ๆ ได้เข้ามาทำให้ชีวิตประจำวันของเรานั้นไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป และแน่นอน การเข้าไป Disrupt นั้นเกิดขึ้นในวงการการเงินด้วย
นอกเหนือจาก Cryptocurrency แล้ว เทคโนโลยี Blockchain ยังได้สร้างสิ่งที่ต่อยอดจากนั้นที่เรียกว่า Decentralized Finance ขึ้นมาด้วย
DeFi คืออะไร?
DeFi เป็นคำย่อมาจาก Decentralized Finance คำ ๆ นี้มักถูกใช้เพื่อพูดถึงสินทรัพย์ดิจิทัล, Smart Contracts ด้านการเงิน, Protocol ต่าง ๆ และ Decentralized Applications (DApps) ที่ถูกสร้างบน Ethereum ถ้าให้เข้าใจง่าย ๆ มันคือซอฟต์แวร์ด้านการเงินที่ถูกสร้างบน Blockchain ซึ่งสามารถนำซอฟต์แวร์เหล่านั้นมาต่อรวมกันได้แบบเลโก้
คุณสามรถเข้าไปดูพื่อคำรู้จักและศึกษาผลิตภัณฑ์และบริการในระบบนิเวศน์ของ Ethereum DeFi ได้ที่ DeFiPulse ในนนั้นจะคอยบอกว่ามี DeFi ที่ได้รับความนิยมต่าง ๆ นั้นมีมูลค่าเท่าไรบ้างที่ถูกล็อคอยู่
อะไรคือ Decentralized Finance และมันมีไว้สำหรับใคร?
เพื่อที่จะให้เข้าใจ DeFi มากขึ้น เราต้องลองย้อนไปดูก่อนว่า อุตสาหกรรมการเงินในปัจจุบันนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ฟังดูอาจจะแปลก ๆ แต่เงินนั้นไม่ใช่สิ่งที่อยูมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ แต่เพิ่งมีมาได้ในช่วงหลายพันปีมานี้
แต่เดิมแล้วมนุษย์ไม่ได้ใช้เงิน แต่มีระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการที่พวกเขามีกันแทน ซึ่งเมื่อสังคมของมนุษย์มีอายุและพัฒนามากขึ้น ระบบเศรษฐกิจก็เริ่มเปลี่ยนไป พวกเราได้สร้างสกุลเงินขึ้นมา ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ กันได้ง่ายยิ่งขึ้น สกุลเงินส่งผลให้มีนวัตกรรมใหม่ ๆ และเศรษฐกิจก็พัฒนาแบบก้าวกระโดด อย่างไรก็ตาม การพัฒนานั้นก็ไม่ได้เกิดขึ้นฟรี ๆ แต่แลกมากับอะไรบางอย่าง
ตั้งแต่อดีตแล้ว ที่หน่วยงานที่มีอำนาจเช่น รัฐบาลจะทำการสร้างสกุลเงินที่เป็นตัวกำหนดระบบเศรษฐกิจของเรา ธนาคารกลางและสถาบันต่าง ๆ ถูกคาดหวังให้บริหารและออกกฎหมายควบคุมจำนวนเงินที่มีหรือ Supply ในระบบเศรษฐกิจ
เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ ขนาดของเศรษฐกิจของเราก็ขยายใหญ่ขึ้น จนทำให้หน่วยงานเหล่านี้มีอำนาจมากขึ้น ในขณะที่ผู้คนก็ไว้วางใจพวกเขามากขึ้น
พวกเราเชื่อใจให้รัฐบาลไม่ทำการพิมพ์เงินออกมาจำนวนมหาศาลในชั่วข้ามคืน พวกเราเชื่อใจธนาคารของเราให้เก็บเงินเราอย่างปลอดภัย และพวกเราก็เชื่อใจผู้ให้คำแนะนำด้านการเงินของเราเวลาที่เราต้องการลงทุนในสินทรัพย์ไหน
ด้วยการที่เราส่งมอบอำนาจในการควบคุมเงินของเราเองให้กับคนอื่น เราก็คาดหวังที่จะทำกำไรจากมัน แต่ความเป็นจริงอันโหดร้ายเกี่ยวกับระบบการเงินในปัจจุบันก็คือ การมอบอำนาจและความเชื่อใจให้นั้นก็ใช่ว่าจะได้รับผลตอบแทนเสมอไป
ความเป็นจริงแล้ว เราแทบจะไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่า องค์กรที่ดูแลจัดการเรื่องการลงทุนของเรา หรือรัฐบาลจัดการระบบเศรษฐกิจอย่างไร ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว นักลงทุนก็มักจะได้ผลตอบแทนกลับมานิดหน่อยจากการเสี่ยงให้อำนาจแก่คนอื่น
DeFi ต้องการสร้างอะไรบางอย่างที่แตกต่างออกไป
Decentralized Finance นั้นเล็งที่จะสร้างระบบการเงินที่แตกต่างออกไป ซึ่งจะเปิดกว้างให้กับทุก ๆ คน พร้อมทั้งทำให้ผู้ที่ใช้งานไม่ต้องเชื่อใจองค์กรที่มีอำนาจให้มากที่สุด
เทคโนโลยีเช่นอินเทอร์เน็ต, Cryptography (การเข้ารหัส) และ Blockchain เป็นเครื่องมือที่เมื่อนำมารวมกันแล้ว สามารถสร้างระบบการเงินที่ไม่ต้องมีองค์กรที่มีอำนาจทั้งหมดขึ้นมาได้
มีคำพูดที่มักใช้ในวงการ Blockchain บ่อย ๆ ว่า ‘ไม่จำเป็นต้องเชื่อใจหรอก แต่ไปพิสูจน์สิ’ เพราะว่าในเครือข่ายของ Blockchain นั้น ทุก ๆ คนสามารถทำการยืนยันหรือพิสูจน์ทุก ๆ ธุรกรรมที่เกิดขึ้นใน Blockchain ได้นั่นเอง ด้วยวิธีนี้จะทำให้เกิดความโปร่งใสในระบบ แตกต่างจากระบบทั่วไปที่มีองค์กรที่มีอำนาจดูแล ในกรณีนั้นเราจะไม่สามารถตรวจสอบได้เฉพาะสิ่งที่องค์กรเหล่านั้นเปิดให้ดูเท่านั้น
DeFi เปิดให้ทุก ๆ คนเข้ามามีส่วนร่วมในวงการการเงิน
แทบจะทุกแอปฯ DeFi นั้นถูกสร้างบน Blockchain ของ Ethereum เครือข่าย Blockchain ทั้งสิ้น ซึ่ง Ethereum นั้นเป็น Blockchain ที่สามารถเขียนโปรแกรมบนนั้นได้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกด้วย Ethereum นั้นเป็นเครือข่าย Blockchain ที่มี Cryptoucurrency อย่าง Ether หรือ ETH ด้วย
นักพัฒนาต่าง ๆ สามารถสร้างแอปฯ บน Ethereum ที่สามารถสร้าง, เก็บ และจัดการสินทรัพย์ดิจิทัลอย่าง Token ได้ แอปฯ เหล่านั้นจะถูกเรียกว่า Decentralized Applications หรือ DApps ซึ่งมันจะทำงานด้วย Smart Contracts ที่เป็นสัญญาหรือข้อตกลง โดยจะมีกฎบังคับใน Blockchain ของ Ethereum ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้นักพัฒนาสามารถสร้างข้อตกลงแบบเด็ดขาดที่ไม่มีใครฝ่าฝนหรือโกงได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางในการจัดการเลย
Decentralized Finance ได้สร้างโอกาสที่จะทำให้วงการการเงินนั้นโปร่งใส และยืดหยุ่นมากขึ้น ใครก็ตามที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ก็สามารถเข้าถึงและใช้งาน Smart Contracts ที่ถูกสร้างบน Blockchain ของ Ethereum ได้หมด
นอกจากนี้ Smart Contracts ต่าง ๆ ก็ถูกสร้างบน Smart Contracts ที่เคยถูกสร้างมาแล้วอีกรอบหนึ่ง ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกได้ว่าโค้ดของ Smart Contracts ไหนนั้นให้บริการที่ดีที่สุดกับพวกเขา
แอปฯ DeFi ไหนบ้างที่ได้รับความนิยม
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า แอปฯ DeFi นั้นได้ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์และบริการมากมาย ซึ่งมีความคล้ายับบริการการเงินทั่ว ๆ ไป แต่เพิ่มความเป็น Decentralized เข้าไป
แอปฯ DeFi ที่ได้รับความนิยมที่สุดในตอนนี้ก็คือ แอปฯ แพลตฟอร์มปล่อยกู้ที่ทำหน้าที่คล้ายกับธนาคาร ผู้ใช้งานสามารถฝากเงินและได้รับดอกเบี้ยจากผู้ใช้งาคนอื่น ๆ ที่ทำการยืมได้ ในกรณีนี้ สินทรัพย์ต่าง ๆ นั้นเป็นรูปแบบดิจิทัลและมี Smart Contracts คอยเชื่อมผู้ปล่อยกู้ และผู้กู้ยืมไว่ บังคับให้ต้องทำตามข้อกำหนดของการกู้ยืม และมีการกระจายดอกเบี้ยไปตามอัตราส่วนเงินที่ฝากนั่นเอง
สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นโดยที่ไม่จำเป็นต้องมีความเชื่อใจใด ๆ ในธนาคารหรือคนกลางทั้งนั้น และด้วยการที่ตัดตัวกลางเหล่านี้ออกไป ทำให้ผู้ปล่อยกู้สามารถรับผลตอบแทนที่มากขึ้นได้ พร้อมทั้งเห็นความเสีย่งชัดเจนมากขึ้นด้วยจากความโปร่งใสที่ Blockchain ทำให้นั่นเอง
โทเคนอย่าง Stablecoins เองก็มีความสำคัญในระบบนิเวศน์ของ DeFi เช่นกัน คุณอาจจะเคยเห็นว่ามูลค่าหรือราคาของ Cryptocurrency นั้นมักจะผันผวนตลอดเวลา แต่ Stablecoins นั้นเป็นโทเคนที่ถูกออกแบบมาให้มูลค่าผันผวนน้อยที่สุด และก็มักจะสกุลเงินหรือสินทรัพย์ค้ำมูลค่าไว้เสมอ ยกตัวอย่างเช่น DAI เป็น Stablecoin ที่มี ETH ค้ำอยู่ ในทุก ๆ DAI ที่สร้างขึ้นมา จะมี ETH มูลค่า 1.50 ดอลลาร์ ถูกล็อคเพิ่มเข้าไปใน MakerDAO ที่เป็น Smart Contract ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวค้ำมูลค่า
อีกหนึ่งแอปฯ DeFi ที่ได้รับความนิยมก็คือ Decentralized Exchange (เว็บเทรดแบบ Decentralized) หรือ DEX มันทำหน้าที่เหมือนเว็บเทรดคริปโตทั่ว ๆ ไปโดยการใช้ Smart Contracts สร้างกฎของการเทรด, ทำการเทรด และคุ้มครองคริปโตของเราตามที่ตั้งไว้ ข้อดีของ DEX ก็คือมันไม่จำเป็นต้องทำการยืนยันตัวตนอย่าง KYC, ไม่ต้องมีการสมัคร, ไม่ต้องมีค่าธรรมเนียมในการถอน และที่สำคัญไม่ต้องฝากคริปโตไว้ในเว็บเทรดด้วย เพราะเวลาจะเทรดก็แค่เชื่อม Wallet ของเราเข้ากับเว็บเทรดเท่านั้น ทำให้มีความปลอดภัยมาก ๆ ไม่ต้องฝากเงินไว้ในเว็บเทรด
DeFi เหมือนเลโก้ในวงการการเงิน
ลองจินตนาการภาพของตัวต่อเลโก้ ที่ตอนแรกคุณก็เริ่มจากตัวต่อไม่กี่ชิ้น และเมื่อเวลาผ่านไปมันก็มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะต่อมันอย่างไร หรือจะต่อให้มันเป็นรูปแบบไหน และ Smart Contracts นั้นก็คล้าย ๆ กับตัวต่อเลโก้
ในทุก ๆ โปรเจกต์, ผลิตภัณฑ์ หรือบริการใหม่ ๆ ที่เปิดตัวบน Ethereum นั่นแปลว่าเครือข่ายของมันมีตัวต่อเพิ่มขึ้นมาอีกชิ้นแล้ว และการนำตัวต่อเหล่านั้นมาประกอบรวมกัน คุณจะสามารถสร้างเครื่องมือทางการเงินที่ทรงพลังมาก ๆ ขึ้นมาได้
ตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมมาก ๆ ก็คือ cDAI ตัวอย่างของเลโก้การเงินนี้ ในเครือข่าย Ethereum นั้นมี Compound ที่ทำหน้าที่เหมือนตลาดการเงิน หรือแพลตฟอร์มการกู้ยืมใน Ethereum ที่เมื่อคุณฝาก DAI เข้าไปแล้ว คุณจะได้โทเคน cDAI กลับมาเพื่อเป็นตัวแทน DAI และดอกเบี้ยที่ได้จากการปล่อยกู้ของเรา ด้วยความที่ cDAI เป็นโทเคน ทำให้คุณสามารถส่ง, รับ หรือใช้มันใน Smart Contracts อื่น ๆ ได้ ซึ่งตรงนี้แหละที่มันทำหน้าที่คล้ายเลโก้ เช่น เราทำการแปลง ETH ด้วย MakerDAO ให้ได้ DAI, เอา DAI ไปฝากไว้ใน Compound เพื่อให้ได้ cDAI จากนั้นนำ cDAI ไปใช้ใน DApps อื่นต่ออีก
ยกตัวอย่างเช่น คุณสามารถทำการแลก ETH เป็น cDAI ได้เลยผ่าน DEX และก็สามารถเก็บดอกเบี้ยได้เลยทันทีเพียงแค่ทำการถือ cDAI ไว้ คุณสามารถดูอัตราการแลกเปลี่ยนที่ดีที่สุดได้ผ่าน DEX.AG ที่จะรวบรวมราคาของทุก ๆ DEX ไว้ด้วย
การ Decentralized อาจมีความแตกต่างกันออกไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงบริการของ DeFi แล้วมันก็ไม่ได้ Decentralized ทั้งหมดซะทีเดียว เพราะมันเองก็มีระดับความกระอำนาจแตกต่างกันออกไป
จากที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า Stablecoins นั้นได้รับความนิยมมากใน DeFi แต่ก็ใช้ว่า Stablecoins นั้นจะ Decentralized เหมือน DAI เพราะมีหลากหลายสกุลที่เป็นโทเคนที่อิงจากการฝากเงิน Fiat เช่น ในทุก ๆ USDC ที่ถูกสรา้งขึ้นจะมีเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ถูกฝากไว้ในบัญชีที่เอาไว้ค้ำมูค่า ด้วยวิธีนี้คุณจะสามารถแปลงสินทรัพย์ปกติเป็นรูปแบบดิจิทัลได้
ในจุดนี้เองที่จะเกิดความสับสนได้ เพราะถึงแม้คุณจะสามารถเทรด, ส่งและรับโทเคนเหล่านี้บน Blockchain ได้ แต่คุณยังไม่สามารถกำจัดความจำเป็นของการที่ต้องมาจัดการสินทรัพย์ในแบบปกติ หรือการแลกมันกลับเป็นสินทรัพย์ปกติอยู่ดี
ยกตัวอย่างเช่น คุณทำการซื้อบ้านบน Blockchain จากการที่มีคนบางคนทำการแปลงบ้านให้อยู่ในรูปแบบโทเคน จากนั้นนำมันไปตั้งขายไว้ในเว็บเทรด และคุณก็ซื้อมัน ด้วยความที่ไม่มีกฎหมายอะไรเลย คุณไม่สามารถบังคับผู้ขายให้มอบความเป็นเจ้าของของบ้านนั้นมาให้คุณได้ ถึงแม้คุณจะเป็นเจ้าของบ้านนั้นในรูปแบบโทเคนก็ตาม ซึ่งคุณก็ต้องใช้ระบบกฎหมายปกติเข้าช่วยอยู่ดีเพื่อจัดการในกรณีนี้
สรุปสั้น ๆ มันยังคงมีขีดจำกัดของเทคโนโลยีอยู่ว่า DeFi สามารถไปได้ถึงขนาดไหน แต่เมื่อเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ กฎหมายก็จะปรับตัวเข้าหาอุตสาหกรรมการเงินที่เปลี่ยนไป และ DeFi ก็จะมีความชัดเจนมากขึ้น แต่สิ่งหนึ่งที่แน่นอนคือ DeFi จะไม่หายไปไหน และจะค่อย ๆ ปฏิวัติวงการการเงินอย่างช้า ๆ แน่นอน
DeFi เติบโตต่อเนื่อง มูลค่ารวมแตะ 1 พันล้านดอลลาร์
หลังจากที่อ่านมาทั้งหมดนี้ บางคนอาจจะไม่เชื่อว่ามีคนใช้งาน DeFi จริง ๆ แต่เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์นี้ มูลค่าของคริปโตใน DeFi นั้นก็มีกันรวมกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ หรือ 31.33 พันล้านบาทแล้ว
มันไม่ใช่แค่แนวคิดเพ้อฝันอีกต่อไป แต่ได้กลายเป็นสิ่งที่มีผู้คนใช้งานมันจริง ๆ และก็สามารถแก้ปัญหาของผู้คนได้จริง ๆ แล้ว ซึ่งนี่ยังเป็นแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะในอีกหลายปีต่อ ๆ ไปนี้มันจะพัฒนาต่อยอดกันไปเรื่อย ๆ เหมือนดั่งตัวต่อเลโก้ในวงการการเงิน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า DeFi นั้นเป็นส่วนที่ทำให้ Ethereum เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากขึ้นในตอนนี้จนส่งผลให้ราคาของมันทะยานอย่างว่องไว ไม่แน่ว่าการที่ DeFi ได้รับความนิยมขนาดนี้อาจจะเหมือนตอนที่ ICO กำลังดัง และช่วยจุดกระแสให้ทั้ง Bitcoin และตลาดคริปโตทะยานต่ออีกครั้งก็เป็นได้
กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น