<?php wp_title('|', true, 'right'); ?>

Ripple ก่อตั้งสาขาออฟฟิซในสิงคโปร์ หวังขยายตลาดในเอเชียเพิ่ม

ติดตามสยามบล็อกเชนบนSiam Blockchain

ในแผนการรุกตลาดเอเชียอย่างต่อเนื่องของ Ripple นั้น พวกเขาได้ออกมาประกาศเปิดตัวออฟฟิซใหม่ในประเทศสิงคโปร์

สิงคโปร์เป็นหนึ่งในประเทศศูนย์การเงิน (financial hub) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งความพยายามดังกล่าวของ Ripple ในการเจาะตลาดเอเชียนั้นเกิดขึ้นไม่นานนักหลังจากที่พวกเขาออกมาประกาศเปิดสาขาออฟฟิซในประเทศอินเดียเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา

ด้วยการที่เป็นบริษัทสตาร์ทอัพด้านฟินเทคที่ได้รับเงินลงทุนสนับสนุนจาก venture captial นั้น Ripple เป็นบริษัทด้านโซลูชันการจ่ายเงินผ่าน Blockchain ที่เจาะกลุ่มเป้าหมายธนาคารและสถาบันการเงินทั่วโลก โดยฟีเจอร์เรื่องความเร็วในการโอนเงินข้ามประเทศที่ใช้เวลาระดับวินาที และมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำ ซึ่งการเลือกสิงคโปร์เป็นฐานนั้น ถือเป็นหนึ่งในแผนการที่จะใช้ประเทศดังกล่าวเป็นประตูสู่ตลาดประเทศอื่นๆในทวีปเอเชีย มีเม็ดเงินไหลเข้าออกสิงคโปร์ปีละประมาณ 550 พันล้านดอลลาร์ อีกทั้งยังมีอัตราการเติบโตในทุกๆปีด้วย

นาย Dilip Rao หรือ MD ของ Ripple Asia Pacific กล่าวว่า

“สิงคโปร์นั้นถือเป็นผู้นำในเรื่องของการมีเม็ดเงินไหลเข้าออกในประเทศ, ระบบการจ่ายเงินและโอนเงิน ซึ่งออฟฟิซของเราจะช่วยสนับสนุนในด้านนี้ให้กับประเทศด้วย และจะทำให้เราได้เข้าใกล้ฐานลูกค้าแถบเอเชียแปซิฟิก ทำให้ธนาคาร, ผู้ให้บริการด้านการจ่ายเงิน และบริษัทใหญ่ๆสามารถทำการจ่ายเงินได้อย่างรวดเร็วในระหว่างประเทศผ่านเทคโนโลยี Blockchain”

Ripple นั้นได้พัฒนาระบบ Ripple Consensus Ledger (RCL) หรือ Blockchain สาธารณะพร้อมติดตั้งสำหรับบริษัทใหญ่ๆ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อธนาคารและสถาบันการเงินขนาดใหญ่ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการโอนเงินระหว่างประเทศ โดยเริ่มมีมาตั้งแต่ปี 2012 ซึ่งเหรียญ XRP ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยทีมของ Ripple นั้นจะถูกใช้รองรับ Blockchain ของ RCL โดยในปัจจุบันมีมูลค่าตลาดรวมราวๆ 7 พันล้านดอลลาร์

[rsnippet id=”1″ name=”AdSense In-article ad 1″]

ประเทศสิงคโปร์นั้นอาจกล่าวได้ว่าเป็นหนึ่งในประเทศผู้นำทางด้าน hub ของบริษัทสายฟินเทค เนื่องจากมีสภาพกฎหมายที่เอื้ออำนวยให้เกิด “สังคมเป็นมิตรต่อเทคโนโลยี” ในประเทศ ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทางธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ได้ออกเหรียญดิจิตอลสำหรับเงินดอลลาร์สิงคโปร์บน Blockchain แบบ private ของ Ethereum อีกทั้งยังเคยเข้าร่วมเซ็นสัญญากับธนาคารแห่งประเทศไทยเพื่อร่วมมือกันทางด้านฟินเทคบนข้อตกลง Fintech Cooperation Agreement (CA) เพื่อทำการพัฒนาระบบ ecosystem ทางด้านการเงินของภูมิภาคเอเซียนในปัจจุบันอีกด้วย

กดคลิกเพื่อแสดงความเห็น